Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 ตุลาคม 2557 IMC.ธนชาติ ระบุ ขณะนี้ประเทศไทยมีต้นทุนสูงกว่าผู้ให้บริการคลาวด์ของต่างประเทศ 20-30% ทำให้ไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้ามากเท่าที่ควร

ประเด็นหลัก


"ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์" ผู้อำนวยการสถาบัน IMC กล่าวว่า แนวโน้มของการใช้ Cloud Computing ในไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมากจากนโยบาย "ดิจิทัล อีโคโนมี" ของภาครัฐ ที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ไอทีมากขึ้น โดยหน่วยงานขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะใช้ Private Cloud มากยิ่งขึ้นจากการขยายโครงสร้างพื้นฐาน



แต่ปัญหาของผู้ให้บริการในไทยขณะนี้ คือ การมีต้นทุนสูงกว่าผู้ให้บริการคลาวด์ของต่างประเทศ 20-30% ทำให้ไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้ามากเท่าที่ควร แต่มีจุดเด่นที่สามารถให้บริการได้ตรงกับความต้องการผู้ใช้งานได้มากกว่า


______________________________



สำรวจการใช้ "คลาวด์" ภาครัฐ-ธุรกิจ ตระหนักรู้ประโยชน์ แต่คนไม่พร้อมรับ



เมื่อเทคโนโลยีคลาวด์มีบทบาททั้งในด้านธุรกิจและชีวิตคนทั่วไปมากขึ้น สถาบัน IMC จึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง "ความพร้อมด้าน Cloud Computing ของหน่วยงานในประเทศไทย" (Cloud Computing in Thailand Readiness Survey) เพื่อเตรียมแนวทางในการพัฒนาให้ก้าวทันเทคโนโลยี โดยใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้บริหาร ผู้อํานวยการ ผู้จัดการ และพนักงานทั้งในสายไอทีและอื่น ๆ ในหน่วยงานภาครัฐและหลายกลุ่มธุรกิจทั้งหมด 383 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ 66% เป็นองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ที่มีพนักงานน้อยกว่า 1,000 คน และ 34% เป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 1,000 คน

ข้อมูลในการสำรวจพบว่าหน่วยงานในไทยส่วนใหญ่พึงพอใจกับการใช้บริการคลาวด์ โดย 71.75% ยอมรับว่าเป็นบริการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้ 62.71% เห็นว่าช่วยให้องค์กรทำงานได้ต่อเนื่อง และ 62.15% เห็นว่าทำให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างไม่จํากัด

แต่อุปสรรคสำคัญคือ กลุ่มตัวอย่าง 70.62% ยังเห็นว่าการใช้คลาวด์มีความเสี่ยงด้านระบบความปลอดภัยอีก 49.15% มีปัญหาการขาดบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้อย่างดีพอ 45.20% เห็นว่ากฎระเบียบของหน่วยงานและภาครัฐยังไม่เอื้อ 33.90% ยังมองไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนของการใช้คลาวด์ 31.64% ยังไม่มีงบประมาณ 23.10% เห็นการใช้งานคลาวด์ในไทยยังขาดมาตรฐานอีกหลายด้าน และ 19.77% ยังไม่มีผู้ให้บริการที่ตรงกับความต้องการ

ขณะที่ซอฟต์แวร์ที่หน่วยงานไทยต้องการใช้บนบริการ SaaS (Software as a Service) Public Cloud ซึ่งเป็นบริการคลาวด์ประเภทที่ได้รับความนิยมมาก 63.39% ต้องการใช้งานระบบ E-mail รองลงมา 56% คือระบบสร้างงานเอกสาร เช่น Office 365 46% ระบบฝากข้อมูล เช่น Dropbox 30% เป็นระบบ CRM และ 24% ระบบ ERP

"ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์" ผู้อำนวยการสถาบัน IMC กล่าวว่า แนวโน้มของการใช้ Cloud Computing ในไทยมีโอกาสเติบโตได้อีกมากจากนโยบาย "ดิจิทัล อีโคโนมี" ของภาครัฐ ที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ไอทีมากขึ้น โดยหน่วยงานขนาดใหญ่มีแนวโน้มจะใช้ Private Cloud มากยิ่งขึ้นจากการขยายโครงสร้างพื้นฐาน

ภายในบริษัทขณะที่บริษัทขนาดย่อม (SMEs) เริ่มตระหนักถึงการใช้บริการด้านคลาวด์ประเภท Public Cloud ในแบบเช่าใช้มากขึ้น โดยผลการศึกษาเฉพาะกลุ่ม SMEs พบว่ากว่า 50% มีแผนการใช้บริการ Public Cloud ในองค์กรด้วยรูปแบบ Infrastructure as a Services (IaaS) สูงถึง 72.88%

แต่ปัญหาของผู้ให้บริการในไทยขณะนี้ คือ การมีต้นทุนสูงกว่าผู้ให้บริการคลาวด์ของต่างประเทศ 20-30% ทำให้ไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้ามากเท่าที่ควร แต่มีจุดเด่นที่สามารถให้บริการได้ตรงกับความต้องการผู้ใช้งานได้มากกว่า

"จากการสำรวจพบว่า IaaS Public Cloud ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ Microsoft Azure และ True IDC รองลงมาคือ Amazon Web Services และ G-Cloud และแม้ Microsoft Azure จะครองตลาด แต่การสำรวจพบว่าหน่วยงานในไทยกำลังให้ความสำคัญกับบริการคลาวด์ที่เป็นมาตรฐานเปิด"

เช่นเดียวกับบริการ PaaS Public Cloud ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่ามีผู้ประกอบการไทยให้บริการ โดย Microsoft Azure, Google App Engine และ Amazon Web Services เป็นผู้ให้บริการที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด 3 อันดับแรก ขณะที่บริการ SaaS มีผู้ให้บริการกว่า 200 รายในประเทศไทย แต่พบว่าหน่วยงานส่วนใหญ่เลือกใช้บริการของต่างประเทศ โดย Google Apps มีผู้ใช้งานมากที่สุด รองลงมาเป็น Office 365 และ Dropbox Enterprise แต่ยังมีแผนในอนาคตจะใช้บริการของ Salesforce, OpenERP, Smartsheet และ Amazon ด้วย

"เทคโนโลยีคลาวด์มีความสำคัญกับชีวิตมากขึ้น การพัฒนาให้มีความน่าเชื่อถือในระบบความปลอดภัย จะช่วยองค์กรธุรกิจให้ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมรองรับเทคโนโลยีจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนา ประเทศได้ต่อไป

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414579783

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.