24 กันยายน 2557 iCT.พรชัย ระบุ เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 มี 2 ด้าน คือ ด้านการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งภัยคุกคามดังกล่าวปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้องอยู่กว่า 2 หมื่นคดี
ประเด็นหลัก
ทั้งนี้ ตามนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงไอซีที มี 2 ด้าน คือ ด้านการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกระทรวงฯ จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมาย ทางสังคมและจิตวิทยา และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเสริมสร้างการตระหนักรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สำหรับด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) ถูกกำหนดเป็น 1 ใน 8 ของปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามด้านความมั่นคงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายล้างและสร้างความแตกแยก ซึ่งมีรูปแบบการกระทำต่างๆ การโจรกรรมทางไซเบอร์ การทำลายเว็บไซต์ การโฆษณาชวนเชื่อ การรบกวนเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร การโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบการเงิน การธนาคาร ระบบการสื่อสาร ด้านการแพทย์ การฝังหรือซ่อนโปรแกรมการประสงค์ร้าย และการล้วงความลับ ที่ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้องอยู่กว่า 2 หมื่นคดี
______________________________
?รมว.ไอซีที เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 พร้อมใช้ต้นปีหน้า?
?รมว.ไอซีที เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 พร้อมใช้ต้นปีหน้า??รมว.ไอซีที เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 พร้อมใช้ต้นปีหน้า?
รมว.ไอซีที มอบนโยบายการป้องกัน-ปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โอด พ.ร.บ.คอมฯ 2550 ยังไม่ครอบคลุม พบปัจจุบันยังมียอดฟ้องร้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์กว่า 2 หมื่นคดี เร่งแก้กฏหมายมั่นใจพร้อมใช้งานต้นปีหน้า
วันนี้ (24 ก.ย.) ที่ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในงานสัมมนา “นโยบายและแนวทางการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ว่า กระทรวงไอซีทีตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ที่สามารถส่งผลกระทบทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบและเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
ทั้งนี้ ตามนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงไอซีที มี 2 ด้าน คือ ด้านการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกระทรวงฯ จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมาย ทางสังคมและจิตวิทยา และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเสริมสร้างการตระหนักรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สำหรับด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) ถูกกำหนดเป็น 1 ใน 8 ของปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามด้านความมั่นคงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายล้างและสร้างความแตกแยก ซึ่งมีรูปแบบการกระทำต่างๆ การโจรกรรมทางไซเบอร์ การทำลายเว็บไซต์ การโฆษณาชวนเชื่อ การรบกวนเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร การโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบการเงิน การธนาคาร ระบบการสื่อสาร ด้านการแพทย์ การฝังหรือซ่อนโปรแกรมการประสงค์ร้าย และการล้วงความลับ ที่ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้องอยู่กว่า 2 หมื่นคดี
อย่างไรก็ตาม จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พบว่า ปัจจุบันกฏหมายยังไม่ครอบคลุมถึงรูปแบบการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ปัจจุบันไม่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมากให้กับผู้อื่นได้ (Spam mail) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีความผิดต่อเมื่อมีการปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่กฎหมายไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงพัฒนากฎหมาย โดยคาดว่าจะสามารถแก้ไขแล้วเสร็จต้นปีหน้า
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/269059/รมว.ไอซีที+เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ+2550+พร้อมใช้ต้นปีหน้า
ทั้งนี้ ตามนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงไอซีที มี 2 ด้าน คือ ด้านการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกระทรวงฯ จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมาย ทางสังคมและจิตวิทยา และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเสริมสร้างการตระหนักรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สำหรับด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) ถูกกำหนดเป็น 1 ใน 8 ของปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามด้านความมั่นคงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายล้างและสร้างความแตกแยก ซึ่งมีรูปแบบการกระทำต่างๆ การโจรกรรมทางไซเบอร์ การทำลายเว็บไซต์ การโฆษณาชวนเชื่อ การรบกวนเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร การโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบการเงิน การธนาคาร ระบบการสื่อสาร ด้านการแพทย์ การฝังหรือซ่อนโปรแกรมการประสงค์ร้าย และการล้วงความลับ ที่ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้องอยู่กว่า 2 หมื่นคดี
______________________________
?รมว.ไอซีที เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 พร้อมใช้ต้นปีหน้า?
?รมว.ไอซีที เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 พร้อมใช้ต้นปีหน้า??รมว.ไอซีที เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ 2550 พร้อมใช้ต้นปีหน้า?
รมว.ไอซีที มอบนโยบายการป้องกัน-ปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โอด พ.ร.บ.คอมฯ 2550 ยังไม่ครอบคลุม พบปัจจุบันยังมียอดฟ้องร้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์กว่า 2 หมื่นคดี เร่งแก้กฏหมายมั่นใจพร้อมใช้งานต้นปีหน้า
วันนี้ (24 ก.ย.) ที่ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ แจ้งวัฒนะ นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยในงานสัมมนา “นโยบายและแนวทางการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ว่า กระทรวงไอซีทีตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อินเทอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์ ปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ที่สามารถส่งผลกระทบทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยบนไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบและเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
ทั้งนี้ ตามนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงไอซีที มี 2 ด้าน คือ ด้านการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกระทรวงฯ จะดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมาย ทางสังคมและจิตวิทยา และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงการเสริมสร้างการตระหนักรู้ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สำหรับด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber Crime) ถูกกำหนดเป็น 1 ใน 8 ของปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม ภัยคุกคามด้านความมั่นคงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายล้างและสร้างความแตกแยก ซึ่งมีรูปแบบการกระทำต่างๆ การโจรกรรมทางไซเบอร์ การทำลายเว็บไซต์ การโฆษณาชวนเชื่อ การรบกวนเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสาร การโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบการเงิน การธนาคาร ระบบการสื่อสาร ด้านการแพทย์ การฝังหรือซ่อนโปรแกรมการประสงค์ร้าย และการล้วงความลับ ที่ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้องอยู่กว่า 2 หมื่นคดี
อย่างไรก็ตาม จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 พบว่า ปัจจุบันกฏหมายยังไม่ครอบคลุมถึงรูปแบบการกระทำความผิดที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ปัจจุบันไม่สามารถเอาผิดกับผู้ที่ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมากให้กับผู้อื่นได้ (Spam mail) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีความผิดต่อเมื่อมีการปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่กฎหมายไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ จึงจำเป็นต้องเร่งปรับปรุงพัฒนากฎหมาย โดยคาดว่าจะสามารถแก้ไขแล้วเสร็จต้นปีหน้า
http://www.dailynews.co.th/Content/IT/269059/รมว.ไอซีที+เร่งแก้พ.ร.บ.คอมฯ+2550+พร้อมใช้ต้นปีหน้า
ไม่มีความคิดเห็น: