Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ตุลาคม 2557 รัฐบาลไอร์แลนด์ การถูกกดดันอย่างหนักเรื่องฐานภาษี กรณีภาษีพิเศษให้ APPLE โดยทางบริษัทมีการจ้างงานในประเทศประมาณ 4,000 ตำแหน่ง คาดผลของการยกเลิกอัตราภาษีพิเศษนี้ อาจทำให้แอปเปิลต้องเสียภาษีในอัตราปกติ

ประเด็นหลัก


       สำหรับรัฐบาลไอร์แลนด์ การถูกกดดันอย่างหนักเรื่องฐานภาษียังไม่อาจหนักใจเท่าความเสี่ยงในการจ้างงานที่ลดลง เนื่องจากปัจจุบันมีประชากรไอร์แลนด์ราว 160,000 คน ที่ถูกจ้างงานในบริษัทจากต่างชาติที่มาตั้งฐานในไอร์แลนด์เพราะหวังประโยชน์ด้านภาษี หรือคิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมดเลยทีเดียว
     
       สำหรับแอปเปิลเอง บริษัทได้มาตั้งบริษัทลูกอยู่ในไอร์แลนด์ นาม Apple Operations International และได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวเนื่องจากถือว่าเป็นบริษัทสัญชาติไอริช โดยทางบริษัทมีการจ้างงานในประเทศประมาณ 4,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่แอปเปิลต้องเสียไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้เลยกับยอดภาษีในตารางดังกล่าว และอาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นอัตราภาษีที่ทุกบริษัทในโลกล้วนต้องการเพื่อให้ตนเองได้กำไรสูงสุดเลยก็ว่าได้
     
       ผลของการยกเลิกอัตราภาษีพิเศษนี้ อาจทำให้แอปเปิลต้องเสียภาษีในอัตราปกติเหมือนกับบริษัททั่วไปในไอร์แลนด์ และจะทำให้ยอดส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการต่างประเทศของแอปเปิลลดลงอย่างแน่นอน ถึงเวลานั้น นักลงทุนคงได้ตัดสินใจกันใหม่อีกครั้ง


______________________________




แอปเปิลเคว้ง รัฐบาลไอร์แลนด์เตรียมยกเลิกภาษีฉาวแล้ว



รัฐบาลไอร์แลนด์เตรียมยุติแผนภาษีฉาวสำหรับแอปเปิล และบริษัทสัญชาติสหรัฐอเมริกาที่มาใช้ฐานภาษีในไอร์แลนด์ “ประหยัด” เงินภาษีที่ควรจะต้องจ่าย หลังถูกกดดันหนักโดยสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เนื่องจากอัตราภาษีดังกล่าวทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ไอทีหลายรายที่มาตั้งฐานในไอร์แลนด์สามารถลดการจ่ายภาษีลงได้หลายพันล้านเหรียญสหรัฐ และผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษนี้ไม่เฉพาะแอปเปิล (Apple) หากแต่ยังมีชื่อของกูเกิล (Google) เสิร์ชเอนจินอันดับ 1 ของโลกรวมอยู่ด้วย
     
       รายงานข่าวดังกล่าวได้รับการเผยแพร่จาก itnews ของออสเตรเลีย โดยอ้างว่า รัฐบาลไอร์แลนด์จะมีการปรับแผนภาษีที่เรียกกันว่า “Double Irish” ในสัปดาห์หน้า และคาดว่าจะทำให้รายได้ของแอปเปิลเป็นรายได้บนอัตราภาษีที่แท้จริงมากขึ้น
     
       สำหรับเส้นทางการโยกย้ายรายได้ที่ซับซ้อนนี้ ได้ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศเกิดความสงสัยและมีการตรวจสอบเส้นทางการเงินของแอปเปิล จนพบว่า มีการให้สิทธิพิเศษดังกล่าว ซึ่งคงต้องยกความดีความชอบให้หัวเรือใหญ่อย่าง รัฐบาลออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรป ที่มีการตรวจสอบเส้นทางการเงินของแอปเปิลตลอด 18 เดือนที่ผ่านมา จนพบว่ามีอัตราภาษีพิเศษนี้ในที่สุด



จากแผนผังที่เผยแพร่ทาง BusinessInsider ได้แสดงให้เห็นว่า ในปี 2011 และ 2012 แอปเปิล มีรายได้จากยอดขายในต่างประเทศ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ และมียอด Tax Avoided สูงถึง 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นยอด Tax Avoided ต่อวันถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปี ค.ศ.2011) และ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ (ปี ค.ศ.2012) ตามลำดับ ซึ่งถ้าหากบริษัทดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศที่แอปเปิลต้องเสียภาษีอัตราปกติ คงไม่มีทางเกิดยอดกำไรที่สวยงามดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้เป็นแน่
     
       สำหรับรัฐบาลไอร์แลนด์ การถูกกดดันอย่างหนักเรื่องฐานภาษียังไม่อาจหนักใจเท่าความเสี่ยงในการจ้างงานที่ลดลง เนื่องจากปัจจุบันมีประชากรไอร์แลนด์ราว 160,000 คน ที่ถูกจ้างงานในบริษัทจากต่างชาติที่มาตั้งฐานในไอร์แลนด์เพราะหวังประโยชน์ด้านภาษี หรือคิดเป็น 1 ใน 10 ของประชากรทั้งหมดเลยทีเดียว
     
       สำหรับแอปเปิลเอง บริษัทได้มาตั้งบริษัทลูกอยู่ในไอร์แลนด์ นาม Apple Operations International และได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวเนื่องจากถือว่าเป็นบริษัทสัญชาติไอริช โดยทางบริษัทมีการจ้างงานในประเทศประมาณ 4,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่แอปเปิลต้องเสียไม่อาจนำมาเปรียบเทียบได้เลยกับยอดภาษีในตารางดังกล่าว และอาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นอัตราภาษีที่ทุกบริษัทในโลกล้วนต้องการเพื่อให้ตนเองได้กำไรสูงสุดเลยก็ว่าได้
     
       ผลของการยกเลิกอัตราภาษีพิเศษนี้ อาจทำให้แอปเปิลต้องเสียภาษีในอัตราปกติเหมือนกับบริษัททั่วไปในไอร์แลนด์ และจะทำให้ยอดส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการต่างประเทศของแอปเปิลลดลงอย่างแน่นอน ถึงเวลานั้น นักลงทุนคงได้ตัดสินใจกันใหม่อีกครั้ง
     
       อย่างไรก็ดี หลังมีการเผยแพร่ข่าวชิ้นนี้ออกไป ก็ดูท่าว่านักลงทุนจะยังไม่สะดุ้งสะเทือน และหุ้นของแอปเปิลมีการปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อยู่ที่ 99.81 เหรียญสหรัฐ



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000118070

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.