Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2557 ICT ส่ง CAT TOT เร่ง รวมโครงสร้างพื้นฐาน!! การต่อยอดบริการจากโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกที่ทั้ง 2 บริษัท มีร่วมกันมากกว่า 1.1 แสนกิโลเมตร ( CAT 80,000 กิโลเมตร , TOT 30,000 กิโลเมตร )

ประเด็นหลัก


ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศที่อยู่กับรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของไอซีที 2 แห่ง คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องนำส่งให้ไอซีทีเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ให้ทันภายในปีนี้ด้วย
     
       โดยประเด็นที่จะพิจารณาอันดับแรก คือ การต่อยอดบริการจากโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกที่ทั้ง 2 บริษัท มีร่วมกันมากกว่า 1.1 แสนกิโลเมตร แบ่งออกเป็นของ กสท โทรคมนาคม 80,000 กิโลเมตร และทีโอที 30,000 กิโลเมตร เพื่อมาหารือว่าจะนำไปเชื่อมต่อกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกครัวเรือนได้อย่างไร

______________________________







ไอซีทีเร่ง 2 รัฐวิสาหกิจส่งโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมก่อนสิ้นปี



ไอซีทีสั่ง กสท โทรคมนาคม และทีโอทีเร่งส่งโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมในประเทศไทยให้คณะทำแผนยุทธศาสตร์ของไอซีทีก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อนำไปร่างในแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ร่วมกับยุทธศาสตร์ด้านอื่นๆ รับนโยบาย Digital Economy ก่อนส่งให้คณะทำงาน Digital Economy พิจารณา
     
       นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี เสนอต่อรัฐบาล และคณะกรรมการ Digital Economy ที่คาดว่าจะจัดตั้งแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อให้เป็นกรอบการทำงานของรัฐบาลที่ต้องการจะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Digital Economy ซึ่งสิ่งที่ไอซีทีจะวางแผนการดำเนินการนั้นจะเป็นภาพกว้างสำหรับการยกระดับการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานและกระตุ้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
     
       ดังนั้น โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศที่อยู่กับรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของไอซีที 2 แห่ง คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ต้องนำส่งให้ไอซีทีเพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ให้ทันภายในปีนี้ด้วย
     
       โดยประเด็นที่จะพิจารณาอันดับแรก คือ การต่อยอดบริการจากโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกที่ทั้ง 2 บริษัท มีร่วมกันมากกว่า 1.1 แสนกิโลเมตร แบ่งออกเป็นของ กสท โทรคมนาคม 80,000 กิโลเมตร และทีโอที 30,000 กิโลเมตร เพื่อมาหารือว่าจะนำไปเชื่อมต่อกับการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกครัวเรือนได้อย่างไร
     
       ทั้งนี้ แผนยุทธศาสตร์ 5 ปีของไอซีทีจะนำมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกมาเป็นฐานข้อมูลเพราะเป็นสิ่งที่ผลักดันให้ Digital Economy มีการเติบโต โดยตั้งเป้าว่าจะต้องมีตัวเลขทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนไทยรวมถึงมูลค่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเติบโตเป็น 2 เท่า ภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ และการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น 80% ควรเป็นการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่า และ 20% เพื่อความบันเทิง
     
       สำหรับตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่กระทรวงจะต้องทำคือ การพัฒนาโครงข่ายไอซีที เพื่อผลักดันการใช้ซอฟต์แวร์ไปสู่ภาคการผลิต เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ครอบคลุมไปถึงกลุ่มเอสเอ็มอี การเกษตร และภาคธุรกิจต่างๆ ให้ก้าวไปพร้อมกันโดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที อาทิ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จะรวบรวมข้อมูลระดับชาติ ทั้งข้อมูลอุตสาหกรรม การเกษตร ฯลฯ เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นเนชั่นแนล ดาต้า เซ็นเตอร์ ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงข้อมูลและดึงไปใช้งานได้

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000134203

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.