Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กันยายน 2557 กสทช.(ในคลื่น 310 -510 เตรียมประชาพิจารณ์ในวันที่ 7-8 ต.ค.57นี้) เตรียมประมูลคลื่น 2300 ในปี 2560 , คลื่น 2600 ในปี 2559 , คลื่น 800 ในปี 2561 และ 2568 , คลื่น 700 และ 450 ยังไม่มีนโยบาย

ประเด็นหลัก


คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์มีจำนวน 100 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าหลังจากเข้าสู่ขั้นตอนการรี-ฟาร์มมิ่งจะเปิดประมูลได้ในปี 2560 คลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ มีจำนวน 190 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ปี 2559 คลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์มีจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะจัดสรรในปี 2561 และ 2568 ตามอายุสัมปทานที่สิ้นสุดลงไม่พร้อมกัน คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ปัจจุบันมีอยู่ 45 เมกะเฮิรตซ์ ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากกสทช. และคลื่น 450 เมกะเฮิรตซ์ มีจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์


______________________________




กสทช. เตรียมประชาพิจารณ์คลื่นย่าน 310-510 เมกะเฮิร์ตซ 7-8 ต.ค.นี้




กสทช. เตรียมประชาพิจารณ์คลื่นย่าน 310-510 เมกะเฮิร์ตซ 7-8 ต.ค.นี้ หวังเคลียร์ปัญหาคลื่น 700

แหล่งข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สำนักงานฯ และคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.จะจัดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ หรือ ประชาพิจารณ์ เกี่ยวกับร่างการปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ หรือ รี-ฟาร์มมิ่ง ในย่าน 310 -510 เมกะเฮิร์ตซ ในวันที่ 7-8 ต.ค.57นี้ โดยปัจจุบันย่านดังกล่าวยังไม่ได้มีการใช้งานแต่อย่างใด ซึ่งความคิดเห็นของบอร์ดกสทช. ต้องการจะนำคลื่นความถี่ออกมาจัดสรรและใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ

โดยภาพรวมจึงหมายความว่าจะเป็นการร่นคลื่นจากย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ยังเป็นปัญหาระหว่างด้านกิจการโทรคมนาคมและกิจการวิทยุกระจายเสียง ว่าคลื่นย่าน 700 เมกะเฮิร์ตซ จะใช้สำหรับกิจการใดกันแน่

ทั้งนี้ ย่านความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ ขณะนี้มี 4 ประเทศในอาเซียน คือ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และ อินโดนีเซีย ได้ตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้น เพื่อร่วมกันกดดันให้กสทช.ของไทยปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่ย่าน 700 ไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม จากเดิมที่แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์กำหนดให้คลื่นนี้ ใช้ในกิจการโทรทัศน์ และปัจจุบันให้บริการสำหรับดิจิตอลทีวี ซึ่งการประสานงานเรื่องคลื่นความถี่ระหว่างประเทศถือเป็นเรื่องจำเป็น สำหรับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ถือเป็น 2 ประเทศหลัก ที่ประเทศอื่นๆ ต้องอิงการใช้คลื่นความถี่ตาม และปัจจุบันมาเลเซียได้เปลี่ยนการใช้งานคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซ จากกิจการโทรทัศน์ไปเป็นโทรคมนาคมและพัฒนาเป็นโมบายล์ บรอดแบนด์ และขอความร่วมมือจากอีก 3 ประเทศ ให้ใช้ย่านเดียวกัน ส่งผลให้ประเทศไทยกำลังเกิดปัญหา

รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท) กล่าวว่า กสท. ไม่ปฏิเสธการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ตรงกับประเทศอื่น แต่ยืนยันว่าหากต้องการนำคลื่น 700 เมกะเฮิร์ตซไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม จะต้องจัดสรรคลื่นความถี่ของกิจการโทรทัศน์ให้เริ่มต้นตั้งแต่ 470 เมกะเฮิรตซ์ เหมือนประเทศอื่นๆ ด้วย เพราะคลื่นที่ถูกจัดสรรให้ใช้ในกิจการโทรทัศน์ของไทยขณะนี้อยู่ในย่าน 510-790 เมกะเฮิร์ตซ ตามที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียูกำหนดให้คลื่นความถี่ย่าน 700 เมกะเฮิร์ตซ สำหรับกิจการโทรคมนาคมด้านโมบายบรอดแบนด์ ส่งผลให้อาจเกิดปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนกันระหว่างคลื่นโทรคมนาคม และคลื่นกระจายเสียงและโทรทัศน์ เนื่องจากแผนแม่บทของ กสทช. ประกาศให้คลื่นความถี่ย่าน 510-790 ดังกล่าว ใช้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์

สำหรับคลื่นความถี่ 470-510 เมกะเฮิร์ตซ พบว่าปัจจุบันยังมีบางหน่วยงานใช้งานอยู่นั้น ทาง กสทช.ได้มีมติให้เรียกคืนคลื่นความถี่เพื่อนำมาจัดสรรใหม่ เพื่อใช้ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยให้สำนักงาน กสทช. เตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดกรอบระยะเวลาการเรียกคืนคลื่นไปจนถึงการจัดสรรใหม่แล้ว ทั้งนี้ผู้ที่ครอบครองคลื่นความถี่ย่าน 470-510 เมกะเฮิรตซ์ ในปัจจุบัน ได้แก่ บมจ.ทีโอที และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในกิจการโทรคมนาคมมีการจัดสรรคลื่นความถี่ไปแล้ว 355 เมกะเฮิรตซ์ และในอนาคตจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ 295 เมกะเฮิรตซ์ รวมเป็นคลื่นความถี่กิจการโทรคมนาคมในไทยมีทั้งสิ้น 650 เมกะเฮิรตซ์ อาทิ คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์จากที่มีการจัดให้มีารประมูลไปเมื่อต.ค.2555 มีการจัดสรรคลื่นความถี่ไป 45 เมกะเฮิรตซ์ คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีการจัดสรรไป 75 เมกะเฮิรตศซ์ คาดว่าจะจัดสรรปี 2561 คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์จัดสรรไป 17.5 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจัดสรรในปี 2559

คลื่นความถี่ 2.3 กิกะเฮิรตซ์มีจำนวน 100 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าหลังจากเข้าสู่ขั้นตอนการรี-ฟาร์มมิ่งจะเปิดประมูลได้ในปี 2560 คลื่นความถี่ 2.6 กิกะเฮิรตซ์ มีจำนวน 190 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ปี 2559 คลื่นความถี่ 800 เมกะเฮิรตซ์มีจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะจัดสรรในปี 2561 และ 2568 ตามอายุสัมปทานที่สิ้นสุดลงไม่พร้อมกัน คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ปัจจุบันมีอยู่ 45 เมกะเฮิรตซ์ ยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนจากกสทช. และคลื่น 450 เมกะเฮิรตซ์ มีจำนวน 20 เมกะเฮิรตซ์


http://www.adslthailand.com/post/กสทช-เตรียมประชาพิจารณ์คลื่นย่าน-310-510-เมกะเฮิร์ตซ-7-8-ต-ค-นี้

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.