Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กันยายน 2557 กสทช.ประวิทย์ ชี้ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมามีคดีร้องเรียนว่าเสาส่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยราว 10 เรื่องต่อปี

ประเด็นหลัก



       นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวภายหลังงานเสวนาปัญหาและทางออกกรณีผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือว่า หลังจากที่กสทช.ได้ว่าจ้างให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน 15 ล้านบาท เพื่อเป็นตัวกลางในการวิจัยและสำรวจผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพจากการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ มีข้อสรุปว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีการส่งสัญญาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ถึง 500 เท่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อชุมชน
   

   
       อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมามีคดีร้องเรียนว่าเสาส่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยราว 10 เรื่องต่อปี และเชื่อว่าจากปี 2558 เป็นต้นไปเรื่องร้องเรียนน่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเทียบจากปริมาณสถานีฐานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยมีสถานีฐาน 2จีจำนวน 30,000 แห่ง เสา 3จีจำนวน 20,000 แห่ง"












______________________________




ปลุกคณะทำงานประสานปัญหาตั้งเสามือถือ



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม

        'หมอลี่' ผุดไอเดียคืนชีพคณะทำงานสางปัญหาเสามือถือ หวังเคลียร์เรื่องร้องเรียนการตั้งเสาสัญญาณมือถือ ด้านผลวิจัยจากพระจอมเกล้าลาดกระบัง ชี้คลื่นที่ปล่อยยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน
     
       นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวภายหลังงานเสวนาปัญหาและทางออกกรณีผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือว่า หลังจากที่กสทช.ได้ว่าจ้างให้สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจำนวน 15 ล้านบาท เพื่อเป็นตัวกลางในการวิจัยและสำรวจผลกระทบที่เกิดต่อสุขภาพจากการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ มีข้อสรุปว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีการส่งสัญญาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ถึง 500 เท่า จึงไม่เป็นอันตรายต่อชุมชน
     
       “นอกจากสถาบันดังกล่าวที่ทำวิจัยโดยงบของ กสทช.แล้ว ก่อนหน้านี้ยังมีผลงานของนักวิชาการอิสระ อย่าง นายสุเมธ วงศ์พานิชเลิศ มีความเห็นในมุมที่ต่างกันว่าแม้จะปล่อยคลื่นที่ไม่เกินมาตรฐานแต่ก็มีอันตรายอยู่ดี เราจึงเชิญเขามาร่วมงานเสวนาด้วยเพื่อมาร่วมกันแชร์ข้อมูลให้โอเปอเรเตอร์ และประชาชนได้รับทราบพร้อมกัน”
     
       เมื่อเห็นปัญหาร่วมกันหลังจากนี้ กสทช. ต้องรื้อโครงสร้างคณะทำงานกลับมาใหม่ ซึ่งคณะทำงานนี้เคยมีมาแล้วตั้งแต่ปี 2549 สมัยที่เป็นคณะกรรมกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาเป็นกสทช.แล้วยังไม่มีปรับปรุงการทำงานแต่อย่างใด โดยคณะทำงานนี้จะมีตัวแทนจากกสทช. ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอร์เรเตอร์) และผู้บริโภค เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และให้เกณฑ์การตั้งเสาส่งสัญญาณเป็นไปรูปแบบเดียวกัน อันจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวที่โอเปอร์เรเตอร์ต้องมีการตั้งเสาสัญญาณมือถือในอนาคต ทั้ง 3จี และ 4จี
     
       อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมามีคดีร้องเรียนว่าเสาส่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยราว 10 เรื่องต่อปี และเชื่อว่าจากปี 2558 เป็นต้นไปเรื่องร้องเรียนน่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเทียบจากปริมาณสถานีฐานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในขณะนี้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยมีสถานีฐาน 2จีจำนวน 30,000 แห่ง เสา 3จีจำนวน 20,000 แห่ง"
     
       ด้านตัวแทนจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ยืนยันว่า บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องการติดตั้งโครงข่ายการให้บริการ 3 จี คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ โดยมีการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานความปลอดภัย กสทช. กำหนด จึงไม่มีปัญหาเรื่องสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
     
       ดังนั้น ขอให้ผู้ที่อาศัยในชุมชน หรือ พื้นที่รอบเสาสัญญาณของเอไอเอสไม่ต้องกังวล เพราะผู้เชี่ยวชาญจากกสทช. ยืนยันว่าคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กสทช.กำหนดถึง 1,000 เท่า จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียงแน่นอน ซึ่งเอไอเอสได้สร้างความรู้ความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่โดยรอบสถานีฐานมากกว่า 8,000 ชุมชนทั่งประเทศแล้ว
     

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000108133

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.