Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 ตุลาคม 2557 เลขาธิการ กสทช.ฐากร ระบุ วิกฤต กสทช. คือ 1.การแบ่งแยกอำนาจกับรัฐบาล 2.พรบ.กสทช.กับการใช้ กม.ลูก กทค.และกสท. หละหลวมมากๆ

ประเด็นหลัก


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังงานปาฐกถาพิเศษเปิดใจเลขาธิการ กสทช. "แนวทางฝ่าวิกฤตองค์กร" ว่า วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรมีหลายปัจจัย และจะแบ่งวิกฤตเป็น 3 ระดับ

"1.วิกฤตด้านกฎหมาย ที่ยอมรับว่าหละหลวมมากๆ สำหรับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ.กสทช.) ปี 2553 2.วิกฤตการทำงานในกสทช. ซึ่งเป็นวิกฤตใหญ่ที่จะนำไปสู่การปฏิรูป และ 3.วิกฤตการแบ่งแยกอำนาจการทำงานระหว่างรัฐบาล และกสทช. ที่คาบเกี่ยวระหว่างกัน"

แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุให้ กสทช.เป็นองค์กรเดียวกันที่ดูแลทั้ง 2 กิจการ คือ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จะถูกยกเลิกไปแล้ว ขณะที่พ.ร.บ.กสทช.ยังอยู่ แต่ในทางปฏิบัติจริงได้นำกฎหมายลูกมาใช้ ทำให้การทำงานแบ่งเป็น 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานกสทช.ที่ขึ้นกับประธานกสทช., คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ส่งผลให้ตอนนี้นำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีปัญหา เช่น กรณีปัญหาช่อง 3



______________________________




โวย "กฎหมายคุมสื่อสาร" พันกันนัว-ติดขัดไปหมด เลขา กสทช.จี้รัฐแก้อำนาจซ้ำซ้อน



"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช. ซัดเปรี้ยงกฎหมายซ้ำซ้อนทำให้ กสทช.เกิดความวุ่นวาย ชี้สารพัดกฎหมายลูกขัดแย้งกับอำนาจ กสทช.จนทำอะไรไม่สะดวก วอนผู้เกี่ยวข้องเร่งแก้

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวภายหลังงานปาฐกถาพิเศษเปิดใจเลขาธิการ กสทช. "แนวทางฝ่าวิกฤตองค์กร" ว่า วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรมีหลายปัจจัย และจะแบ่งวิกฤตเป็น 3 ระดับ

"1.วิกฤตด้านกฎหมาย ที่ยอมรับว่าหละหลวมมากๆ สำหรับพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (พ.ร.บ.กสทช.) ปี 2553 2.วิกฤตการทำงานในกสทช. ซึ่งเป็นวิกฤตใหญ่ที่จะนำไปสู่การปฏิรูป และ 3.วิกฤตการแบ่งแยกอำนาจการทำงานระหว่างรัฐบาล และกสทช. ที่คาบเกี่ยวระหว่างกัน"

แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ระบุให้ กสทช.เป็นองค์กรเดียวกันที่ดูแลทั้ง 2 กิจการ คือ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม จะถูกยกเลิกไปแล้ว ขณะที่พ.ร.บ.กสทช.ยังอยู่ แต่ในทางปฏิบัติจริงได้นำกฎหมายลูกมาใช้ ทำให้การทำงานแบ่งเป็น 3 องค์กร ได้แก่ สำนักงานกสทช.ที่ขึ้นกับประธานกสทช., คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ส่งผลให้ตอนนี้นำไปสู่การปฏิบัติงานที่มีปัญหา เช่น กรณีปัญหาช่อง 3

"ทำให้เกิดคำถามว่า กสทช.มีอำนาจในการทำงานหรือไม่ เพราะกฎหมายลูกได้ให้อำนาจบอร์ดเล็ก (กสท.) อยู่ จึงขอเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และรัฐบาล ได้มีการแก้กฎหมายระบุอำนาจให้ชัดเจนว่าอำนาจเป็นของบอร์ดเดียว หรือจะแบ่งเป็น 3 บอร์ดเหมือนเดิม เพราะตอนนี้อำนาจเสมือนมีหลายนิติบุคคล"

ส่วนปัญหาการแบ่งแยกอำนาจของรัฐบาลกับกสทช. เช่น อำนาจของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กับกสทช.ที่ยังไม่มีความชัดเจน จึงขอเรียกร้องผ่านสนช. และรัฐบาลให้แก้กฎหมายแบ่งแยกอำนาจให้ชัดเจน ถ้าอำนาจใดเป็นของกระทรวงไอซีทีก็โอนอำนาจไปให้ทั้งหมด และหากอำนาจหน้าที่ใดเป็น ของ กสทช.ก็โอนมาให้ กสทช.

กสทช.ตั้งใจทำงานที่จะกำกับดูแลอย่างชัดเจน นอกจากนี้ อยากให้แก้กฎหมายในส่วนของงบประมาณ กสทช.ไปสิ้นสุดที่รัฐสภา เพื่อให้งบมีความโปร่งใส ลดปัญหาคำครหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน



ที่มา : นสพ.ข่าวสด
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412655963

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.