Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2557 กทค.แก้ประกาศกัน "ซิมดับ" ( หลัง CAT ส่งหนังสื่อทวงหนี้ค่าเช่าโครงข่าย AIS GSM 1800 และ TRUEMOVE 14,141 ล้านบาท แก่ กทค. เพราะเป็นผู้ออกกฏ 2 ค่ายบอกว่าขาดทุน )

ประเด็นหลัก



นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าในการเยียวยาลูกค้าในสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ(ดีพีซี) หลังสิ้นสุดสัมปทานตั้งแต่ 15 ก.ย. 2556 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างขยายเวลามาตรการเยียวยาเพิ่มอีก 1 ปี ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 94/2557 วันที่ 17 ก.ค. 2557 เรื่องการระงับการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพิ่มจากระยะเวลาเยียวยาตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำหนดไว้ 1 ปี หลังสิ้นสุดสัมปทาน โดยข้อมูลเดือนมิ.ย. 2557 มีลูกค้าทรูมูฟคงเหลือในระบบ ประมาณ 5.1 ล้านเลขหมาย ในจำนวนนี้ 3.2 ล้านเลขหมาย มีการใช้งานประจำ ส่วนดีพีซีมีคงเหลือราว 4,600 เลขหมาย

แม้ตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวฯจะกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทาน ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ปรากฏว่า ผ่านไป 1 ปีแล้ว ทั้งทรูมูฟ และดีพีซียังไม่ได้นำส่งเงินรายได้ ซึ่งมีมูลค่าราว 6,800 ล้านบาท รวมถึงยังไม่ได้จ่ายเงินค่าเช่าโครงข่ายให้ บมจ. กสท.โทรคมนาคม เจ้าของโครงข่ายที่นำมาให้บริการหลังสิ้นสุดสัมปทานด้วย

และเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ส่งหนังสือถึง กสทช.เรียกให้ชำระค่าเช่าโครงข่ายตลอดเวลา 1 ปี ที่ทั้ง 2 บริษัทค้างชำระไว้ รวมเป็นเงิน 14,141 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าของทรูมูฟ 11,796 ล้านบาท ดีพีซี 2,344 ล้านบาท รวมทั้งค่าเสียหายและหรือดอกเบี้ยอันพึงมีจากการชำระเงินล่าช้า

______________________________




ชง "กทค." แก้ประกาศกัน "ซิมดับ" ดัดหลังเอกชนอ้างขาดทุน


ชง "กทค." แก้ประกาศ "ซิมดับ" กำหนดตัวเลขรายได้ที่ต้องนำส่งเข้ารัฐใหม่ รอเคาะ 30% หรือ 50% ดัดหลังเอกชน หลัง "ทรูมูฟ-ดีพีซี" หมดสัมปทานครบปีแต่ไม่มีเงินนำส่งอ้างขาดทุน ขณะที่มีลูกค้าเหลือในระบบกว่า 5 ล้านราย ฟาก "กสทฯ" ทวงค่าเช่าโครงข่ายกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวถึงความคืบหน้าในการเยียวยาลูกค้าในสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด หรือ(ดีพีซี) หลังสิ้นสุดสัมปทานตั้งแต่ 15 ก.ย. 2556 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างขยายเวลามาตรการเยียวยาเพิ่มอีก 1 ปี ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ฉบับที่ 94/2557 วันที่ 17 ก.ค. 2557 เรื่องการระงับการดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพิ่มจากระยะเวลาเยียวยาตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำหนดไว้ 1 ปี หลังสิ้นสุดสัมปทาน โดยข้อมูลเดือนมิ.ย. 2557 มีลูกค้าทรูมูฟคงเหลือในระบบ ประมาณ 5.1 ล้านเลขหมาย ในจำนวนนี้ 3.2 ล้านเลขหมาย มีการใช้งานประจำ ส่วนดีพีซีมีคงเหลือราว 4,600 เลขหมาย

แม้ตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวฯจะกำหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยาหลังสิ้นสุดสัมปทาน ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ปรากฏว่า ผ่านไป 1 ปีแล้ว ทั้งทรูมูฟ และดีพีซียังไม่ได้นำส่งเงินรายได้ ซึ่งมีมูลค่าราว 6,800 ล้านบาท รวมถึงยังไม่ได้จ่ายเงินค่าเช่าโครงข่ายให้ บมจ. กสท.โทรคมนาคม เจ้าของโครงข่ายที่นำมาให้บริการหลังสิ้นสุดสัมปทานด้วย

และเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ส่งหนังสือถึง กสทช.เรียกให้ชำระค่าเช่าโครงข่ายตลอดเวลา 1 ปี ที่ทั้ง 2 บริษัทค้างชำระไว้ รวมเป็นเงิน 14,141 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าของทรูมูฟ 11,796 ล้านบาท ดีพีซี 2,344 ล้านบาท รวมทั้งค่าเสียหายและหรือดอกเบี้ยอันพึงมีจากการชำระเงินล่าช้า

"ช่วงเยียวยา 1 ปี รายได้ทั้งหมดเป็นของรัฐ เอกชนมีหน้าที่เก็บรายได้แทน แต่เอกชนทำตัวเลขออกมาบอกว่าขาดทุน ไม่มีเงินเหลือส่งให้รัฐ แม้แต่ กสทฯเจ้าของโครงข่ายก็ไม่ได้เงินค่าเช่า จนกสทฯ ต้องทวงเงินมาที่ กสทช.เพราะเป็นผู้ออกกฎกติกา ซึ่ง กสทช.ทำหนังสือตอบกลับไปแล้วว่าต้องไปทวงกับเอกชนผู้เก็บรายได้แทนรัฐเอง ส่วนแนวคิดที่จะให้ทั้ง 2 บริษัทรับลูกค้าใหม่เพิ่มได้ เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มไม่ขาดทุนยิ่งจะกลายเป็นปัญหาลูกโซ่ หลักที่ควรทำคือเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้ผลกระทบต้องกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนเพื่อให้ลูกค้าย้ายค่ายได้ทันเวลา"

นายประวิทย์กล่าวว่า มีแนวคิดที่จะปรับปรุงประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวฯให้มีความชัดเจนโดยเฉพาะการนำส่งรายได้เข้าแผ่นดินโดยกำหนดเป็นตัวเลขที่ชัดเจน เช่น 30% หรือ 50% ของรายได้จากเดิมกำหนดเป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย ซึ่งยากที่จะตรวจสอบตัวเลขของเอกชนที่เสนอมาแล้วทำให้ผลประกอบการติดลบว่ามีความถูกต้องแค่ไหน

"กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนา คม) เห็นด้วยกับแนวทางที่จะทบทวนประกาศโดยขณะนี้คณะทำงานอยู่ในกระบวนการพิจารณาปรับปรุงระเบียบ ตัวเลขเบื้องต้นที่ต้องนำส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดิน โดยมีการนำเสนอตัวเลขว่าอาจอยู่ที่ 30% หรือ 50% ของรายได้ แต่ กทค.ยังไม่ได้เคาะ"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1412743921

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.