Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 ตุลาคม 2557 CAT.ดนันท์ ระบุ เชื่อมโครงข่ายระบบเคเบิลไทย-พม่า ตั้งแต่ปี 2554 ล่าสุด การเข้าไปเปิด POP (Point of Presence) หรือจุดติดตั้งอุปกรณ์รองรับการให้บริการวงจรสื่อสารในเมืองย่างกุ้ง

ประเด็นหลัก


       นายดนันท์ กล่าวต่อว่า จากการเปิดให้บริการแก่ลูกค้าในพม่ามา 3 ปี ปริมาณทราฟฟิกเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้าเฉลี่ย 10% ต่อปี เนื่องจากข้อจำกัดด้านการพัฒนาโครงข่ายภายในประเทศของพม่าที่ยังไม่เพียงพอ ขณะที่ภาคธุรกิจมีความต้องการใช้แบนด์วิดท์สูงมากเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูล
     
 ทั้งนี้ กสท ได้เข้าไปเชื่อมโครงข่ายระบบเคเบิลไทย-พม่า ตั้งแต่ปี 2554 โครงข่ายสื่อสารจึงมีความพร้อมสำหรับการให้บริการซึ่ง กสท ได้เปิดให้บริการวงจรสื่อสาร Leased Line เชื่อมโยงระบบการสื่อสารให้แก่ลูกค้าที่เข้าไปขยายธุรกิจในพม่า เช่น กลุ่มธนาคาร และเอสเอ็มอี ในลักษณะ One-Stop Shopping โดยสามารถใช้บริการของ กสท อย่างครบวงจรในการเชื่อมต่อไปยังทุกประเทศในกลุ่มอินโดจีน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้สะดวก
     
       ล่าสุด การเข้าไปเปิด POP (Point of Presence) หรือจุดติดตั้งอุปกรณ์รองรับการให้บริการวงจรสื่อสารในเมืองย่างกุ้ง ทำให้การควบคุมคุณภาพบริการมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วขึ้นโดยสามารถบริหารจัดการทราฟฟิกผ่าน POP ได้โดยตรงจากชุมสายหลักของ กสท ที่บางรัก นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ที่ใช้บริการเกตเวย์ในการเชื่อมต่อกับพม่า เช่น เมียนมาร์โพสต์ แอนด์ เทเลคอม (MPT) และเอ็นทีที คอมมูนิเคชั่นส์
   

______________________________




กสท วางโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเชื่อมต่อพม่า



นายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

        กสท ขานรับยุทธศาสตร์รัฐบาลยกระดับความร่วมมือและส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าไทย-พม่า ชูโครงข่าย 3 จุดเชื่อมต่อพม่า เชียงราย ตาก และ สตูล รองรับธุรกิจสื่อสารไอทีขยายตัวต่อเนื่อง 10 ปี พร้อมรุกให้บริการไอทีหนุนธุรกิจข้ามชาติ ชูคอนเซ็ปต์ One-Stop Shopping เชื่อมพม่าสู่ทุกประเทศอินโดจีน และทั่วโลก พร้อมตั้ง POP ในย่างกุ้ง ควบคุมทราฟฟิกจากไทย
     
       นายดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพม่าโดยเฉพาะด้านโครงข่ายโทรคมนาคมจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ รองรับการลงทุนธุรกิจจากต่างชาติ รวมถึงการพัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข และการให้บริการขั้นพื้นฐานต่างๆ แก่ประชาชน อันเป็นหนึ่งในนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพม่า
     
       “กสท ร่วมมือกับ โลคัล โอเปอเรเตอร์ ของพม่าที่มีจุดแข็งด้านการเชื่อมโยงภายในประเทศบวกกับความเชี่ยวชาญของ กสท ในการนำทราฟฟิกออกสู่ต่างประเทศทั่วโลก โดยผ่านระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำทั้งหมด 6 เส้นทาง ทำให้สามารถสนับสนุนความพร้อมอย่างรวดเร็วให้แก่บริการโทรคมนาคมในพม่า เพื่อให้ทันต่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด”
     
       ทั้งนี้ กสท ได้เข้าไปเชื่อมโครงข่ายระบบเคเบิลไทย-พม่า ตั้งแต่ปี 2554 โครงข่ายสื่อสารจึงมีความพร้อมสำหรับการให้บริการซึ่ง กสท ได้เปิดให้บริการวงจรสื่อสาร Leased Line เชื่อมโยงระบบการสื่อสารให้แก่ลูกค้าที่เข้าไปขยายธุรกิจในพม่า เช่น กลุ่มธนาคาร และเอสเอ็มอี ในลักษณะ One-Stop Shopping โดยสามารถใช้บริการของ กสท อย่างครบวงจรในการเชื่อมต่อไปยังทุกประเทศในกลุ่มอินโดจีน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้สะดวก
     
       ล่าสุด การเข้าไปเปิด POP (Point of Presence) หรือจุดติดตั้งอุปกรณ์รองรับการให้บริการวงจรสื่อสารในเมืองย่างกุ้ง ทำให้การควบคุมคุณภาพบริการมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วขึ้นโดยสามารถบริหารจัดการทราฟฟิกผ่าน POP ได้โดยตรงจากชุมสายหลักของ กสท ที่บางรัก นอกจากนี้ ยังมีลูกค้าโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ที่ใช้บริการเกตเวย์ในการเชื่อมต่อกับพม่า เช่น เมียนมาร์โพสต์ แอนด์ เทเลคอม (MPT) และเอ็นทีที คอมมูนิเคชั่นส์
     
       นายดนันท์ กล่าวต่อว่า จากการเปิดให้บริการแก่ลูกค้าในพม่ามา 3 ปี ปริมาณทราฟฟิกเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้าเฉลี่ย 10% ต่อปี เนื่องจากข้อจำกัดด้านการพัฒนาโครงข่ายภายในประเทศของพม่าที่ยังไม่เพียงพอ ขณะที่ภาคธุรกิจมีความต้องการใช้แบนด์วิดท์สูงมากเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูล
     
       “เศรษฐกิจพม่ากำลังเติบโตโดยเฉพาะในเมืองย่างกุ้ง มีความต้องการใช้แบนด์วิดท์เป็นดีมานด์สูงมาก แต่การเติบโตของปริมาณทราฟฟิกค่อนข้างช้า ด้วยความไม่พร้อมด้านโครงข่ายภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการพัฒนาโดยเอกชนเริ่มเข้าไปขยายโครงข่ายไร้สาย 3G และ 4G ขณะที่ กสท ได้เข้าไปเชื่อมโครงข่ายระบบเคเบิลแล้วตั้งแต่ 3 ปีก่อน ปัจจุบันมีจุดเชื่อมต่อกับพม่าบริเวณชายแดนถึง 3 เส้นทางโดยระบบเคเบิลภาคพื้นดิน ได้แก่ เส้นทางเมืองเมียวดี-แม่สอด จังหวัดตาก กับ ส้นทางท่าขี้เหล็ก-แม่สาย จังหวัดเชียงราย และระบบเคเบิลใต้น้ำที่เมืองพยาโปง (Pyapon)-จังหวัดสตูล โครงข่ายทั้ง 3 จุดของ กสท สามารถขยายคาปาซิตีได้อย่างเพียงพอในการให้บริการครอบคลุมพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจของพม่า ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5-10 ปีข้างหน้า”

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000117819

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.