Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 ธันวาคม 2557 ในงาน "Beyond SMEs Part II : Power of IT เพิ่มโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด" ธนพงศ์.intuch ระบุ สตาร์ตอัพไทยปัญหาที่พบคือเรื่องเงินทุนตั้งตัวเพื่อต่อยอดไอเดีย

ประเด็นหลัก


"ธนพงศ์ ณ ระนอง" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า โอกาสการพัฒนาของนักพัฒนารุ่นใหม่หรือสตาร์ตอัพ มีมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในไทยมีผู้ให้การสนับสนุนมากขึ้น เช่น ค่ายมือถือ ขณะที่สตาร์ตอัพของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้แล้ว อย่างแอปพลิเคชั่น "Taamkru" (ถามครู) เป็นต้น แต่ปัญหาของสตาร์ตอัพไทยเป็นที่ทราบทั่วไปคือ เรื่องเงินทุนตั้งตัวเพื่อต่อยอดไอเดีย ซึ่งอินทัชมีโครงการสนับสนุนในชื่ออินเว้นท์

"ปีหน้าการสนับสนุนเงินของภาครัฐน่าจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่สตาร์ตอัพพึ่งพิงการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก สำหรับอินทัชก็จะเน้นให้เงินสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยให้เงินทุน และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาด และอื่น ๆ เพื่อส่ง เสริมสนับสนุนการพัฒนาเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ก็อยากฝากให้ภาครัฐส่งเสริมการสร้างความรู้ สนับสนุนตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีด้านไอที และนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะไอทีเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้และเป็นตัวกระตุ้นตลาดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และความหลากหลายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ"



______________________________







ปัญหาเทคสตาร์ตอัพไทย ขาดเงินตั้งตัวหมดโอกาสต่อยอด "ไอเดีย"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีงานสัมมนาในหัวข้อ "Beyond SMEs Part II : Power of IT เพิ่มโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดด" ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เข้ากันกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งจากกระแสตื่นตัวเหล่าเทคสตาร์ตอัพ และนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีของรัฐบาล ที่ว่ากันว่าไม่มากก็น้อยจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีหน้า

"ประพันธ์ เจริญประวัติ" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) กล่าวว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องกับไอทีในตลาด mai ซึ่งเน้นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีจดทะเบียนเพียง 8 บริษัทจากทั้งสิ้น 109 บริษัท แสดงให้เห็นว่าธุรกิจเทคโนโลยีหรือไอทีระดับเริ่มต้น หรือที่เรียกว่าสตาร์ตอัพ ระดับเอสเอ็มอียังมีจำกัด แม้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัจจุบันจะก้าวกระโดด สาเหตุที่สตาร์ตอัพต่อยอดเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้น้อยอาจมีปัจจัยหลักคือ เงินทุนสนับสนุนในการตั้งตัวยังไม่เพียงพอ และต้องรอพึ่งผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมสตาร์ตอัพบ้างแล้ว โดยจัดตั้งเป็นกองทุนรวมกว่าหมื่นล้านบาท ทั้งกองทุนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) แต่เชื่อว่าในปีหน้า นโยบายดิจิทัลอีโคโนมีจะสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มสตาร์ตอัพมากขึ้น หากสตาร์ตอัพมีการพัฒนาต่อเนื่อง จะสร้างรายได้ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจระดับประเทศได้ไม่แพ้ธุรกิจประเภทอื่น

ด้าน รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทั้งในต่างประเทศและในไทย ขณะที่การพัฒนาซอฟต์แวร์มีต่อเนื่องไม่หยุดนิ่งและใช้ได้ทั่วโลก สิ่งที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยหรือเหล่าสตาร์ตอัพควรคิดคำนึงถึงคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เข้าถึงตลาดต่างประเทศด้วย เพราะไม่ว่าซอฟต์แวร์ใด เมื่อพัฒนาและนำไปไว้บนคลาวด์ จะนำส่งเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศไทยได้ทุกที่

"นักพัฒนาในประเทศมีโอกาสจากความเป็นท้องถิ่น ที่เข้าถึงประชากรในประเทศได้ง่ายกว่าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้มากที่สุด และต้องเข้าใจความต้องการในการใช้งานของแต่ละพื้นที่ ปีหน้าการเกิดขึ้นของนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีจะยิ่งส่งผลดีกับสตาร์ตอัพไทย เพราะเป็นโอกาสที่ดีที่ภาครัฐจะลดช่องว่างระหว่างการใช้เทคโนโลยีในชุมชน เมืองและในต่างจังหวัด โดยพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั่วประเทศ ทำให้เกิดการสร้างความรู้และการเข้าถึงข้อมูลมากขึ้น และไอทีต้องเป็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ"

"ธนพงศ์ ณ ระนอง" ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริษัทร่วมทุน บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า โอกาสการพัฒนาของนักพัฒนารุ่นใหม่หรือสตาร์ตอัพ มีมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะในไทยมีผู้ให้การสนับสนุนมากขึ้น เช่น ค่ายมือถือ ขณะที่สตาร์ตอัพของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับภูมิภาคได้แล้ว อย่างแอปพลิเคชั่น "Taamkru" (ถามครู) เป็นต้น แต่ปัญหาของสตาร์ตอัพไทยเป็นที่ทราบทั่วไปคือ เรื่องเงินทุนตั้งตัวเพื่อต่อยอดไอเดีย ซึ่งอินทัชมีโครงการสนับสนุนในชื่ออินเว้นท์

"ปีหน้าการสนับสนุนเงินของภาครัฐน่าจะเพิ่มขึ้น หลังจากที่สตาร์ตอัพพึ่งพิงการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก สำหรับอินทัชก็จะเน้นให้เงินสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยให้เงินทุน และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการตลาด และอื่น ๆ เพื่อส่ง เสริมสนับสนุนการพัฒนาเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ก็อยากฝากให้ภาครัฐส่งเสริมการสร้างความรู้ สนับสนุนตามนโยบายดิจิทัลอีโคโนมี เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีด้านไอที และนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะไอทีเป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้และเป็นตัวกระตุ้นตลาดให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และความหลากหลายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ"

"ทรงพล ชัญมาตรกิจ" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ทีวี ไดเร็ค กล่าวว่า หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านไอที และการสนับสนุนด้านเงินลงทุนควรมีความชัดเจนและมีเป้าหมาย เช่นกันกับหน่วยงานภาคเอกชนก็มีหน้าที่ในการสนับสนุนนักพัฒนาหน้าใหม่ให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ทั้งการเข้ามาสนับสนุนการลงทุน เพื่อให้เกิดการใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และในอดีตการลงทุนด้านไอทีของบริษัทต่าง ๆ ใช้เงินเพียง 1% ของงบประมาณทั้งหมด

และโดยส่วนตัวเชื่อว่าเทคโนโลยีและไอทีจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของหน่วยงานภาคเอกชน และภาครัฐ เมื่อมีการพัฒนาของสตาร์ตอัพจะมีการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งาน ซึ่งการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีให้นำมาใช้ได้จริงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในอดีตธุรกิจเอสเอ็มอียังไม่ได้คำนึงถึงการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการดำเนิน ธุรกิจมากนัก และการเข้ามาของนักพัฒนาจะทำให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในภาคธุรกิจตื่นตัวมากขึ้น เช่น การทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ และการทำการตลาดดิจิทัล เป็นต้น


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1418753659

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.