Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กันยายน 2557 พิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ ระบุ กรณีช่อง 3 ที่ผ่านมา กสท.อ่อนข้อให้ช่อง 3 เยอะแล้ว กรณีการประกาศลดค่าธรรมเนียม แม้จะมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทุกราย แต่ก็ชัดเจนว่าต้องการให้อินเซนทีฟ กับช่อง 3 เป็นหลัก

ประเด็นหลัก


นางพิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า กรณีช่อง 3 ถือเป็นบทเรียนที่ กสท.ควรจะประเมินถึงผลกระทบของมาตรการการกำกับดูแลที่ออกมาในรูปประกาศก่อนที่จะบังคับใช้ ซึ่งผลของช่อง 3 จะส่งผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ถือเป็นความผิดพลาดของการใช้มาตรการกำกับดูแล ซึ่งในต่างประเทศจะมีการประเมินผลกระทบต่อมาตรการก่อนจะบังคับใช้

อย่างกรณีกฎที่เกี่ยวข้องกับการครองสิทธิข้ามสื่อ เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญมากในการกำหนดบทบาทของสื่อไม่ให้มีการผูกขาด ซึ่งเรื่องนี้ควรทำก่อนที่จะประมูลทีวีดิจิทัลด้วยซ้ำ แต่ กสท.ยังไม่ได้ทำซึ่งในอนาคตหากเกิดปัญหา กสท.มีแนวโน้มที่จะออกกฎแก้ปัญหาโดยใช้ประกาศ ซึ่งจะสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลในอนาคต

"ที่ผ่านมา กสท.อ่อนข้อให้ช่อง 3 เยอะแล้ว กรณีการประกาศลดค่าธรรมเนียม แม้จะมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทุกราย แต่ก็ชัดเจนว่าต้องการให้อินเซนทีฟ กับช่อง 3 เป็นหลัก" นางพิรงรอง กล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลปกครอง มีคำสั่งทุเลามติของ กสท. ในกรณีห้าม ไม่ให้เคเบิลและทีวีดาวเทียมนำช่อง 3 ระบบอะนาล็อกไปออกอากาศ โดยให้ ยืดระยะเวลาไปจนถึงวันที่ 11 ต.ค.นั้น บอร์ด กสท.จึงเลื่อนการประชุมไปเป็น วันที่ 29 ก.ย. เพื่อพิจารณาเรื่องออกอากาศคู่ขนานอีกครั้ง



______________________________




สอนมวยกสท.มุ่งใช้กฎหมายแก้ปัญหาช่อง3


นักวิชาการแนะกสท.เดินหน้าบังคับใช้กฎหมาย แก้ปัญหาจอดำ

สอนมวยกสท.มุ่งใช้กฎหมายแก้ปัญหาช่อง3

นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า กรณีช่อง 3 ที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็น ถึงปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.)

"ส่วนตัวมีข้อสังเกตต่อกรณีดังกล่าว ว่าเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งช่อง 3 และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ น่าจะรู้ปัญหามาก่อน หน้านี้หรือไม่ แต่ทำไมยังเกิดปัญหาอีก" นางเดือนเด่น กล่าว

ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานของช่อง 3 โดยตรง ที่ผู้บริหารหรือฝ่ายกฎหมายน่าจะมีรายละเอียดต่างๆ ที่อาจรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วถึงสิทธิในการออกอากาศ ซึ่งไม่ควรนำเรื่องดังกล่าวมา ตีความทางกฎหมายใหม่ ซึ่งในประเทศ ที่พัฒนาแล้วจะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์ ในลักษณะนี้ เพราะส่งผลกระทบในภาพรวม และหากให้มีเหตุการณ์ช่อง 3 จอดำเกิดขึ้น เหมือนเป็นการจับประชาชนเป็นตัวประกันมากกว่า

นางพิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า กรณีช่อง 3 ถือเป็นบทเรียนที่ กสท.ควรจะประเมินถึงผลกระทบของมาตรการการกำกับดูแลที่ออกมาในรูปประกาศก่อนที่จะบังคับใช้ ซึ่งผลของช่อง 3 จะส่งผลกระทบต่อ ผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ ถือเป็นความผิดพลาดของการใช้มาตรการกำกับดูแล ซึ่งในต่างประเทศจะมีการประเมินผลกระทบต่อมาตรการก่อนจะบังคับใช้

อย่างกรณีกฎที่เกี่ยวข้องกับการครองสิทธิข้ามสื่อ เรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญมากในการกำหนดบทบาทของสื่อไม่ให้มีการผูกขาด ซึ่งเรื่องนี้ควรทำก่อนที่จะประมูลทีวีดิจิทัลด้วยซ้ำ แต่ กสท.ยังไม่ได้ทำซึ่งในอนาคตหากเกิดปัญหา กสท.มีแนวโน้มที่จะออกกฎแก้ปัญหาโดยใช้ประกาศ ซึ่งจะสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลในอนาคต

"ที่ผ่านมา กสท.อ่อนข้อให้ช่อง 3 เยอะแล้ว กรณีการประกาศลดค่าธรรมเนียม แม้จะมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทุกราย แต่ก็ชัดเจนว่าต้องการให้อินเซนทีฟ กับช่อง 3 เป็นหลัก" นางพิรงรอง กล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังจากศาลปกครอง มีคำสั่งทุเลามติของ กสท. ในกรณีห้าม ไม่ให้เคเบิลและทีวีดาวเทียมนำช่อง 3 ระบบอะนาล็อกไปออกอากาศ โดยให้ ยืดระยะเวลาไปจนถึงวันที่ 11 ต.ค.นั้น บอร์ด กสท.จึงเลื่อนการประชุมไปเป็น วันที่ 29 ก.ย. เพื่อพิจารณาเรื่องออกอากาศคู่ขนานอีกครั้ง

http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/320963/สอนมวยกสท-มุ่งใช้กฎหมายแก้ปัญหาช่อง3

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.