Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2557 ปัจจุบัน ธุรกิจของ บมจ.เทเลอินโฟมีเดีย แบ่งเป็น 2 ส่วน โดย 60% ของรายได้มาจากค่าโฆษณากลุ่มสิ่งพิมพ์ (Print) มี "สมุดหน้าเหลือง" ขณะที่รายได้อีก 40% ที่เหลือมาจากกลุ่มธุรกิจด้านวอยซ์ (Voice) และคอลเซ็นเตอร์

ประเด็นหลัก


ปัจจุบัน ธุรกิจของ บมจ.เทเลอินโฟมีเดีย แบ่งเป็น 2 ส่วน โดย 60% ของรายได้มาจากค่าโฆษณากลุ่มสิ่งพิมพ์ (Print) มี "สมุดหน้าเหลือง" เป็นธุรกิจดั้งเดิม และมีทั้งแบบที่ตีพิมพ์ และอยู่ในเว็บไซต์ ขณะเดียวกัน ได้เริ่มเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ด้วยการรวบรวมสินค้าและบริการของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้มาตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม ชื่อหนังสือ "แฟคทอรี่ ไกด์" (Factory Guide) สำหรับแจกให้โรงงานอุตสาหกรรม อีกเล่มคือ "บิวเดอร์" (Builder) สำหรับกลุ่มก่อสร้าง เป็นต้น ขณะที่รายได้อีก 40% ที่เหลือมาจากกลุ่มธุรกิจด้านวอยซ์ (Voice) ที่ให้บริการเทเลเซลส์และคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งบริษัทรับเอาต์ซอร์ซงานให้หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ บริษัทประกัน และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่



______________________________







"เทเลอินโฟมีเดีย"ปรับตัวหนีขาลง ปั้นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเจาะบีทูบีเพิ่มรายได้



"เทเลอินโฟมีเดีย" เดินหน้าเปิดบริการแพลตฟอร์มธุรกิจ "บีทูบี" ต้นปีหน้า เล็งเจาะกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีที่ไม่อยากลงทุนระบบอีคอมเมิร์ซเอง และเดินหน้าปรับโฉมเว็บไซต์ "เยลโล่เพจเจส" หวังดึงลูกค้าลงโฆษณาออนไลน์เพิ่มขึ้น ยอมรับเทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วต้องปรับตัวให้ทัน ยึดมาตรการรัดเข็มขัดคุมเข้มค่าใช้จ่ายได้ถึง 17% พลิกธุรกิจจากขาดทุนเป็นกำไร และตัดทิ้งธุรกิจที่ไปไม่รอด พลิกขาดทุนเป็นกำไร และเพิ่มโฟกัสลูกค้าเฉพาะกลุ่มรุก "เทเลเซลส์-คอลเซ็นเตอร์"

นายชุติเดช ปริญฐิติภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลอินโฟมีเดีย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการ "สมุดหน้าเหลือง" (Yellow Pages) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทอยู่ระหว่างทดสอบระบบการให้บริการแพลตฟอร์มกึ่งมาร์เก็ตเพลซ สำหรับการค้าแบบ B2B (ระหว่างองค์กรธุรกิจด้วยกัน) คาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการได้ในต้นปีหน้า เพื่อต่อยอดธุรกิจจากฐานข้อมูลสินค้าและบริการของบริษัทต่าง ๆ ที่เป็นลูกค้า Yellow Pages เดิม ก่อนที่จะเริ่มมีรายได้จากค่าบริการแพลตฟอร์มดังกล่าวตั้งแต่กลางปีหน้าเป็นต้นไป

โดยผู้ที่ต้องการค้นหาสินค้าและบริการ สามารถเข้ามาค้นหาสิ่งที่ต้องการได้ในฐานข้อมูลของบริษัท ซึ่งไม่ใช่แค่บอกเบอร์โทร.หรือเว็บไซต์ให้ไปติดต่อเองเท่านั้น แต่แพลตฟอร์มใหม่จะช่วยเป็นตัวกลางในการให้ข้อมูลต่าง ๆ ด้วย เช่น หากลูกค้าอยากได้ใบเสนอราคาก็จะมีปุ่มให้คลิกขอได้ทันที เป็นต้น รวมถึงมีระบบดูแลทรานแซ็กชั่นในการสั่งซื้อขายให้ด้วย นับเป็นการช่วยให้ลูกค้าติดต่อซื้อขายได้อย่างครบวงจร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ต้องการลงทุนสร้างระบบขายออนไลน์ของตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี

ขณะเดียวกัน บริษัทยังเตรียมแผนการปรับโฉมเว็บไซต์ www.yellowpages.co.th ใหม่ด้วย รวมถึงการโปรโมตเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น "Thailand Yellow Pages" เพื่อให้ทุกการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งานด้วยกูเกิลจะปรากฏเว็บไซต์ Yellow Pages อยู่ในอันดับต้น ๆ เพื่อดึงลูกค้าให้กลับมาอยู่ที่หลักหมื่นรายเหมือนก่อนนี้ พร้อมเร่งหาลูกค้าที่จะลงโฆษณาบนเว็บไซต์เพิ่มขึ้นด้วย จากปัจจุบันที่มีผู้ลงโฆษณาเฉพาะบนออนไลน์หน้าเว็บประมาณ 1,000 ราย จากฐานลูกค้าที่ลงโฆษณาในสมุดหน้าเหลือง 4,000-5,000 ราย

ปัจจุบัน ธุรกิจของ บมจ.เทเลอินโฟมีเดีย แบ่งเป็น 2 ส่วน โดย 60% ของรายได้มาจากค่าโฆษณากลุ่มสิ่งพิมพ์ (Print) มี "สมุดหน้าเหลือง" เป็นธุรกิจดั้งเดิม และมีทั้งแบบที่ตีพิมพ์ และอยู่ในเว็บไซต์ ขณะเดียวกัน ได้เริ่มเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ด้วยการรวบรวมสินค้าและบริการของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้มาตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม ชื่อหนังสือ "แฟคทอรี่ ไกด์" (Factory Guide) สำหรับแจกให้โรงงานอุตสาหกรรม อีกเล่มคือ "บิวเดอร์" (Builder) สำหรับกลุ่มก่อสร้าง เป็นต้น ขณะที่รายได้อีก 40% ที่เหลือมาจากกลุ่มธุรกิจด้านวอยซ์ (Voice) ที่ให้บริการเทเลเซลส์และคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งบริษัทรับเอาต์ซอร์ซงานให้หน่วยงานต่าง ๆ อาทิ บริษัทประกัน และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

"ผลประกอบการปีที่แล้วได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมาก ทำให้รายได้จากค่าโฆษณาลดลง แต่รายได้จากการให้บริการในต่างจังหวัดทั้งในกลุ่มพรินต์ (สิ่งพิมพ์) และวอยซ์ (บริการเสียง) เพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มบริการเอาต์ซอร์ซเทเลเซลส์และคอลเซ็นเตอร์โตขึ้น 26% โดยผลประกอบการปี 2556 ที่ผ่านมามีรายได้ 584 ล้านบาท มีกำไร 1 ล้านบาท จากที่เคยขาดทุนถึง 71 ล้านบาทในปี 2555 และ 6 เดือนแรกของปีนี้มีกำไร 5 ล้านบาท จากการคุมเข้มรายจ่ายทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 17% รวมถึงยกเลิกบริการที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น เว็บไซต์ช็อปปิ้งออนไลน์ Xetamall"

นายชุติเดชกล่าวต่อว่า ธุรกิจของบริษัทอยู่ในช่วงเทิร์นอะราวนด์จึงต้องคอย ๆ ปรับตัวให้เหมาะสม และเกาะติดเทคโนโลยี เช่น ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น Thailand Yellow Pages เพื่อให้ลูกค้าสมาร์ทโฟนได้ใช้บริการได้ เป็นต้น คาดว่าในครึ่งปีแรกจะเริ่มรับรู้รายได้จากโฆษณาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ปีก่อน รวมถึงต้องลุ้นรายได้โฆษณาในครึ่งปีหลังว่าจะปิดยอดได้แค่ไหนด้วย ซึ่งคงต้องอาศัยรายได้เอาต์ซอร์ซเข้ามาพยุง แต่เชื่อว่าตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป ภาพรวมรายได้จะดีขึ้นจากธุรกิจแพลตฟอร์มที่จะเปิดตัวในช่วงต้นปี คาดว่าจะสร้างสัดส่วนรายได้ให้ถึง 20%

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์เป็นไปได้ตามที่วางแผนไว้ ก็มีแนวคิดที่จะต่อยอดธุรกิจไปในระดับอาเซียน โดยเริ่มหาลู่ทางและหารือเบื้องต้นกับผู้ให้บริการสมุดหน้าเหลืองในประเทศอินโดนีเซียและลาวไว้บ้างแล้ว เพื่อหาทางร่วมทุนกันแต่คงต้องดูสถานการณ์เป็นระยะ คาดว่าภายในปลายปีหน้าจะเริ่มมีความชัดเจน

ขณะที่บริษัท เอดีเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ นายชุติเดช ในฐานะกรรมการผู้จัดการ บมจ. เอดีเวนเจอร์ เปิดเผยว่า จำเป็นต้องปรับรูปแบบการให้บริการด้วยเช่นกัน เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ชะลอตัวลง ประกอบกับประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ที่ได้ยืดอายุของการเติมเงินบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบพรีเพดออกไป ทำให้ลูกค้าเน้นใช้เงินในระบบเพื่อการโทรศัพท์มากกว่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงบนมือถือ บริษัทจึงต้องมุ่งพัฒนาคอนเทนต์และแอปพลิเคชั่นเพื่อการใช้งานบนสมาร์ทโฟนมากขึ้น

"พวกบริการอย่างริงโทนก็ต้องเปลี่ยนเทคโนโลยีเปลี่ยนไปแล้วก็ต้องตามให้ทัน โดยมุ่งไปที่การสร้างคอนเทนต์กับกลุ่มธุรกิจ เช่น การทำเอสเอ็มเอส มาร์เก็ตติ้งให้กับบริษัทต่างๆ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมั่นคงกว่าการขายตรงให้กับกลุ่มคอนซูเมอร์ที่มักจะเปลี่ยนแปลงเร็ว และเอาใจยาก

ส่วนการพัฒนาด้านแอปพลิเคชั่น ประเภท เกม เพลง ภาพยนตร์ ดูดวง ติวเตอร์ออนไลน์ เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่ต้องหาโมเดลในการหารายได้ที่เหมาะสม เพื่อเปลี่ยนผู้ใช้งานให้เป็นรายได้ อาทิ ให้ดาวน์โหลดแอปฯฟรี แล้วหารายได้จากการโฆษณา"

ปี 2556 ของ เอดี เวนเจอร์ มีรายได้ 563 ล้านบาท กำไร 268 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 10 ล้านบาท เป็นผลมาจากการเร่งเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากระบบ 2G ไปเป็น 3G รวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมือถือของลูกค้า



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416508096

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.