Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2557 Lazada ระบุ ปัจจุบันมีลูกค้าจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นต่างจังหวัด ที่ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการซื้อสูง

ประเด็นหลัก


สำหรับพฤติกรรมลูกค้าชอปปิงออนไลน์ปัจจุบัน ที่เห็นหลัก ๆ คือ คนใช้มือถือตลอดเวลา และเลือกซื้อของผ่านมือถือมากขึ้น เมื่อเห็นสินค้าถูกใจก็ซื้อเลย ราคาจึงอาจไม่ใช่เหตุผลหลักในการตัดสินใจซื้ออีกต่อไป

นอกจากนี้สินค้าที่คนเลือกซื้อผ่านมือถือ จะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูง เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องสำอาง หรือของใช้ในบ้านที่เมื่อใช้แล้วหมดไปจะกลับมาซื้อใหม่อีกครั้ง

ซึ่งสินค้าที่ขายดีในลาซาด้า อันดับหนึ่งยังเป็นเครื่องสำอาง รองมาคือ เครื่องใช้ในบ้าน และอันดับสามคือมือถือและอุปกรณ์แท็บเล็ต

ลูกค้าส่วนใหญ่เปลี่ยนไปจากเดิมที่มาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล 70% ต่างจังหวัด 30% แต่เมื่อคนหันมาใช้มือถือ ในการเข้าถึงโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้ปัจจุบันลาซาด้ามีลูกค้าจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นต่างจังหวัด ที่ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการซื้อสูง

ด้วยจุดขายที่มักจะนำเสนอสินค้าราคาถูกกว่าที่อื่น ๆ ผู้บริหารลาซาด้า บอกว่า เป็นเพราะการทำธุรกิจของลาซาด้า ที่มี 2 โมเดล คือ แบบรีเทล หรือซื้อมาขายไป ลาซาด้ามีคลังสินค้าของตนเองและจะมีทีมเช็กราคาสินค้า เพื่อทำการตลาดได้ ส่วนแบบมาร์เก็ตเพลส หรือการให้แบรนด์ต่าง ๆ มาเปิดร้านในลาซาด้า ซึ่งรูปแบบนี้ร้านค้าจะมีหน้าร้านเป็นของตนเอง ปัจจุบันมีแบรนด์ดัง และเป็นที่น่าเชื่อถือเข้ามาเปิดร้านในลาซาด้าแล้วกว่า 100 แบรนด์


______________________________




?ลาซาด้ามั่นใจโซเชียลฯ ช่องทางหลักเข้าถึงลูกค้าออนไลน์ - ตลาดออนไลน์?
อีคอมเมิร์ซ หรือตลาดออนไลน์ ไม่ใช่แค่เป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต แต่เป็นส่วนที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ ซึ่งลาซาด้าต้องการทำให้การชอปปิงออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่ง่ายสำหรับลูกค้า


เรียกได้ว่าเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ชั้นนำ ในเมืองไทยสำหรับ “ลาซาด้า” (www.lazada.co.th) ที่กลายเป็นทางเลือกใหม่ให้กับนักชอปปิงตัวยง

เพราะแค่เข้าไปก็สัมผัสได้เหมือนกับเดินเข้าสู่ห้าง แบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ ตั้งแต่ 1 -10 ขายสินค้าตั้งแต่ด้านสุขภาพและความงาม แฟชั่น กีฬา เครื่องประดับ มือถือ คอมพิวเตอร์ จนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าของใช้ในบ้านและสื่อบันเทิงต่าง ๆ

...มีสินค้ามากมาย ให้เข้าไปชมและช้อปง่าย ๆ แบบไม่ต้องเมื่อย.. แค่คลิก!

“นายริคคาร์โด บาซิล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย บอกว่า อีคอมเมิร์ซ หรือตลาดออนไลน์ ไม่ใช่แค่เป็นส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต แต่เป็นส่วนที่สำคัญและมีขนาดใหญ่ ซึ่งลาซาด้าต้องการทำให้การชอปปิงออนไลน์เป็นประสบการณ์ที่ง่ายสำหรับลูกค้า โดยต้องช้อปได้แบบทุกที่ และบริการส่งทุกที่เช่นกัน

สำหรับประเทศไทย ลาซาด้าไทยแลนด์ เปิดตัวเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยตลาดที่มีการเติบโตสูง ลาซาด้าได้ลงทุนพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้อุปกรณ์สื่อสารทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น

มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นลาซาด้า รองรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ไอโอเอส และวินโดว์สโฟน ทำให้ปัจจุบันลาซาด้า มียอดการชอปปิงออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้น โดยมีสัดส่วนประมาณ 50% จากเดิมที่ส่วนใหญ่มาจากพีซี

ล่าสุดเปิดตัวลาซาด้าไลน์แอคเคานท์ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภคยุคใหม่ โดยจะมีข่าวสาร  โปรโมชั่นและสิทธิพิเศษส่งตรงถึงสมาชิก

ผลตอบรับจากช่องทางโซเชียลมีเดียนี้ ผู้บริหารลาซาด้า บอกว่า จากเดิมที่มีสมาชิกในไลน์  2.7 ล้านคน  แต่หลังจากเปิดไลน์แอคเคานท์อย่างเป็นทางการเมื่อ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มเป็นกว่า 4.5 ล้านคน  และมียอดดาวน์โหลดแอพของลาซาด้า เพิ่มขึ้นกว่า 40%

สำหรับพฤติกรรมลูกค้าชอปปิงออนไลน์ปัจจุบัน ที่เห็นหลัก ๆ คือ คนใช้มือถือตลอดเวลา และเลือกซื้อของผ่านมือถือมากขึ้น เมื่อเห็นสินค้าถูกใจก็ซื้อเลย ราคาจึงอาจไม่ใช่เหตุผลหลักในการตัดสินใจซื้ออีกต่อไป

นอกจากนี้สินค้าที่คนเลือกซื้อผ่านมือถือ จะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูง เช่น เสื้อผ้า แฟชั่น เครื่องสำอาง หรือของใช้ในบ้านที่เมื่อใช้แล้วหมดไปจะกลับมาซื้อใหม่อีกครั้ง

ซึ่งสินค้าที่ขายดีในลาซาด้า อันดับหนึ่งยังเป็นเครื่องสำอาง รองมาคือ เครื่องใช้ในบ้าน และอันดับสามคือมือถือและอุปกรณ์แท็บเล็ต

ลูกค้าส่วนใหญ่เปลี่ยนไปจากเดิมที่มาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล 70% ต่างจังหวัด 30% แต่เมื่อคนหันมาใช้มือถือ ในการเข้าถึงโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้ปัจจุบันลาซาด้ามีลูกค้าจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 30-40% ส่วนที่เหลือเป็นต่างจังหวัด ที่ถือเป็นตลาดที่มีความต้องการซื้อสูง

ด้วยจุดขายที่มักจะนำเสนอสินค้าราคาถูกกว่าที่อื่น ๆ ผู้บริหารลาซาด้า บอกว่า เป็นเพราะการทำธุรกิจของลาซาด้า ที่มี 2 โมเดล คือ แบบรีเทล หรือซื้อมาขายไป ลาซาด้ามีคลังสินค้าของตนเองและจะมีทีมเช็กราคาสินค้า เพื่อทำการตลาดได้ ส่วนแบบมาร์เก็ตเพลส หรือการให้แบรนด์ต่าง ๆ มาเปิดร้านในลาซาด้า ซึ่งรูปแบบนี้ร้านค้าจะมีหน้าร้านเป็นของตนเอง ปัจจุบันมีแบรนด์ดัง และเป็นที่น่าเชื่อถือเข้ามาเปิดร้านในลาซาด้าแล้วกว่า 100 แบรนด์

ผู้บริหารลาซาด้า บอกอีกว่า ปัจจุบันแม้ตลาดอีคอมเมิร์ซเมืองไทยจะมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับตลาดการค้าโดยรวม แต่เชื่อว่าในอนาคตจะเติบโตมาก ๆ แบบประเทศจีนได้ เนื่องจากมีปัจจัยต่าง ๆ คล้ายกัน เช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ราคามือถือและสมาร์ทโฟนที่ถูกลง ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีการใช้โซเชียลมีเดียสูงมากในลำดับต้น ๆ ของโลก และความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคยังมีสูง

อนาคต ลาซาด้ามีแผนจะพัฒนาบริการที่ดีขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า และกลับมาใช้บริการอีกครั้ง เช่น เพิ่มช่องทางการจ่ายเงิน การคืนสินค้าที่ง่าย และการส่งสินค้าที่เร็วขึ้น

ตอกย้ำความเชื่อ...ด้วยผลการวิจัยที่พบว่าคนไทยใช้มือถือมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ออนไลน์มากกว่าวันละ 2 ชั่วโมงด้วยแล้ว การแข่งขันที่จะส่งสินค้าไปให้ผู้บริโภคชอปปิงกันถึงมือ ย่อมมากตามไปด้วย.

นาตยา คชินทร

nattayap.k@gmail.com


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/272120/ลาซาด้ามั่นใจโซเชียลฯ+ช่องทางหลักเข้าถึงลูกค้าออนไลน์+-+ตลาดออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.