Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 ตุลาคม 2557 แหล่งข่าว งานเข้า ป.ป.ช. สอบ กสทช. เยียวยา 1800MHz ( TRUEMOVE และ AIS GSM 1800 ) เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าการปฏิบัติงานของ กสทช.ในกรณีดังกล่าวทำให้รัฐเสียหาย

ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการทำงานของ กสทช.เกี่ยวกับการออกประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานคณะอนุกรรมการ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าการปฏิบัติงานของ กสทช.ในกรณีดังกล่าวทำให้รัฐเสียหาย

และขณะนี้ ป.ป.ช.กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปชี้แจง และล่าสุด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้เข้าไปให้ข้อมูลแล้ว คาดว่าจะเริ่มทยอยเรียกข้อมูลเพิ่มเติมอีกเป็นระยะ







______________________________



กสทช.งานเข้า "ป.ป.ช." สอบเยียวยา 1800MHz ทำรัฐเสียหาย



"ป.ป.ช." ตั้งคณะอนุกรรมการสอบ "กสทช." กรณีเยียวยาสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดีพีซี" ครบ 1 ปี เอกชนอ้างขาดทุนพันล้านบาทไม่มีเงินส่งเข้าคลัง แถม "กสทฯ" ไม่ได้ค่าเช่าโครงข่ายสักบาท ฟาก "กทค." ยังนิ่ง แม้คณะทำงานตรวจสอบรายได้จะชงเรื่องให้เร่งตัดสินใจ

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบการทำงานของ กสทช.เกี่ยวกับการออกประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานคณะอนุกรรมการ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าการปฏิบัติงานของ กสทช.ในกรณีดังกล่าวทำให้รัฐเสียหาย

และขณะนี้ ป.ป.ช.กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปชี้แจง และล่าสุด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้เข้าไปให้ข้อมูลแล้ว คาดว่าจะเริ่มทยอยเรียกข้อมูลเพิ่มเติมอีกเป็นระยะ

"กรณีนี้ที่มองว่ารัฐเสียหาย เพราะตั้งแต่เข้าสู่ช่วงเยียวยาตามประกาศ กสทช.หลังสิ้นสุดสัมปทานให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่น 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัทดิจิตอลโฟน หรือดีพีซี ตั้งแต่ 15 ก.ย. 2556 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการนำส่งเงินรายได้ที่เกิดจากการให้บริการในช่วงเวลาดังกล่าวเข้า เป็นเงินแผ่นดินตามที่ระบุไว้ในประกาศ อีกทั้งหน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของโครงข่ายที่นำไปให้บริการอย่าง บมจ.กสท โทรคมนาคม ก็ยังคงไม่ได้เงินค่าเช่าโครงข่ายจากเอกชนด้วย เนื่องจากเอกชนแจ้งข้อมูลมาว่าผลการดำเนินการในช่วงเยียวยาขาดทุนถึงพันกว่าล้านบาท"

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา บมจ.กสท โทรคมนาคมได้ส่งหนังสือถึง กสทช.เรียกให้ชำระค่าเช่าโครงข่ายในช่วงเยียวยาตลอดเวลา 1 ปี ซึ่งทั้ง 2 บริษัทค้างชำระไว้ รวมเป็นเงิน 14,141 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าเช่าของทรูมูฟ 11,796 ล้านบาท และดีพีซีเป็นเงิน 2,344 ล้านบาท ซึ่งค่าเช่าดังกล่าว กสทฯระบุว่าได้คำนวณตามที่ปรึกษาทางบัญชีเสนอมา คือนำค่าเสื่อมราคาของโครงข่ายที่ยังเหลืออยู่ก่อนหมดอายุการใช้งานมาหักออก ให้หมดภายในช่วงเวลาเยียวยาที่ กสทช.บังคับไว้

สำหรับคณะทำงานตรวจสอบการนำรายได้ส่งแผ่นดินจากการให้บริการในระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการ ประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที), ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและบัญชี ซึ่งได้มีการแจ้งข้อมูลให้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ตัดสินใจมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจากเอกชนยื่นบัญชีแสดงผลขาดทุนมายังคณะทำงานดังกล่าว

"คณะทำงานขอให้ กทค.อนุมัติรายการค่าใช้จ่ายที่อนุญาตให้เอกชนนำมาหักได้ แต่ กทค. ยังไม่ได้อนุมัติ เมื่อพิจารณาตัวเลขทางบัญชีที่ยื่นมาแล้วจะเห็นว่า ไม่ว่าจะอนุมัติแบบไหน ผลสรุปรวมก็ยังขาดทุนอยู่ดี คณะทำงานจึงได้เสนอให้ กทค.แก้ไขประกาศ กสทช.ใหม่ เพื่อให้มีการกำหนดตัวเลขที่ชัดเจนที่เอกชนต้องนำส่งรายได้เข้ารัฐ เช่น 10% หรือ 30% ของรายได้ แต่บอร์ด กทค.ยังไม่ได้หยิบเรื่องนี้มาพิจารณาแต่อย่างใด" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ในช่วงที่ยกร่างประกาศเยียวยาฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ที่ปรึกษากฎหมายของ เลขาธิการ กสทช.เสนอว่าควรกำหนดเงินนำส่งเข้ารัฐเป็นตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐเสียหายจากกรณีที่เอกชนแจ้งผลประกอบการขาดทุน แต่แนวคิดนี้ กทค.ไม่เห็นด้วยและให้นำออกจากร่างประกาศ เนื่องจากมีข้อครหาว่าการกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้เท่ากับเป็นการขยาย เวลาสัญญาสัมปทานให้เอกชนซึ่งขัดกฏหมาย ดังนั้น เลขาธิการ กสทช.จะใช้ประเด็นนี้เป็นหลักในการชี้แจงกับ ป.ป.ช.

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1413537760

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.