Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 พฤศจิกายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.เศรษฐพงค์ คาดรู้แผนประมูลช่วง ม.ค.-ก.พ.58 โดยเร่ง คิด นำคลื่น 1800 MHz ของ DTAC ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 61 มาประมูลล่วงหน้าพร้อมกันเลยหรือไม่

ประเด็นหลัก

    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ตอนนี้คณะทำงานได้เตรียมแผนงานการประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วง ม.ค.-ก.พ.58 และจะนำเข้าที่ประชุม กทค.เพื่อพิจารณา ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการประมูล 4 จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประมูลใหม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมเป็นหลักเกณฑ์ที่ยอมรับในสากล แต่อาจจะมีการปรับปรุงในส่วนของราคาเริ่มต้นการประมูลใหม่ เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงหลักทางเศรษฐศาสตร์ที่นำมาคำนวณใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้มีการปรับราคาเริ่มต้นการประมูลเพิ่มขึ้นจากเดิม

       “ตอนนี้กำลังคิดกันอยู่ว่าจะนำคลื่น 1800 MHz ของดีแทคที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 61 มาประมูลล่วงหน้าพร้อมกันเลยหรือไม่ เพราะปี 58 กับปี 61 ต่างกันไม่กี่ปี ซึ่งเรื่องนี้จะมีนักวิชาการเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลถึงข้อดีข้อเสียอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำเสนอบอร์ดว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ และ กสทช.ต้องเร่งให้เกิดแผนงานสำหรับเตรียมการประมูลภายในเดือน ม.ค.หรือ ก.พ. ปีหน้าให้ได้ เพื่อนำไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และเปิดประมูล 4G ในเดือน ส.ค.-ก.ย.58 ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่เอกชนก็เร่ง กสทช.มาเหมือนกัน อย่างเอไอเอส เขาก็จะหมดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในเดือน ก.ย.58”
   


______________________________







กสทช.เดินหน้าประมูล 4G ปลายปีหน้า


กสทช.ยืนยันไม่เกียร์ว่าง มั่นใจประมูล 4G ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย.58 อย่างแน่นอน เดินหน้าเตรียมความพร้อมทำแผนประมูล โดยไม่รอพ้นคำสั่ง คสช.ที่ระงับการประมูลออกไปก่อนจนถึงเดือน ก.ค.58 ชี้ราคาประมูลเริ่มต้นต้องสูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่หวั่นกระแสถูกลดบทบาทอยู่ภายใต้ไอซีที มั่นใจกว่าจะแก้ กม.เสร็จต้องใช้เวลาเป็นปี
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า จากคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ให้ระงับการประมูล 4G ออกไป 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดเดือน ก.ค.ปีหน้า นั้น กสทช.ยืนยันว่า ต้องจัดประมูลคลื่นย่านความถี่ 900/1800 MHz ในเดือน ส.ค.-ก.ย. ปีหน้าอย่างแน่นอน
     
       ทั้งนี้ กำหนดการเดิมของ กสทช.ต้องเปิดการประมูล 4G บนคลื่นความถี่ย่าน 1,800 MHz ของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่ได้สิ้นสุดสัญญาสัมปทานไปเมื่อวันที่ 15 ก.ย.56 ในช่วงเดือน ส.ค.57 และเปิดประมูล 4G บนคลื่นความถี่ 900 MHz ในเดือน ก.ย.57 ที่ผ่านมา
     
       แต่เมื่อมีคำสั่ง คสช.ให้ระงับการประมูลออกไป 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดของคำสั่งดังกล่าวในเดือน ก.ค.58 นั้น กสทช.ต้องเริ่มเตรียมความพร้อมในการประมูลไปก่อน เมื่อพ้นเวลาระงับการประมูล กสทช.จะสามารถเปิดการประมูลได้ทันที ซึ่งหากไม่มีเรื่องทางการเมืองเปลี่ยนแปลงอีก กสทช.จะยึดรูปแบบการประมูลแบบเดียวกับการประมูล 3G ครั้งก่อน เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมเป็นที่ยอมรับในสากล แต่ราคาเริ่มต้นการประมูลต้องสูงกว่าเดิม ไม่ควรลดลงเพราะประเทศชาติจะเสียประโยชน์
     
       “ตอนนี้กำลังคิดกันอยู่ว่าจะนำคลื่น 1800 MHz ของดีแทคที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 61 มาประมูลล่วงหน้าพร้อมกันเลยหรือไม่ เพราะปี 58 กับปี 61 ต่างกันไม่กี่ปี ซึ่งเรื่องนี้จะมีนักวิชาการเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลถึงข้อดีข้อเสียอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำเสนอบอร์ดว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ และ กสทช.ต้องเร่งให้เกิดแผนงานสำหรับเตรียมการประมูลภายในเดือน ม.ค.หรือ ก.พ. ปีหน้าให้ได้ เพื่อนำไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และเปิดประมูล 4G ในเดือน ส.ค.-ก.ย.58 ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่เอกชนก็เร่ง กสทช.มาเหมือนกัน อย่างเอไอเอส เขาก็จะหมดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ในเดือน ก.ย.58”
     
       อย่างไรก็ตาม แม้ว่าขณะนี้ กสทช.ถูกจับตามองว่าต่อไปจะกลายเป็นเพียงองค์การมหาชนภายใต้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ซึ่งอาจจะมีผลเปลี่ยนแปลงต่อบทบาทการทำงานของ กสทช.หรือไม่นั้น พ.อ.เศรษฐพงค์ ยืนยันว่า การจะทำเช่นนั้นได้คือต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช.เสียก่อน ซึ่งถ้าจะทำได้ต้องรอให้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญใหม่เสียก่อนซึ่งก็ต้องใช้เวลาเป็นปี ดังนั้น กสทช.ก็ยังคงต้องดำเนินการประมูลต่อไป และหากแผนการประมูลเสร็จสิ้น และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาก็ไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงได้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000131760


_______________________________


กทค.ขยับราคา เซ็งลี้คลื่น"4G" ยันใช้กติกาเดิม
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ตอนนี้คณะทำงานได้เตรียมแผนงานการประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วง ม.ค.-ก.พ.58 และจะนำเข้าที่ประชุม กทค.เพื่อพิจารณา ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการประมูล 4 จี บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการประมูลใหม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์เดิมเป็นหลักเกณฑ์ที่ยอมรับในสากล แต่อาจจะมีการปรับปรุงในส่วนของราคาเริ่มต้นการประมูลใหม่ เนื่องจากจะต้องคำนึงถึงหลักทางเศรษฐศาสตร์ที่นำมาคำนวณใหม่ ซึ่งอาจจะทำให้มีการปรับราคาเริ่มต้นการประมูลเพิ่มขึ้นจากเดิม
    ทั้งนี้ การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไม่สามารถทำการประมูลตามกำหนดเดิมเดือน ส.ค.57 ได้ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการเมือง ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งให้ชะลอการประมูลออกไป 1 ปี กทค.จึงได้แต่เตรียมแผนการประมูลเท่านั้น
    อย่างไรก็ตาม มีนักวิชาการเสนอให้ กทค.มีการเปิดประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของ บมจ. ไอเอเอส ภายใต้สัญญาสัมปทาน บมจ. ทีโอที ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.58 รวมถึงคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ที่ไม่ได้ใช้งานอีกจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ พร้อมกัน ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวจะนำเข้าสู่ที่ประชุม กทค. เพื่อพิจารณากันอีกครั้ง.




Printer-friendly version

http://www.thaipost.net/news/171114/99091

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.