Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557 IBM ชวนสู้ภัยอีโบลา โดยจับมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Scripps Research Institute ในแคลิฟอร์เนีย



ประเด็นหลัก


        “ไอบีเอ็ม” ชวนสู้ภัยอีโบลา โดยจับมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Scripps Research Institute ในแคลิฟอร์เนีย ตั้งโครงการรวมพลังคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต สละเวลาโปรเซสซิ่งไทม์ของเครื่องมาช่วยไขปัญหาให้นักวิทย์ที่ต่อสู้กับเชื้อโรคดังกล่าว
     
       ไอเดียนี้ไม่ใช่ของใหม่ เพราะได้เคยมีสถาบันวิจัยหลายแห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยใช้วิธีการขอแชร์พลังการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะไม่ใช้งานไปใช้เพื่อการประมวลผลปัญหาขนาดใหญ่มาแล้ว โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ได้ที่ www.worldcommunitygrid.org สามารถรันได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แมค และแอนดรอยด์ แต่ไม่รองรับกับไอโฟน หรือไอแพด ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะขอแบ่งพลังการประมวลผลของเครื่องเฉพาะในยามที่เครื่องนั้นไม่ได้ใช้งาน และยังมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าในระหว่างที่เจ้าของเครื่องใช้ทำงาน ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำให้เครื่องทำงานช้าลง
   


______________________________







IBM เปิดโครงการขอใช้คอมพ์สู้ภัยอีโบลา



        “ไอบีเอ็ม” ชวนสู้ภัยอีโบลา โดยจับมือกับทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Scripps Research Institute ในแคลิฟอร์เนีย ตั้งโครงการรวมพลังคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต สละเวลาโปรเซสซิ่งไทม์ของเครื่องมาช่วยไขปัญหาให้นักวิทย์ที่ต่อสู้กับเชื้อโรคดังกล่าว
     
       ไอเดียนี้ไม่ใช่ของใหม่ เพราะได้เคยมีสถาบันวิจัยหลายแห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยใช้วิธีการขอแชร์พลังการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะไม่ใช้งานไปใช้เพื่อการประมวลผลปัญหาขนาดใหญ่มาแล้ว โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ได้ที่ www.worldcommunitygrid.org สามารถรันได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แมค และแอนดรอยด์ แต่ไม่รองรับกับไอโฟน หรือไอแพด ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะขอแบ่งพลังการประมวลผลของเครื่องเฉพาะในยามที่เครื่องนั้นไม่ได้ใช้งาน และยังมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ ดังนั้น จึงไม่ต้องกังวลว่าในระหว่างที่เจ้าของเครื่องใช้ทำงาน ซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะทำให้เครื่องทำงานช้าลง
     
       ทั้งนี้ ระบบใหญ่ที่ศูนย์กลางจะย่อยสิ่งที่ต้องการประมวลผลออกเป็นงานย่อยๆ หลายพันชิ้น จากนั้นจะส่งงานชิ้นเล็กๆ เหล่านั้นไปยังคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งซอฟต์แวร์ให้ช่วยประมวลผลให้ แล้วส่งผลลัพธ์กลับมาที่ระบบใหญ่ โดยอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับรายงานความคืบหน้าของแต่ละโปรเจกต์ตลอด
     
       Erica Ollmann Saphire นักวิจัยจาก Scripps กล่าวว่า “การช่วยเหลือครั้งนี้อาจทำให้เราสามารถทำได้สำเร็จภายในหนึ่งเดือนแทนที่จะใช้เวลาเป็นปี”
     
       Saphire เผยด้วยว่า โครงการกริดคอมพิวติ้งจะช่วยสู้กับปัญหาอีโบลาได้ 2 ประการ หนึ่ง คือเธอได้ทำการระบุช่องโหว่ในโมเลกุลของอีโบลาได้ แต่ต้องการตัวช่วยในการวิเคราะห์แนวทางในการทำลายไวรัสที่ช่องโหว่ดังกล่าว แต่ประสบปัญหาด้านเงินทุนที่ไม่เพียงพอ เธอจึงต้องใช้เว็บไซต์ประเภท Crowd-funding ในการระดมทุนเพื่อมาจ่ายค่าห้องปฏิบัติการ และเงินเดือนของนักวิจัย
     
       สำหรับไอบีเอ็ม (IBM) ถือได้ว่าเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการไอทีอีกรายที่ร่วมต่อสู้กับเชื้ออีโบลา หลังจากก่อนหน้านี้ ซีอีโอเฟซบุ๊ก (Facebook) อย่างมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก ได้บริจาคเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยสนับสนุนมาแล้ว


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000140183

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.