Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 ธันวาคม 2557 Microsoft.ญาณธน ระบุ ราว 18-19 ล้านเครื่อง 60% จะอยู่ในกลุ่มตลาดที่ระดับราคาต่ำกว่า 4,500 บาท ดังนั้น จึงเลือกที่จะนำ Lumia 535 Dual Sim เข้ามาทำตลาดก่อน





ประเด็นหลัก


  ***ประเดิมตลาดกำลังซื้อสูง
     
       เหตุผลหลักที่ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ เลือกนำ Lumia 535 Dual Sim เข้ามาเป็นรุ่นแรกเพื่อประเดิมตลาดภายใต้แบรนด์ใหม่อย่างเป็นทางการเนื่อง จากมองว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในช่วงระดับราคาที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในตลาดสมาร์ทโฟน
     
       นายญาณธน กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากจีเอฟเคระบุว่าในปีนี้ตลาดรวมโทรศัพท์มือถือจะอยู่ที่ราว 18-19 ล้านเครื่อง ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่อยู่ราว 19-20 ล้านเครื่อง แต่ในส่วนของมูลค่าจะสูงขึ้นแม้ว่าปริมาณเครื่องจะลดลง ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 60% จะอยู่ในกลุ่มตลาดที่ระดับราคาต่ำกว่า 4,500 บาท ดังนั้น จึงเลือกที่จะนำ Lumia รุ่นนี้เข้ามาทำตลาดก่อน
     
       ขณะเดียวกัน ในช่วงปีหน้าทางไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ก็เตรียมพร้อมที่จะนำผลิตภัณฑ์ Lumia รุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดให้ครอบคลุมทุกช่วงระดับราคา เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในทุกกลุ่มอย่างแน่นอน
     
       อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดฟีเจอร์โฟน ทางไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ยังจะใช้แบรนด์ โนเกีย ในการทำตลาดต่อไป และคาดว่าในปีหน้าสัดส่วนการจำหน่ายระหว่างโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตจะขึ้นมาอยู่ที่ราว 80% ต่อ 20% หลังจากเริ่มเข้าไปช่วยขยายตลาดเซอร์เฟสมากขึ้น
     
       สิ่ง ที่ต้องจับตาดูกันต่อไปในปี 2015 คงหนีไม่พ้นการกลับมาเป็น 3 ก๊กอย่างเต็มตัว จากไมโครซอฟท์ กูเกิล และแอปเปิล ที่เข็น 3 ระบบปฏิบัติการออกมาสู้กันในตลาด อย่างวินโดวส์ แอนดรอยด์ และไอโอเอส อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการแข่งขันคงหนีไม่พ้นผู้บริโภคแน่นอน











______________________________







ก้าวข้ามความต่าง ผสานวัฒนธรรม “ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์”


        “การควบรวมกิจการระหว่างไมโครซอฟท์ และไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ในประเทศไทยตอนนี้สมบูรณ์แล้ว 100% ในแง่ของการทำงาน เพียงแต่จะมีในเรื่องของการย้ายสำนักงานไปรวมกัน และทยอยปรับเปลี่ยนแบรนด์ตามร้านตัวแทนจำหน่ายที่จะแล้วเสร็จภายในไตรมาส แรกปี 2558”
     
       นายญาณธน สิมะวานิชกุล กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ประเทศไทย กล่าวถึงความคืบหน้าในการรวมกิจการระหว่าง บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด ที่เปลี่ยนเป็น ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ประเทศไทย ที่จะเข้ามาดูแลกิจการในส่วนของอุปกรณ์พกพา รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แท็บเล็ตของแบรนด์ไมโครซอฟท์อย่าง Surface ด้วย
     
       “ถ้านับกันตามจริงแล้วตอนนี้บริษัทยังใช้ชื่อเป็นโนเกีย (ประเทศไทย) อยู่ เพราะต้องรอหมดปีปฏิทิน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มใช้เป็นไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ อย่างเป็นทางการ แต่ในมุมของการสื่อสารการตลาดไปยังผู้บริโภคจะใช้รวมกันภายใต้แบรนด์ไมโครซอฟท์ เท่านั้น”
     
       ดังนั้น การรีแบรนด์จึงได้เริ่มขึ้น ทั้งจากโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่ก่อนหน้านี้จะสื่อสารว่าเป็นสมาร์ทโฟน Lumia by Microsoft หลังจากนี้ก็จะใช้ชื่อตามตรงได้แล้วว่าเป็น Microsoft Lumia และด้วยแบรนด์ของไมโครซอฟท์ที่แข็งแกร่งอยู่แล้วในตลาด จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะแทรกเข้าไปในใจของผู้บริโภค โดยใช้ Lumia เป็นจุดในการเชื่อมต่อ 2 แบรนด์เข้าด้วยกัน
     
       “ปีหน้าถือว่าจะเป็นปีที่ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ก้าวขึ้นมาท้าชิงในตลาดสมาร์ทโฟนอย่างแน่นอน ด้วยการทำให้ผู้บริโภครับรู้ว่ามีสมาร์ทโฟนที่ดี ที่สำคัญคือ เป็นแพลตฟอร์มที่มีอีโคซิสเตมส์ครบ ตอบโจทย์การใช้งานในทุกรูปแบบ”
     
       สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากมีการเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ระบุแบรนด์ว่าเป็น ไมโครซอฟท์ ภายใต้รุ่น Lumia 535 ถือเป็นก้าวแรก และก้าวสำคัญของไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ประเทศไทย ที่จำเป็นต้องสื่อสารไปยังกลุ่มผู้บริโภคให้รับรู้ว่า โนเกียได้กลายเป็นไมโครซอฟท์แล้วอย่างเต็มตัว พร้อมกับการเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้หันกลับมาสนใจ เพื่อที่จะกลายมาเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดต่อไป
     
       ภารกิจหลักของ ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ นับจากนี้ไปคือ การทำงานร่วมกันกับไมโครซอฟท์ ที่แต่เดิมจะมีส่วนที่ดูแลกลุ่มผลิตภัณฑ์วินโดวส์ และเซอร์เฟส อยู่แล้ว เพื่อให้เข้าไปใช้ความสามารถของ ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ที่มีจุดแข็งในเรื่องของช่องทางการจำหน่ายที่ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ กับความรู้ในแง่บริการบนแพลตฟอร์ม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นส่วนที่สำคัญให้ผู้บริโภคเข้าถึง
     
       “ทั้ง 2 องค์กรจะมีรูปแบบวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเกิดการรวมตัวกันของ 2 วัฒนธรรมเข้ามา ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับซึ่งกันและกันก็จะสามารถก้าวข้ามไปได้อย่างแน่นอน”

ก้าวข้ามความต่าง ผสานวัฒนธรรม “ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์”

        ***Lumia ผสานบริการ ไมโครซอฟท์
     
       แน่นอนว่าจากเดิม ผลิตภัณฑ์ Lumia จะพยายามชูความโดดเด่นในแง่ของบริการที่แตกต่างจากวินโดวส์โฟนทั่วๆ ไป อย่างการมีระบบบริการแผนที่อย่าง Here Maps เข้ามาให้ลูกค้าได้ใช้ รวมกับฟังก์ชันกล้องที่มีฟีเจอร์ที่หลากหลาย แต่ว่าหลังจากการเปลี่ยนแปลงเป็นไมโครซอฟท์แล้ว บริการบางอย่างก็จะหายไป และเข้ามาทดแทนด้วยอีโคซิสเตมส์ของไมโครซอฟท์แทนทั้งหมด
     
       “ทีมงานไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ต้องมีการประสานงานกันมากขึ้นเพื่อนำบริการ และโซลูชันของไมโครซอฟท์ เข้ามาร่วมโปรโมตไปกับผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟน เพราะจากจำนวนลูกค้าที่ใช้งานวินโดวส์ในปัจจุบัน ถือว่ามีสัดส่วนสูงที่สุด ถ้าลูกค้ามองเห็นถึงความสะดวกในการใช้งานก็มีโอกาสที่จะเลือกใช้ Lumia”
     
       โดยสิ่งที่ลูกค้า Lumia จะได้รับจากไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ คือ นำบริการ และโซลูชันต่างๆ ของไมโครซอฟท์ทั้งหมดมาใช้งานบน Lumia ให้ได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ Microsoft Office โปรแกรมสนทนาอย่าง Skype พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์อย่าง OneDrive ฟรี 15 GB การเชื่อมต่ออีเมลผ่าน Microsoft Outlook กับอีกกว่า 3 แสนแอปพลิเคชัน ให้ดาวน์โหลดใช้งานกัน
     
       ในส่วนของบริการแผนที่นำทางก็จะเปลี่ยนจาก Here Maps มาใช้งาน Bing Maps แทน เพียงแต่ว่าไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ก็ยังมีสิทธิที่จะใช้ฐานข้อมูลเดิมของ Here Maps ในการให้บริการอยู่ ในขณะที่โนเกีย ส่วนที่เป็นเจ้าของ Here Maps ก็สามารถนำบริการนี้ไปใช้ในการทำธุรกิจอื่นๆ ได้
     
       นายจิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ หัวหน้าฝ่ายสนับสนุนนักพัฒนา ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า จุดเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเลยคือ การมาของวินโดวส์ 10 ที่ไมโครซอฟท์วางไว้ให้อุปกรณ์ทุกชนิดสามารถใช้งานร่วมกันได้ ตั้งแต่สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก พีซี ออลอินวัน รวมไปถึงเครื่องเล่นเกมคอนโซลอย่าง Xbox จนกระทั่งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จะออกมาวางจำหน่ายในอนาคต
     
       เมื่อเห็นถึงแนวโน้มที่เกิดขึ้น ก็มีโอกาสที่เหล่านักพัฒนาแอปพลิเคชันจะหันมาให้ความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์มากขึ้น เพราะเมื่อมีการพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาก็จะสามารถใช้งานได้บนหลายฟอร์มเฟกเตอร์ แตกต่างจากปัจจุบันที่จำกัดว่าพัฒนาบนอุปกรณ์ชนิดใดก็จะใช้งานได้เฉพาะชนิดนั้นเป็นส่วนใหญ่
     
       นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า 80% ของ 500 บริษัทใน Fortune 500 ใช้บริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์ และมีนักพัฒนากว่า 2 ล้านคนที่ใช้แพลตฟอร์มวินโดวส์ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยมีจำนวนผู้ใช้ Office 365 ที่เป็นระบบเอกสารผ่านคลาวด์แล้ว 7.1 ล้านคนทั่วโลก จากจำนวนผู้ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั้งหมด 1.5 พันล้านคน และผู้ใช้งานสไกป์กว่า 5 หมื่นล้านนาที
     
       ***ประเดิมตลาดกำลังซื้อสูง
     
       เหตุผลหลักที่ไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ เลือกนำ Lumia 535 Dual Sim เข้ามาเป็นรุ่นแรกเพื่อประเดิมตลาดภายใต้แบรนด์ใหม่อย่างเป็นทางการเนื่อง จากมองว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในช่วงระดับราคาที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในตลาดสมาร์ทโฟน
     
       นายญาณธน กล่าวต่อว่า ข้อมูลจากจีเอฟเคระบุว่าในปีนี้ตลาดรวมโทรศัพท์มือถือจะอยู่ที่ราว 18-19 ล้านเครื่อง ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่อยู่ราว 19-20 ล้านเครื่อง แต่ในส่วนของมูลค่าจะสูงขึ้นแม้ว่าปริมาณเครื่องจะลดลง ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 60% จะอยู่ในกลุ่มตลาดที่ระดับราคาต่ำกว่า 4,500 บาท ดังนั้น จึงเลือกที่จะนำ Lumia รุ่นนี้เข้ามาทำตลาดก่อน
     
       ขณะเดียวกัน ในช่วงปีหน้าทางไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ก็เตรียมพร้อมที่จะนำผลิตภัณฑ์ Lumia รุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดให้ครอบคลุมทุกช่วงระดับราคา เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคในทุกกลุ่มอย่างแน่นอน
     
       อย่างไรก็ตาม ในส่วนของตลาดฟีเจอร์โฟน ทางไมโครซอฟท์ ดีไวซ์ ยังจะใช้แบรนด์ โนเกีย ในการทำตลาดต่อไป และคาดว่าในปีหน้าสัดส่วนการจำหน่ายระหว่างโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตจะขึ้นมาอยู่ที่ราว 80% ต่อ 20% หลังจากเริ่มเข้าไปช่วยขยายตลาดเซอร์เฟสมากขึ้น
     
       สิ่ง ที่ต้องจับตาดูกันต่อไปในปี 2015 คงหนีไม่พ้นการกลับมาเป็น 3 ก๊กอย่างเต็มตัว จากไมโครซอฟท์ กูเกิล และแอปเปิล ที่เข็น 3 ระบบปฏิบัติการออกมาสู้กันในตลาด อย่างวินโดวส์ แอนดรอยด์ และไอโอเอส อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการแข่งขันคงหนีไม่พ้นผู้บริโภคแน่นอน
     
       ***“โนเกีย” เหลืออะไร***
     
       เมื่อย้อนกลับมาดูในส่วนของโนเกีย แม้ว่าจะขายในส่วนของอุปกรณ์พกพา และบริการให้แก่ทางไมโครซอฟท์ไปแล้ว แต่ก็ยังเหลือส่วนของธุรกิจหลักอย่าง โนเกีย โซลูชัน และเน็ตเวิร์ก ที่เน้นการขยายโครงสร้างพื้นฐาน ในตลาดอุปกรณ์โทรคมนาคม ที่กำลังเติบโตอย่าง 4G LTE
     
       ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีธุรกิจแผนที่นำทาง ภายใต้ชื่อ Here Maps ที่ปัจจุบันเริ่มนำข้อมูลแผนที่ดังกล่าวมาเปิดให้บริการแก่ลูกค้าในระดับองค์กร รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์ ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และวินโดวส์โฟน รวมถึงการใช้งานผ่านหน้าเว็บไซต์
     
       แต่ ไม่ใช่แค่นั้น เพราะ โนเกีย เทคโนโลยี ได้มีการจัดงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่จะกลายเป็นอนาคตใหม่ขององค์กร ด้วยการร่วมมือกับโรงงานผลิตในจีน ผลิตแท็บเล็ตราคาประหยัดที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อเตรียมออกทำตลาดต่อไปในช่วงต้นปี 2015
     
       Nokia N1 จึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อลบคำสบประมาทของเหล่านักวิจารณ์ที่บอกว่า โนเกีย จะหายไปจากตลาด หรือโนเกีย เป็นบริษัทที่มองเห็นถึงอนาคตที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ที่ออกมาตอบโจทย์ตลาดได้
     
       โดยแนวคิดก่อนหน้านี้ของโนเกีย คือ การพัฒนาอินเตอร์เฟสบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ขึ้นมาในชื่อ Z Launcher โดยมองถึงรูปแบบการใช้งานที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ เพียงแค่ลากตัวอักษรแอปพลิเคชันที่ต้องการเรียกขึ้นมา ก็จะเข้าถึงการใช้งานแอปได้ทันที หลังจากนั้นจึงทำอินเตอร์เฟสดังกล่าวใส่เข้ามาเป็น Nokia N1
     
       จุดเด่นของ Nokia N1 นอกจากตัวอินเตอร์เฟส และแผนที่อย่าง Here Maps แล้ว คือการเป็นแท็บเล็ตที่นำประสบการณ์ความรู้ของโนเกีย มาผลิตเป็นแท็บเล็ตที่ใช้อะลูมิเนียมเพียงชิ้นเดียวบาง 6.9 มิลลิเมตร ผสานกับขุมพลังของอินเทล ควอดคอร์ 2.3 GHz แบบ 64 บิต ขนาดหน้าจอ 7.9 นิ้ว ความละเอียด 2k
     
       ที่สำคัญคือ เป็นแท็บเล็ตรุ่นแรกที่ใช้พอร์ต USB Type C รองรับการเชื่อมต่อ WiFi 802.11 a/b/g/n/ac บลูทูธ 4.0 แบตเตอรี่ 5,300 mAh ทำงานบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 5.0 Lolipop ที่สำคัญคือ ราคาเปิดตัวจะอยู่ที่ 249 เหรียญ (ราว 8,200 บาท)



http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000140055

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.