Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 ธันวาคม 2557 (บทความ) กดปุ่ม Fog Computing "ซิสโก้" ยุคอินเทอร์เน็ต 4.0 // ประชากรทั่วโลกในปี 2558 จะมี 7.2 พันล้านคน แต่จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว่า 2.5 หมื่นล้านชิ้น อีก 5 ปีต่อมาจะมีทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านชิ้นกับประชากร 7.6 พันล้านคน

ประเด็นหลัก


โดยกลุ่มเซิร์ฟเวอร์มีการตั้งตัวแทนผลิตสินค้าที่ชลบุรี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว เพื่อผลิตสินค้าระดับไฮเอนด์ตอบโจทย์ผู้ใช้ในประเทศไทยและระดับโลก ทำให้องค์กรขนาดใหญ่ เช่น โรงงาน, ธนาคาร และโทรคมนาคม เลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัท จนมีส่วนแบ่งอยู่ใน 2 อันดับแรกของแต่ละตลาด และในปี 2558 จะเข้าสู่ยุค 4.0 เป็นยุคที่ทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือเรียกว่า Internet of Everything (IOE)

"ประชากรทั่วโลกในปี 2558 จะมี 7.2 พันล้านคน แต่จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว่า 2.5 หมื่นล้านชิ้น อีก 5 ปีต่อมาจะมีทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านชิ้นกับประชากร 7.6 พันล้านคน เติบโตเร็วมาก และความจำเป็นในการบริหารข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้บริษัทคิดค้น ระบบ Fog Computing ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อและประมวลผลข้อมูลที่เหนือกว่า Cloud Computing เพราะยิ่งวิเคราะห์ข้อมูลได้เร็วมากขึ้นเท่าไร โอกาสก็จะมีมากขึ้น บริการนี้จะเริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเช่นกัน"



______________________________







กดปุ่ม Fog Computing "ซิสโก้" ยุคอินเทอร์เน็ต 4.0



เข้ามาทำธุรกิจในไทยตั้งแต่อินเทอร์เน็ตเพิ่งตั้งไข่สำหรับ "ซิสโก้" ยักษ์ด้านเน็ตเวิร์กจากสหรัฐอเมริกา ถึงปีนี้ครบ20 ปีพอดี "วัตสัน ถิรภัทรพงศ์" กรรมการผู้จัดการ ประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ย้อนความหลังว่า ซิสโก้เข้ามาทำธุรกิจในไทยตั้งแต่เริ่มต้นยุคอินเทอร์เน็ต 1.0 ที่เชื่อมต่อผ่านโมเด็มความเร็ว 24 Kbps ช้ากว่าทุกวันนี้หลายเท่า ส่งข้อมูลได้แค่ตัวหนังสือ และมีการใช้งานเพื่อการศึกษาและธุรกิจเท่านั้น

การขยายโครงข่ายเพื่อเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของ "ซิสโก้" จึงร่วมมือกับ บมจ.อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (ไอเน็ต) เพื่อสร้างบริการอินเทอร์เน็ตครั้งแรก

"อินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องใหม่มาก เราอาศัยประสบการณ์ที่เปิดมาก่อน 10 ปี ร่วมวางโครงข่าย และระบบกับไอเน็ต ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของไทย และช่วยให้ผู้บริโภค, องค์กรเอกชน และภาครัฐเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ผ่านข้อมูลบนโลกออนไลน์ให้ประชาชน ถัดมาเป็นยุคอินเทอร์เน็ต 2.0 ที่มีการเชื่อมต่อ 2 ทาง ซิสโก้ยังเป็นหนึ่งในเครื่องมือผลักดันการใช้อินเทอร์เน็ตในไทยมาโดยตลอด"

ช่วงอินเทอร์เน็ต 2.0 "ซิสโก้" ไม่ได้ให้บริการแค่โครงข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ก้าวไปสู่การเปิดบริการ VoIP หรือโทรศัพท์บนอินเทอร์เน็ตร่วมกับ บมจ.ทีโอที (ปี 2544)ถือเป็นรายแรกในอาเซียน

ส่วนยุคปัจจุบันที่มีบรอดแบนด์ความเร็วสูง หรืออินเทอร์เน็ต 3.0 บริษัทได้ขยายโมเดลธุรกิจก้าวไปสู่ผู้ให้บริการไอทีเต็มรูปแบบ เพิ่มสินค้ากลุ่มเซิร์ฟเวอร์ และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) เข้ามาเสริมศักยภาพในการทำธุรกิจ

โดยกลุ่มเซิร์ฟเวอร์มีการตั้งตัวแทนผลิตสินค้าที่ชลบุรี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว เพื่อผลิตสินค้าระดับไฮเอนด์ตอบโจทย์ผู้ใช้ในประเทศไทยและระดับโลก ทำให้องค์กรขนาดใหญ่ เช่น โรงงาน, ธนาคาร และโทรคมนาคม เลือกใช้สินค้าและบริการของบริษัท จนมีส่วนแบ่งอยู่ใน 2 อันดับแรกของแต่ละตลาด และในปี 2558 จะเข้าสู่ยุค 4.0 เป็นยุคที่ทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือเรียกว่า Internet of Everything (IOE)

"ประชากรทั่วโลกในปี 2558 จะมี 7.2 พันล้านคน แต่จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้กว่า 2.5 หมื่นล้านชิ้น อีก 5 ปีต่อมาจะมีทั้งสิ้น 5 หมื่นล้านชิ้นกับประชากร 7.6 พันล้านคน เติบโตเร็วมาก และความจำเป็นในการบริหารข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำให้บริษัทคิดค้น ระบบ Fog Computing ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อและประมวลผลข้อมูลที่เหนือกว่า Cloud Computing เพราะยิ่งวิเคราะห์ข้อมูลได้เร็วมากขึ้นเท่าไร โอกาสก็จะมีมากขึ้น บริการนี้จะเริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเช่นกัน"

การใช้ Fog Computing จะช่วยผลักดันให้เกิดสมาร์ทซิตี้ที่ทุก ๆ อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สั่งการได้อย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลไทย ทำให้การทำตลาดในปีหน้าจะมุ่งเรื่องนี้ พร้อมกับผลักดันแนวคิดเกี่ยวกับ IOE ในต่างประเทศที่ทำสำเร็จมาก่อนหน้านี้

"จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ซิสโก้จะเข้าไปมีบทบาทเรื่องฮาร์ดและซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์ คือ เซอร์วิสอินฟราสตรักเจอร์, นวัตกรรมต่าง ๆ และบริการเพื่อสังคม เพราะมีสินค้าและบริการค่อนข้างครบ ส่วนเรื่องสมาร์ทซิตี้แกนหลักคือ IOE จากนั้นจึงประยุกต์ไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้ เช่น ให้เอสเอ็มอีนำข้อมูลจากบริษัทใหญ่ มาวิเคราะห์การตลาด และออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกไปจำหน่ายได้"

นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้อุตสาหกรรมไอทีเติบโตขึ้นได้อีกครั้ง หลังชะลอตัวมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจากหลายปัจจัย คาดว่าการลงทุนที่จะเกิดขึ้นมากที่สุดในปีหน้า คือ บริการคลาวด์ และการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) เนื่องจากจะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ามาเชื่อมอินเทอร์เน็ต และสร้างข้อมูลมหาศาลขึ้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1417107898

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.