Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤศจิกายน 2557 ACM SIGGRAPH.สุรพงษ์ ระบุ ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทยผลิตบุคลากรเข้าตลาดได้ราว 2500 คนต่อปี จากกว่า 20 สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านดิจิทัล คอนเทนท์ ทั้งในจำนวนนี้เพียง 50% เท่านั้นที่เข้าสู่ตลาด

ประเด็นหลัก



ขณะที่นายสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ประธานสมาคมแบงคอก เอซีเอ็ม ซิกกราฟ (ACM SIGGRAPH) องค์กรที่สนับสนุนการพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และดิจิทัล คอนเทนท์ในไทย ระบุว่า ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่ทุกตลาดในอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์ประสบ

ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทยผลิตบุคลากรเข้าตลาดได้ราว 2500 คนต่อปี จากกว่า 20 สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านดิจิทัล คอนเทนท์ ทั้งในจำนวนนี้เพียง 50% เท่านั้นที่เข้าสู่ตลาดในสายชีพดังกล่าว ทั้งนี้ไทยยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกที่มีทักษะทำงานระดับโลกได้

แต่อย่างไรก็ตาม นายสุรพงษ์ มองว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทน์ ไม่ว่าจะกลุ่มเกม แอนิเมชั่นหรืออีเลิร์นนิ่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของธุรกิจ แต่ก็ยังมีความเหมือนกันคือ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการเงินทุนสนับสนุนจำนวนหนึ่ง (Seed Fund) ซึ่งไม่จำเป็นต้องสูงมาก แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเสนอไอเดียออกมาเป็นตัวอย่างผลงาน และพิสูจน์ว่าทำได้ ก่อนขอเงินลงทุนหรือดึงต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนผลิตเป็นผลงานจริง






______________________________







เอกชนจี้รัฐปรับนโยบายรับ'ดิจิทัลคอนเทนท์'โต


ทีดีอาร์ไอ ชี้อานิสงส์นโยบายดิจิทัล อีโคโนมี เปิดช่องอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์โตมหาศาล



ทีดีอาร์ไอ ชี้อานิสงส์นโยบายดิจิทัล อีโคโนมี เปิดช่องอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์โตมหาศาล แนะรัฐดูโมเดลสร้างอุตสาหกรรมเกาหลีสำเร็จได้ใน 10 ปี ขณะที่เอกชนจี้รัฐปรับนโยบายจูงใจนักลงทุน ทั้งแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร-ขาดเงินทุน

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า มูลค่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ รวมดิจิทัล คอนเทน์ไทยมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น และคาดว่าจะเพิ่มอีกมหาศาลจากการผลักดันนโยบายดิจิทัล อีโคโนมีของรัฐบาล ซึ่งใช้พื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เศรษฐกิจขยายตัว รวมทั้งการเปิดตลาดทีวี ดิจิทัลที่จะทำให้มูลค่าคอนเทนท์เพิ่มขึ้น

จากผลสำรวจตลาดปี 2556 มูลค่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และบริการด้านซอฟต์แวร์ราว 50,000 ล้านบาท ขณะที่อุตสาหกรรมด้านดิจิทัล คอนเทนท์อีกราว 15,000 ล้านบาท ซึ่งรวมกันแล้วมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 65,000 ล้านบาท

โมบายเกมดาวรุ่ง

ทั้งนี้โดยเฉพาะอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์ ซึ่งมีตลาดแอนิเมชั่น, เกม และอีเลิร์นนิ่งเป็นกลุ่มที่สร้างรายได้หลัก ปีที่ผ่านมา "ตลาดแอนิเมชั่น" มีมูลค่ารวมทั้งผู้ผลิตคอนเทนท์เอง รับจ้างผลิต และแบบที่นำเข้ามาให้บริการในไทยมีมูลค่ารวมกันที่ 4,716.4 ล้านบาท

ขณะที่มูลค่าตลาดเกมราว 4,529.2 ล้านบาท แต่ยังไม่รวมตลาดเกมโมบายจากผู้ผลิตต่างประเทศที่เก็บข้อมูลไม่ได้ และตลาดเกมคอนโซล ทั้งส่วนใหญ่ยังเป็นมูลค่าจากการบริโภคเกม ส่วนการผลิตมีเพียง 588 ล้านบาทเท่านั้น แต่แนวโน้มคาดว่าจะโตสูงมาก เพราะความแพร่หลายของอุปกรณ์พกพาและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกมบนโมบายได้รับความนิยมสูงตามไปด้วย

ส่วนมูลค่าตลาดอีเลิร์นนิ่ง รวมที่ 6,448.1 ล้านบาท และเป็นตลาดสำคัญที่ต้องให้ความสนใจเนื่องจากผู้ผลิตคอนเทนท์ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ แต่มูลค่าดังกล่าวยังไม่สะท้อนการบริโภคจริง เพราะส่วนใหญ่เกิดมาจากการผลักดันนโยบายแทบเล็ตของภาครัฐที่ผ่านมา

"มูลค่า 15,000 ล้านบาทที่ได้ถือเป็นขั้นต่ำ เพราะยังมีหลายส่วนที่เก็บข้อมูลไม่ได้ แต่แนวโน้มก็เห็นชัดว่าเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่จะได้รับประโยชน์จากการผลักดันดิจิทัล อีโคโนมี และยังมีอีกหลายอย่างที่ภาครัฐต้องเร่งสนับสนุนขณะนี้" นายสมเกียรติกล่าว

แนะตัวอย่างโมเดลเกาหลี

โดยแนวทางเบื้องต้นคือดูโมเดลตัวอย่างเกาหลีใต้ที่สร้างอุตสาหกรรมเคป็อปให้เกิดได้ภายใน 10 ปี ซึ่งมีงานหลายอย่างที่ภาครัฐไทยนำมาประยุกต์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และการผลักดันให้เกิดระบบมือถือ 3จี สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย

นอกจากนี้รัฐยังสนับสนุนด้านการตลาด และอุดหนุนการนำคอนเทนท์ไปทำตลาดในต่างประเทศ รวมถึงการดูแลไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับดิจิทัล คอนเทนท์

เบื้องต้นทีดีอาร์ไอคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของตลาดเกมมีแนวโน้มจะไปได้ดีมากที่สุดจากอานิสงส์ของตลาดโมบาย เกมที่ขยายตัวมาก ซึ่งคาดว่าปี 2558จะโตได้ราว 30% จากเดิมโต 26%

ส่วนตลาดแอนิเมชั่นคาดว่าจะโตได้มากกว่า 4% ใกล้เคียงเดิม ด้านตลาดอีเลิร์นนิ่งยังต้องขึ้นอยู่ว่ารัฐบาลจะเบิกจ่ายงบสำหรับการผลักดันตลาดโซลูชั่นด้านการศึกษาได้ในปีหน้าหรือไม่ ซึ่งหากเป็นไปตามแผนก็คาดว่าตลาดอีเลิร์นนิ่งจะโตได้อีกมหาศาล

ทำอินเซนทีฟจูงใจลงทุน

นายปรีชา ไพรภัทรกุล ประธานคณะผู้บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท มอลแอ็คเซสพอร์ทัล จำกัด หรือเอ็มโอแอล กล่าวว่า ภาคเอกชนเคยร่วมเสนอแนะภาครัฐสำหรับหนทางการผลักดันอุตสาหกรรมซึ่งสิ่งที่จำเป็นนอกเหนือจากเงินทุน หรือแหล่งเงินทุนแล้ว รัฐจำเป็นต้องมีนโยบายส่งเสริมด้านภาษี (อินเซนทีฟ) ให้แก่ผู้ประกอบการหรือนักลงทุนเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในไทย

ทั้งนี้เพราะที่ผ่านมาแม้แต่คนไทยเองก็เลือกที่จะไปเปิดบริษัทในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์แทนเพื่อทำงานร่วมกับต่างชาติ เพราะข้อจำกัดด้านกฎหมายและการส่งเสริมการลงทุนของไทยทำให้ตัวเลขรายได้กลายเป็นออกนอกประเทศ

รวมถึงการสร้างการรับรู้ใหม่ให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะการทำให้เกิดบริษัทใหม่ๆ เช่น สตาร์ทอัพ ที่มักเข้าใจว่าต้องมีเงินลงทุนจำนวนมากๆ ก่อน หากสิ่งที่จำเป็นกว่าคือ บริษัทจะเกิดได้ต้องเริ่มจากไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ส่วนเทคโนโลยีสามารถซื้อหรือลงทุนตามหลังได้

โดยมุมมองของบริษัทในอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์พบว่า หากไม่นับสิงคโปร์ที่เหนือในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ปัจจุบัน"อินโดนีเซีย" และ "เวียดนาม" มีสตาร์ทอัพที่นักลงทุนสนใจเข้าไปลงทุนอยู่มากแซงหน้าไทย เพราะคนเริ่มธุรกิจจากไอเดียที่น่าสนใจมากกว่า

ขณะที่นายสุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย ประธานสมาคมแบงคอก เอซีเอ็ม ซิกกราฟ (ACM SIGGRAPH) องค์กรที่สนับสนุนการพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิก และดิจิทัล คอนเทนท์ในไทย ระบุว่า ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่ทุกตลาดในอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทนท์ประสบ

ปัจจุบันสถาบันการศึกษาในไทยผลิตบุคลากรเข้าตลาดได้ราว 2500 คนต่อปี จากกว่า 20 สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านดิจิทัล คอนเทนท์ ทั้งในจำนวนนี้เพียง 50% เท่านั้นที่เข้าสู่ตลาดในสายชีพดังกล่าว ทั้งนี้ไทยยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ กราฟฟิกที่มีทักษะทำงานระดับโลกได้

แต่อย่างไรก็ตาม นายสุรพงษ์ มองว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมดิจิทัล คอนเทน์ ไม่ว่าจะกลุ่มเกม แอนิเมชั่นหรืออีเลิร์นนิ่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของธุรกิจ แต่ก็ยังมีความเหมือนกันคือ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการเงินทุนสนับสนุนจำนวนหนึ่ง (Seed Fund) ซึ่งไม่จำเป็นต้องสูงมาก แต่เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเสนอไอเดียออกมาเป็นตัวอย่างผลงาน และพิสูจน์ว่าทำได้ ก่อนขอเงินลงทุนหรือดึงต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนผลิตเป็นผลงานจริง

รอรัฐปรับนโยบาย

นางสุวิมล เทวะศิลชัยกุล รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือซิป้า กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐมีข้อจำกัดทางกฎหมายค่อนข้างมาก ซึ่งนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี จะมาช่วยแก้ไขอุปสรรคดังกล่าว รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะสร้างกองทุนสนับสนุนผู้ประกอบการที่กำลังร่วมกันผลักดัน

เบื้องต้นเอกชนร่วมกันเสนอว่ากองทุนเริ่มต้นน่าจะมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งประเมินจากการลงทุนสร้างภาพยนตร์ทั่วไปเริ่มต้นที่ 50 ล้านบาท ขณะที่ทีวี ซีรีส์ มีต้นทุนราว 15-50 ล้านบาท และคาดว่าจะช่วยเพิ่มจำนวนได้


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20141126/619837/เอกชนจี้รัฐปรับนโยบายรับดิจิทัลคอนเทนท์โต.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.