Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มกราคม 2558 สพธอ.ชี้ สนช.ผ่านร่างกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ 2 ฉบับ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....



ประเด็นหลัก



    ต่อด้วยเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว  (Exception for Temporary Reproduction)ตามร่างมาตรา 32/2 ที่ระบุว่า "การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทำหรือได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นการทำซ้ำที่จำเป็นต้องมีสำหรับการนำสำเนามาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือกระบวนการส่งงานอันมีลิขสิทธิ์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามปกติ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์" ซึ่งทำให้การ "ทำซ้ำในระบบคอมพิวเตอร์" ตามมาตรานี้ เจตนาที่จะให้หมายถึงการทำซ้ำชั่วคราวในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (cache)ซึ่งเป็นการทำงานโดยปกติของเครื่อง ที่ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องทำซ้ำเพื่อสำรองข้อมูลไว้ในระบบการทำงานชั่วคราวเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ตามปกติเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาที่ผ่านมาที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้เนื่องจากเป็นเรื่องทางเทคนิค ดังนั้น หลักเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจและปรับใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้เจตนารมณ์ทางกฎหมายที่แท้จริงได้ถูกนำมาปรับใช้อย่างถูกต้องและไม่กว้างขวางจนเกินไป
    เรื่องข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการ (Liability Limitation of ISP) ตามที่กำหนดในร่างมาตรา 32/3 ที่ระบุว่า "ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น
    ส่วนร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....(กำหนดความผิดเกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอในโรงภาพยนตร์) เกิดจากปัจจุบันปัญหาการทำซ้ำโดยการบันทึกภาพหรือเสียง หรือทั้งภาพและเสียงของภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ในระหว่างการฉายไม่ว่าจะเป็นทั้งภาพยนตร์ของไทยและของต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำไปทำซ้ำให้อยู่ในรูปแบบของสื่อต่างๆ นำออกวางจำหน่ายนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน อีกทั้งผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมักอาศัยข้อยกเว้นตามาตรา 32 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นข้ออ้างว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง จึงสมควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ โดยกำหนดให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่มีลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งเพิ่มโทษให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000-800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

_____________________________________________________














แนะศึกษาก.ม.ลิขสิทธิ์ใหม่2 ฉบับ



 สพธอ.ชี้ สนช.ผ่านร่างกฎหมายลิขสิทธิ์ใหม่ 2 ฉบับ เปลี่ยนแปลงการจัดการสิทธิ์ใหม่หลายมาตรา   แนะสังคมต้องเร่งศึกษากระบวนการคิดใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจบันเทิงและคอมพิวเตอร์
    สุรางคณา วายุภาพสุรางคณา วายุภาพนางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 27/2557 วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (กำหนดความผิดเกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอในโรงภาพยนตร์) และร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิ) และมีมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ระหว่างนี้อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะส่งผลกระทบกับเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ตลอดจนผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งต้องเร่งทำความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    โดยร่าง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ) พ.ศ. .... (คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิ)  จะมีหลายมาตราที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมาตราที่สำคัญ   เช่น เรื่อง หลักการระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) ตามที่กำหนดในร่างมาตรา 32/1  ที่ระบุว่า "การจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์นั้นโดยชอบด้วยกฎหมาย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์"  ซึ่งมีข้อสังเกตจากหลัก First sale of doctrine ที่เป็นหลักที่จำกัดสิทธิของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในการควบคุมงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนหลังจากที่มีการขายครั้งแรกไปแล้ว  ทำให้ผู้ซื้อสินค้าอันมีลิขสิทธิ์คนแรกมีอิสระที่จะทำการใด ๆ กับงานนั้นก็ได้ หลักกฎหมายข้อนี้เทียบกับคดีดร.สุภาพ เกิดแสง ที่ศาลสูงสุดสหรัฐฯตัดสินให้ ดร.สุภาพ ชนะคดีละเมิดลิขสิทธิ์กรณีที่ขายหนังสือมือสอง
    ต่อด้วยเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว  (Exception for Temporary Reproduction)ตามร่างมาตรา 32/2 ที่ระบุว่า "การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่ทำหรือได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเป็นการทำซ้ำที่จำเป็นต้องมีสำหรับการนำสำเนามาใช้เพื่อให้อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือกระบวนการส่งงานอันมีลิขสิทธิ์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามปกติ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์" ซึ่งทำให้การ "ทำซ้ำในระบบคอมพิวเตอร์" ตามมาตรานี้ เจตนาที่จะให้หมายถึงการทำซ้ำชั่วคราวในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (cache)ซึ่งเป็นการทำงานโดยปกติของเครื่อง ที่ระบบคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องทำซ้ำเพื่อสำรองข้อมูลไว้ในระบบการทำงานชั่วคราวเพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ตามปกติเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาที่ผ่านมาที่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้เนื่องจากเป็นเรื่องทางเทคนิค ดังนั้น หลักเรื่องข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจและปรับใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อให้เจตนารมณ์ทางกฎหมายที่แท้จริงได้ถูกนำมาปรับใช้อย่างถูกต้องและไม่กว้างขวางจนเกินไป
    เรื่องข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการ (Liability Limitation of ISP) ตามที่กำหนดในร่างมาตรา 32/3 ที่ระบุว่า "ในกรณีที่มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เจ้าของลิขสิทธิ์อาจยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น
    ส่วนร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....(กำหนดความผิดเกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอในโรงภาพยนตร์) เกิดจากปัจจุบันปัญหาการทำซ้ำโดยการบันทึกภาพหรือเสียง หรือทั้งภาพและเสียงของภาพยนตร์จากโรงภาพยนตร์ในระหว่างการฉายไม่ว่าจะเป็นทั้งภาพยนตร์ของไทยและของต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต และนำไปทำซ้ำให้อยู่ในรูปแบบของสื่อต่างๆ นำออกวางจำหน่ายนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน อีกทั้งผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมักอาศัยข้อยกเว้นตามาตรา 32 วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นข้ออ้างว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของตนเอง จึงสมควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัตินี้ โดยกำหนดให้ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดที่มีลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งเพิ่มโทษให้ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000-800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,013  วันที่  28 - 31 ธันวาคม  พ.ศ. 2557

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=259454:2-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VKVWVsZAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.