Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 ตุลาคม 2557 GMM.กริช ระบุ ธุรกิจเพลงในปีนี้มั่นใจว่าจะกลับมาเติบโตได้ถึง 20% ขณะที่รายได้หลักของธุรกิจมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1. ฟิสิกคัล(การขายแผ่น) 50% และ 2. ไลฟ์คอนเสิร์ต กับดิจิตอลดาวน์โหลด 50% เท่าๆ กัน

ประเด็นหลัก

       นายกริช ทอมมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ธุรกิจเพลงในปีนี้มั่นใจว่าจะกลับมาเติบโตได้ถึง 20% จาก 1-2 ปีค่อนข้างนิ่ง จากปัญหาการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ซึ่งปีนี้มีปัจจัยบวกจากช่องทางยูทิวบ์ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมา โดยมีสมาชิกติดตามกว่า 4 ล้านราย และมียอดรีวิวกว่า 100 ล้านวิวต่อเดือน รวมถึงสตรีมมิ่งที่ดีขึ้น และจะมีเปิดตัวอีกหลายรายในปีหน้า ขณะที่รายได้หลักของธุรกิจมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1. ฟิสิกคัล(การขายแผ่น) 50% และ 2. ไลฟ์คอนเสิร์ต กับดิจิตอลดาวน์โหลด 50% เท่าๆ กัน
     
       “ปีนี้รายได้รวมธุรกิจเพลงถือเป็นพระเอกที่สร้างรายได้หลักให้แกรมมี่ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% และอีก 40% มาจากธุรกิจมีเดีย จากปกติจะมีสัดส่วนที่ 50% เท่ากันๆ ส่วนสำคัญมาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เริ่มดีขึ้น การจัดคอนเสิร์ตอั้นมาจัดปลายปีมากขึ้น ยอดการดาวน์โหลดเพลงดีขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงลดลง จากบริการที่เข้าถึงการฟังได้ง่ายขึ้น”



______________________________




ธุรกิจเพลงกู้ชีพ GMM ป้อน GWORLD รวมคอนเทนต์ลุย



        แกรมมี่ปลื้มธุรกิจเพลงรั้งบัลลังก์สร้างรายได้สูงสุด 60% หลังทรงตัวมา 1-2 ปี ส่งภาพรวมธุรกิจพ้นขาดทุน เหตุปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุนกับดิจิตอลทีวี ล่าสุดทุ่ม 130 ล้านบาทลุยโลกโซเชียล เปิดตัว “GWorld” และเมืองไทยจีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์
     
       นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมรายได้ของบริษัทในปีนี้ถือว่าทรงตัว เนื่องจากปีนี้เป็นปีแห่งการลงทุนกับธุรกิจดิจิตอลทีวี 2 ช่อง คือ ช่องวัน และช่องจีเอ็มเอ็ม แชนแนล ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติสำหรับธุรกิจนี้ที่ในช่วง 1-2 ปีแรกจะอยู่ในช่วงการลงทุน แต่หากมองในธุรกิจอื่นๆ ของแกรมมี่แล้วมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจเพลงปีนี้ถือเป็นปีแรกในช่วง 1-2 ปีที่กลับมาเติบโตได้ หลังจากที่เจอปัญหาการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
     
       นายกริช ทอมมัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า ธุรกิจเพลงในปีนี้มั่นใจว่าจะกลับมาเติบโตได้ถึง 20% จาก 1-2 ปีค่อนข้างนิ่ง จากปัญหาการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี ซึ่งปีนี้มีปัจจัยบวกจากช่องทางยูทิวบ์ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมา โดยมีสมาชิกติดตามกว่า 4 ล้านราย และมียอดรีวิวกว่า 100 ล้านวิวต่อเดือน รวมถึงสตรีมมิ่งที่ดีขึ้น และจะมีเปิดตัวอีกหลายรายในปีหน้า ขณะที่รายได้หลักของธุรกิจมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1. ฟิสิกคัล(การขายแผ่น) 50% และ 2. ไลฟ์คอนเสิร์ต กับดิจิตอลดาวน์โหลด 50% เท่าๆ กัน
     
       “ปีนี้รายได้รวมธุรกิจเพลงถือเป็นพระเอกที่สร้างรายได้หลักให้แกรมมี่ คิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% และอีก 40% มาจากธุรกิจมีเดีย จากปกติจะมีสัดส่วนที่ 50% เท่ากันๆ ส่วนสำคัญมาจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เริ่มดีขึ้น การจัดคอนเสิร์ตอั้นมาจัดปลายปีมากขึ้น ยอดการดาวน์โหลดเพลงดีขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์เพลงลดลง จากบริการที่เข้าถึงการฟังได้ง่ายขึ้น”
     
       อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้ากลุ่มธุรกิจเพลงมีการลงทุนหลัก 130 ล้านบาทใน 2 ส่วนหลัก คือ 1. ไลฟ์ฮอลล์ โดยลงทุนกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัว “เมืองไทยจีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮ้าส์” ขึ้น ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 8 ฝั่งเซน และอีก 30 ล้านบาท สำหรับธุรกิจออนไลน์ กับการเปิดตัวสังคมออนไลน์แบบ 3D ในชื่อ GWorld ภายใต้บริษัท จีดีซี จำกัด ซึ่งแกรมมี่ถือหุ้น 100% ในการพัฒนา 3D โซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมคอนเทนต์ทั้งหมดของแกรมมี่ ตอบโจทย์กลุ่มแฟนคลับ พร้อมต่อยอดรายได้ ตั้งเป้า 2 ปีคุ้มทุน
     
       นายสุรศักดิ์ อารีย์สว่างกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีดีซี จำกัด กล่าวต่อว่า GWorld ถูกพัฒนามากว่า 2 ปี พร้อมเปิดตัวสู่โลกออนไลน์อย่างเป็นทางการในเดือน ธ.ค.นี้ ทาง www.gworld .in.th เบื้องต้นวันนี้-25 ต.ค.จะเปิดรับสมาชิก 1,000 คน เข้าทดลองใช้เป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นในเดือน ธ.ค.จะเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบ มั่นใจว่าใน 3 เดือนจะมียอดสมาชิกกว่า 1 ล้านยูสเซอร์
     
       “GWorld เป็น 3D โซเชียลเน็ตเวิร์กเสมือนจริงในการจำลองธุรกิจในแกรมมี่ทั้งหมดมาไว้รวมกัน และให้แฟนคลับได้เข้ามาสัมผัสในรูปแบบต่างๆ เช่น โซนจีทีเอช สตูดิโอ, เอ็กแซ็กท์ ยูนิเวิร์ส และมิวสิคทาวน์ โดยอนาคตจะมีการสร้างรายได้จาก GWorld ใน 2 ทาง คือ 1. สปอนเซอร์ เช่น รถจักรยานยนต์ฮอนด้า, เนสกาแฟ, อิชิตัน, ไทยประกันชีวิต และทีโอที ซึ่งขณะนี้ทำรายได้กว่า 60% ของการลงทุนแล้ว และ 2.ยูสเซอร์ จากการจำหน่ายไอเท็มและอีคอมเมิร์ซในอนาคต ทั้งนี้ ในปีหน้าเตรียมที่จะเปิดตัวการเข้าใช้งานผ่านแอปพลิเคชันด้วย” นายสุรศักดิ์กล่าว


http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000121820

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.