Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557 BlackBerry เปิดตัวระบบที่ได้ชื่อว่าเป็นระบบเรียกดูข้อมูลจีโนมมะเร็งหรือ “แคนเซอร์ จีโนม เบราว์เซอร์ (cancer genome browser)” ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอตัดสินใจในการรักษาได้เร็วกว่าเดิม




ประเด็นหลัก


       รายงานระบุว่า ระบบแคนเซอร์จีโนมเบราว์เซอร์ จะทำให้คุณหมอสามารถใช้บีบีรุ่นล่าสุด “แบล็กเบอรี่ พาสปอร์ต (BlackBerry Passport)” เป็นหน้าจอในการเรียกดูข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา แถมเป็นการแสดงข้อมูลในรูปแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอตัดสินใจในการรักษาได้เร็วกว่าเดิม
     
       ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จอห์น เฉิน (John Chen) ซีอีโอแบล็กเบอรี่ ตัดสินใจซื้อหุ้นบางส่วนในบริษัทแนนต์เฮลธ์ บนความหวังว่าจะขยายธุรกิจไปยังตลาดบริการเพื่อสุขภาพแบบเฉพาะกลุ่มหรือ “เฮลธ์แคร์ นิช (healthcare niche)” ดังนั้น การเปิดตัวแคนเซอร์จีโนมเบราว์เซอร์ จึงเป็นหนึ่งในบันไดที่บีบีลงมือดำเนินการเพื่อดึงแพทย์ หรือมืออาชีพด้านสุขภาพให้สนใจบีบีรุ่นล่าสุดอย่างแบล็กเบอรี่พาสปอร์ตยิ่งขึ้น



        สำหรับบีบีรุ่นใหม่นี้ แบล็กเบอรี่ มีความเชื่อมั่นว่าหน้าจอขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสในสัดส่วน 1 ต่อ 1 นั้นสามารถใช้เปิดชมภาพเอกซเรย์ หรือฟิลม์ผลสแกนต่างๆ ได้ดีกว่าสัดส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขณะเดียวกัน ขนาดและรูปทรงของแบล็กเบอรี่พาสปอร์ต ยังช่วยให้การแสดงข้อมูลสุดละเอียดทางการแพทย์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์







______________________________







BlackBerry คลอดระบบเรียกดูข้อมูลเพื่อหมอรักษามะเร็ง



แบล็กเบอรี่มีความเชื่อมั่นว่าหน้าจอขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสในสัดส่วน 1 ต่อ 1 นั้นสามารถใช้เปิดชมภาพเอ็กซ์เรย์หรือฟิลม์ผลสแกนต่างๆได้ดีกว่าสัดส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้า

        เจ้าพ่อบีบี “แบล็กเบอรี่ (BlackBerry)” จับมือพันธมิตรผู้ให้บริการระบบไอทีเพื่อสุขภาพอย่าง “แนนต์เฮลธ์ (NantHealth)” เปิดตัวระบบที่ได้ชื่อว่าเป็นระบบเรียกดูข้อมูลจีโนมมะเร็งหรือ “แคนเซอร์ จีโนม เบราว์เซอร์ (cancer genome browser)” เพื่อให้คุณหมอสามารถเรียกดูข้อมูลด้านพันธุกรรมของผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ทุกที่ทุกเวลาบนสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ของแบล็กเบอรี่ได้แบบสุดปลอดภัย เชื่อความรวดเร็ว และสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลจะเป็นผลดีต่อการรักษายิ่งขึ้น
     
       รายงานระบุว่า ระบบแคนเซอร์จีโนมเบราว์เซอร์ จะทำให้คุณหมอสามารถใช้บีบีรุ่นล่าสุด “แบล็กเบอรี่ พาสปอร์ต (BlackBerry Passport)” เป็นหน้าจอในการเรียกดูข้อมูลทางพันธุกรรมของผู้ป่วยได้ตลอดเวลา แถมเป็นการแสดงข้อมูลในรูปแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ ซึ่งจะช่วยให้คุณหมอตัดสินใจในการรักษาได้เร็วกว่าเดิม
     
       ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมา จอห์น เฉิน (John Chen) ซีอีโอแบล็กเบอรี่ ตัดสินใจซื้อหุ้นบางส่วนในบริษัทแนนต์เฮลธ์ บนความหวังว่าจะขยายธุรกิจไปยังตลาดบริการเพื่อสุขภาพแบบเฉพาะกลุ่มหรือ “เฮลธ์แคร์ นิช (healthcare niche)” ดังนั้น การเปิดตัวแคนเซอร์จีโนมเบราว์เซอร์ จึงเป็นหนึ่งในบันไดที่บีบีลงมือดำเนินการเพื่อดึงแพทย์ หรือมืออาชีพด้านสุขภาพให้สนใจบีบีรุ่นล่าสุดอย่างแบล็กเบอรี่พาสปอร์ตยิ่งขึ้น



        สำหรับบีบีรุ่นใหม่นี้ แบล็กเบอรี่ มีความเชื่อมั่นว่าหน้าจอขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัสในสัดส่วน 1 ต่อ 1 นั้นสามารถใช้เปิดชมภาพเอกซเรย์ หรือฟิลม์ผลสแกนต่างๆ ได้ดีกว่าสัดส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขณะเดียวกัน ขนาดและรูปทรงของแบล็กเบอรี่พาสปอร์ต ยังช่วยให้การแสดงข้อมูลสุดละเอียดทางการแพทย์เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์
     
       ทั้งหมดนี้ แพทริก ซุน-เชียง (Patrick Soon-Shiong) ซีอีโอแนนต์เฮลธ์ให้ความเห็นว่า ความร่วมมือครั้งนี้กับแบล็กเบอรี่ ทำให้เกิดเป็นเครื่องมือทรงพลังเหมือนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในมือแพทย์ คาดว่าจะโดนใจบุคลากรทางการแพทย์ทั่วโลกในอนาคต

BlackBerry คลอดระบบเรียกดูข้อมูลเพื่อหมอรักษามะเร็ง
BlackBerry Passport มาพร้อมหน้าจอ 4.5 นิ้วทรงจัตุรัส ใช้ระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS 10.3

        สำหรับเบราว์เซอร์ หรือระบบเรียกดูข้อมูลจีโนมมะเร็งที่ได้ชื่อว่าเป็นระบบแรกของโลกนี้จะถูกสาธิตอย่างเป็นทางการในงานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ “คอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์โชว์ (Consumer Electronics Show : CES)” ที่มีกำหนดจัดที่ลาสเวกัส ในเดือนมกราคมนนี้ เบื้องต้นคาดว่าเบราว์เซอร์จะถูกติดตั้ง หรือพรีโหลดบนแบล็กเบอรี่พาสปอร์ตสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ช่วงต้นปี 2015
     
       นอกจากบีบี แบล็กเบอรี่มีแผนให้บริการระบบเบราว์เซอร์นี้บนสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ยี่ห้ออื่นในอนาคต แต่จะเป็นการให้บริการ และรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายของแบล็กเบอรี่


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000141253

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.