Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 พฤศจิกายน 2557 IDC ระบุว่า ในปี 2558 ทั่วโลกจะมีความต้องการบุคลากรไอทีด้านคลาวด์ 7 ล้านตำแหน่ง เฉพาะในเอเชียกว่า 2.3 ล้านตำแหน่ง

ประเด็นหลัก




ขณะที่ผลสำรวจของบริษัทวิจัยไอดีซีระบุว่า ในปี 2558 ทั่วโลกจะมีความต้องการบุคลากรไอทีด้านคลาวด์ 7 ล้านตำแหน่ง เฉพาะในเอเชียกว่า 2.3 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า บุคลากรไอทีด้านบิ๊กดาต้าทั่วโลกมีความต้องการกว่า 4.4 ล้านตำแหน่ง และในเอเชียกว่า 9.6 แสนตำแหน่ง

"เมื่อสำรวจจำนวนบุคลากรด้านไอทีชั้นสูงในเอเชียที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังขาดแคลนอีกกว่าล้านตำแหน่ง"

สอดคล้องกับผลสำรวจของอีเอ็มซี ฟอรั่ม พบว่า 52% ของบริษัทไทยกังวลว่าบุคลากรด้านไอทีที่มีอยู่อาจตามไม่ทันเทคโนโลยี ทั้งโมบาย โซเชียลเน็ตเวิร์ก และบิ๊กดาต้า ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 1-2 ปีนี้



______________________________







เทรนด์เปลี่ยนคนไอทีขาด1ล.อัตรา EMCปั้นไทยเป็นฮับผลิตนักวิเคราะห์ป้อนอาเซียน



"อีเอ็มซี" ชี้เทรนด์ไอทีเปลี่ยน "คน" ตามไม่ทัน ผลวิจัยระบุชัดปีหน้านักไอทีด้านคลาวด์-บิ๊กดาต้าในเอเชียขาดแคลนกว่า 1 ล้านอัตรา วางแผนใช้ไทยเป็นฮับพัฒนาคนของอาเซียน จับมือมหาวิทยาลัยเข้มหลักสูตรนักวิเคราะห์ข้อมูลรองรับดิจิทัลอีโคโนมี

นายนฐกร พจนสัจ ผู้จัดการประจำประเทศไทย อีเอ็มซี อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการโซลูชั่นไอทีระดับโลก เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญในการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลคือจำนวนบุคลากรด้านไอทีที่ต้องมีมาก และต้องสอดคล้องกับเทรนด์เทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามามีอิทธิพล ทั้งโซเชียลเน็ตเวิร์ก บิ๊กดาต้า โมบาย และคลาวด์คอมพิวติ้ง

นายคริสน่า คานต์ หัวหน้าโครงการพันธมิตรการศึกษาอีเอ็มซี ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ รัสเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ บริษัท อีเอ็มซี คอร์ปอร์เรชั่น กล่าวเสริมว่า จากการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของบริษัท ชี้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคแพลตฟอร์มที่ 3 คือยุคของโมบาย บิ๊กดาต้า และโซเชียลมีเดีย ที่ล้วนทำให้เกิดปริมาณข้อมูลอันมหาศาล ทำให้ความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในปี 2563 จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อยจาก 28 ล้านคน ในปัจจุบัน เป็น 36 ล้านคน

ขณะที่ผลสำรวจของบริษัทวิจัยไอดีซีระบุว่า ในปี 2558 ทั่วโลกจะมีความต้องการบุคลากรไอทีด้านคลาวด์ 7 ล้านตำแหน่ง เฉพาะในเอเชียกว่า 2.3 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า บุคลากรไอทีด้านบิ๊กดาต้าทั่วโลกมีความต้องการกว่า 4.4 ล้านตำแหน่ง และในเอเชียกว่า 9.6 แสนตำแหน่ง

"เมื่อสำรวจจำนวนบุคลากรด้านไอทีชั้นสูงในเอเชียที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่ายังขาดแคลนอีกกว่าล้านตำแหน่ง"

สอดคล้องกับผลสำรวจของอีเอ็มซี ฟอรั่ม พบว่า 52% ของบริษัทไทยกังวลว่าบุคลากรด้านไอทีที่มีอยู่อาจตามไม่ทันเทคโนโลยี ทั้งโมบาย โซเชียลเน็ตเวิร์ก และบิ๊กดาต้า ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 1-2 ปีนี้

"อีเอ็มซีเองมองประเทศไทยว่ามีศักยภาพด้านบุคลากรอยู่แล้ว ในอาเซียนมีเพียงสิงคโปร์ที่อาจจะมีต้นทุนพื้นฐานด้านบุคลากรที่ดีกว่า ดังนั้น หากไทยต้องการเป็นฮับในการผลิตบุคลากรด้านไอทีก็ทำได้ แต่ต้องพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์กับเทรนด์

ซึ่งอีเอ็มซีได้วางไทยให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยบริษัทมีแผนเข้ามาสนับสนุนต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อให้นักศึกษาที่จบมาพร้อมทำงานได้ทันที ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรของทั้งอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้แต่ละองค์กรก้าวสู่ไอทียุคใหม่ได้ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 การใช้จ่ายไอทีทั่วโลกจะมีมูลค่ามากถึง 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ"

โดยอีเอ็มซีได้มีโครงการพันธมิตรทางการศึกษาร่วมกับ 8 มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาช่วยส่งเสริมหลักสูตรด้านการจัดการบริหารสตอเรจ คลาวด์เซอร์วิส ล่าสุดจะเปิดหลักสูตรใหม่อย่างนักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Science) และนักวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า (Big Data Analytics) เพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณข้อมูลมหาศาล ส่งผลให้นักวิเคราะห์ข้อมูลกลายเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในธุรกิจด้านธนาคาร โทรคมนาคม โรงพยาบาล

"อีเอ็มซีจะมีบทบาทในการจัดหาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน พร้อมฝึกอบรมให้กับอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ตั้งเป้าว่าในปี 2558 จะฝึกอบรมเรื่องคลาวด์และบิ๊กดาต้าได้ 50 รายให้มีความเชี่ยวชาญเพื่อนำไปถ่ายทอดต่อ รวมถึงจะมีการอบรมทางออนไลน์และเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษาได้เข้าทดสอบหลักสูตร คาดว่าจะมีนักศึกษากว่า 500 คนได้ประโยชน์จากโครงการนี้ ซึ่งภายใน 2 ปีจะขยายความร่วมมือกับ 25 สถาบันการศึกษา"

สำหรับภาพรวมของอีเอ็มซีในไทย คาดว่าจะเติบโตในอัตราตัวเลข 2 หลัก จากกลุ่มธุรกิจคลาวด์ ซอฟต์แวร์ และซีเคียวริตี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1416896610

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.