Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 พฤศจิกายน 2557 TDRI.สมเกียรติ ระบุ นโยบาย Digital Economy ของรัฐบาลเป็นแนวคิดที่ดีมากถ้าเกิดขึ้นได้จริง แต่ต้องไม่เป็นนโยบายเพื่ออุ้มรัฐวิสาหกิจรายใดรายหนึ่ง ไม่เช่นนั้นจะทำให้นโยบายดังกล่าวเดินผิดทา

ประเด็นหลัก



       นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า นโยบาย Digital Economy ของรัฐบาลเป็นแนวคิดที่ดีมากถ้าเกิดขึ้นได้จริง แต่ต้องไม่เป็นนโยบายเพื่ออุ้มรัฐวิสาหกิจรายใดรายหนึ่ง ไม่เช่นนั้นจะทำให้นโยบายดังกล่าวเดินผิดทาง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ควรมีแนวทางในการหาผู้ถือหุ้นที่มีศักยภาพเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน เพราะท้ายที่สุดแล้ว รัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ตลอดไป หากเกิดการเปลี่ยนรัฐบาล มีการเปลี่ยนกรรมการบริหารตามนโยบายการเมืองใหม่อีก ทีโอที และกสท โทรคมนาคม ก็ยังคงพบกับปัญหาเดิมๆ
     
       “หรือถ้าจะแก้ปัญหาด้วยการรวมทีโอทีกับ กสท โทรคมนาคม เข้าด้วยกัน มันคือการนำจุดอ่อนมาอยู่ด้วยกันจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี ไหนจะเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกันอีก ที่สำคัญคือ บอร์ดของทั้ง 2 องค์กรนี้มักเปลี่ยนไปตามพรรคการเมืองอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ต้องหาผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีศักยภาพเข้ามา แต่ต้องถือหุ้นไม่เกินที่กฎหมายกำหนด”
   

______________________________







“สมเกียรติ” ชี้นโยบาย Digital Economy ต้องไม่อุ้มใคร



นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

        ประธานทีดีอาร์ไอ เตือนนโยบาย Digital Economy อย่าหลงทาง เผยไม่ควรอุ้มรัฐวิสาหกิจรายใดรายหนึ่งเท่านั้น หวั่นเปลี่ยนรัฐบาล ปัญหาวนกลับมาที่เดิม แนะทีโอที-กสท โทรคมนาคม หาผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ส่วน กสทช.อยู่ที่ไหนไม่สำคัญเท่ากับความโปร่งใส ชี้แจงได้ ด้านเลขาธิการ กสทช. จัดทำโรดแมปโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม หนุน Digital Economy เสนอไอซีทีพิจารณา
     
       นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า นโยบาย Digital Economy ของรัฐบาลเป็นแนวคิดที่ดีมากถ้าเกิดขึ้นได้จริง แต่ต้องไม่เป็นนโยบายเพื่ออุ้มรัฐวิสาหกิจรายใดรายหนึ่ง ไม่เช่นนั้นจะทำให้นโยบายดังกล่าวเดินผิดทาง ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ควรมีแนวทางในการหาผู้ถือหุ้นที่มีศักยภาพเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน เพราะท้ายที่สุดแล้ว รัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ตลอดไป หากเกิดการเปลี่ยนรัฐบาล มีการเปลี่ยนกรรมการบริหารตามนโยบายการเมืองใหม่อีก ทีโอที และกสท โทรคมนาคม ก็ยังคงพบกับปัญหาเดิมๆ
     
       “หรือถ้าจะแก้ปัญหาด้วยการรวมทีโอทีกับ กสท โทรคมนาคม เข้าด้วยกัน มันคือการนำจุดอ่อนมาอยู่ด้วยกันจึงไม่ใช่ทางออกที่ดี ไหนจะเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกันอีก ที่สำคัญคือ บอร์ดของทั้ง 2 องค์กรนี้มักเปลี่ยนไปตามพรรคการเมืองอยู่เรื่อยๆ ดังนั้น ต้องหาผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีศักยภาพเข้ามา แต่ต้องถือหุ้นไม่เกินที่กฎหมายกำหนด”
     
       ส่วนเรื่องประเด็นของสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ควรอยู่ในสังกัดกระทรวงไอซีทีด้วยหรือไม่นั้น ตนเองมีความเห็นว่าไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะไม่ว่า กสทช. จะอยู่ที่ไหนก็มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องได้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญของ กสทช.คือ ต้องปรับปรุง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช.ให้เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ง่าย มีความรับผิดชอบต่อผลงาน หากผู้บริโภคเดือดร้อนต้องช่วยได้
     
       “กสทช.ต้องตีความเรื่องความเป็นองค์กรอิสระเสียใหม่ ความอิสระไม่ใช่อิสระจากการเมืองอย่างที่เข้าใจ แต่ต้องเป็นอิสระจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ ต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า กสทช.อิสระจากผลประโยชน์จริงๆ ดังนั้น หาก กสทช.มีคุณสมบัติตรงนี้การจะอยู่ตรงไหน ภายใต้หน่วยงานใด หรือจะอยู่แบบเดิมต่อไป ก็อยู่ได้ ไม่มีปัญหา”
     
       อย่างไรก็ตาม ตนเองเห็นด้วยที่จะปรับปรุง พ.ร.บ.กสทช. ในเรื่องการยุบรวมกรรมการจาก 2 ชุด คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้เหลือชุดเดียว รวมถึงเรื่องงบประมาณควรนำเข้าอนุมัติผ่านสภาก่อนนำมาใช้ ขณะที่เรื่องดูงานต่างประเทศ ตนเองเคยเสนอ กสทช.ไปแล้วว่า ควรเขียนรายงานด้วยทุกครั้งหลังจากกลับมาจากดูงาน แต่ก็ไม่มีใครฟัง นี่ยังไม่รวมการออกบทเฉพาะกาลในเรื่องต่างๆ ที่ไม่สมควรออกมาภายหลังอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ตนเองในฐานะหนึ่งในผู้ร่าง พ.ร.บ.กสทช.ฉบับปัจจุบันยอมรับว่ามีจุดอ่อน ทำให้กฎหมายถูกตีความไปหลายอย่าง
     
       ***กสทช.กางโรดแมป หนุน Digital Economy
     
       ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าเป็นคณะทำงานร่วมกับไอซีที โดยมีปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นประธานในเรื่องการแก้ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อน ระหว่างกระทรวงไอซีที และ กสทช.นั้น ล่าสุด กสทช.ได้จัดทำแผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม เสนอให้กระทรวงไอซีทีพิจารณานำไปเป็นข้อมูลในการทำนโยบาย Digital Economy แล้ว
     
       “ตรงนี้เป็นสิ่งที่ กสทช.เคยเสนอให้กระทรวงไอซีทีนำเงินจากกองทุน USO ที่มีจำนวน 21,000 ล้านบาท ไปรวมกับงบ 3,700 ล้านบาท หรืองบแท็บเล็ตเดิมที่เหลืออยู่ไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมตามโรงพยาบาล สถานศึกษา ซึ่งกระทรวงสามารถทำได้ทันที”
     
       สำหรับรายละเอียดของแผนงานที่เสนอไอซีทีนั้น มีด้วยกัน 4 ด้าน คือ 1.การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารทั้งไร้สายและมีสาย ไม่ว่าจะเป็น 4G การเพิ่มการเข้าถึงฟรีไวไฟ ตลอดจนส่งเสริมการขยายไฟเบอร์ออปติก 2.ต้องจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อบริหารจัดการ และกำหนดการเชื่อมโยงโครงข่ายดังกล่าวที่มีกระจายอยู่ในหลายหน่วยงานรัฐเช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้ทำงานร่วมกันง่ายขึ้น 3.ต้องสร้างองค์ความรู้เรื่องไอทีให้ประชาชนใช้งานได้ และ 4.ต้องสร้างระบบความปลอดภัยในการใช้งานระบบดิจิตอลด้วย



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000137455

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.