Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มกราคม 2558 กสทช. ได้เสนอนโยบายแก่รัฐบาล โดยแผนดำเนินการจะต้องรวบรวมโครงข่ายทั้งหมดที่มีอยู่ บริหารดูแลโครงข่ายนี้ ในรูปแบบผู้ให้บริการด้านโครงข่าย “เน็ตเวิร์ค โพรไวเดอร์”

ประเด็นหลัก


กสทช. ได้เสนอนโยบายแก่รัฐบาล โดยแผนดำเนินการจะต้องรวบรวมโครงข่ายทั้งหมดที่มีอยู่ ต้องมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมีอำนาจบริหารดูแลโครงข่ายนี้ ในรูปแบบผู้ให้บริการด้านโครงข่าย “เน็ตเวิร์ค โพรไวเดอร์” ซึ่งรัฐบาลต้องกำหนดและตัดสิน

เขา ยกตัวอย่างว่า หากให้ทีโอทีเป็นผู้ดูแล ก็ต้องให้อำนาจทีโอที เป็นผู้ดูแล ลงทุน บำรุงรักษาโครงข่ายต่างๆ จะประหยัดทั้งต้นทุน และมีประสิทธิภาพ ลดการลงทุนซ้ำซ้อน ซึ่งการให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้บริหาร ไม่ได้หมายความว่าต้องโอนทรัพย์สินต่างๆ มาเป็นของหน่วยงานนั้นๆ แต่การเช่าซื้อโครงข่ายต้องผ่านผู้ดูแลโครงข่ายก่อน หรือมีหน่วยงานกลาง เป็นชื่ออื่นดูแลโครงข่ายทั้งหมด การลงทุนจะมีประสิทธิภาพเหมือนทั่วโลก

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดิจิทัลในบทบาทของ กสทช. ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแรงและครอบคลุมมากที่สุด 2. พัฒนาให้ธุรกิจมีสาย 7 หน่วยงาน และธุรกิจไร้สายครอบคลุมมากขึ้น 3. ตั้งคณะกรรมการ หรือหน่วยงานกลางขึ้นกำกับดูแล และ 4. สร้างความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วม

เลขาธิการกสทช. ระบุว่า ในโครงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะมีขึ้นในปี 2558 เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่และรองรับการใช้งานเลขหมาย การใช้ข้อมูลหรือดาต้าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัว จากมูลค่าเงินเพิ่มเข้าอุตสาหกรรมกว่า 3 แสนล้านบาท


_____________________________________________________














'ฐากร ตัณฑสิทธิ์'เปิดโรดแมพ'กสทช.'

โดย : ปานฉัตร สินสุข

"ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เปิดโรดแมพ "กสทช." ปีแพะ รับ "ดิจิทัล อีโคโนมี"


ปี 2558 งานกำกับดูแลกิจการสื่อสารโทรคมนาคมของ กสทช. มีภารกิจรออยู่มากมาย ซึ่งนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า พร้อมขานรับนโยบายระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (ดิจิทัล อีโคโนมี) ของรัฐบาล

นายฐากร กล่าวว่า ตามแนวทางของสำนักงาน กสทช.จะเป็นการสนับสนุนการให้บริการด้านโครงข่าย ซึ่งปัจจุบันโครงข่ายที่ใช้งานอยู่ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. โครงข่ายมีสาย ผ่านสายไฟเบอร์ออพติก และโครงข่ายที่กระจายเป็นลาสไมล์เข้าถึงทุกครัวเรือน 2. โครงข่ายไร้สาย ผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กลุ่มทรู บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท)

อย่างไรก็ตาม โครงข่ายไร้สายที่มีอยู่ทั้งระบบ 2จี และ 3จี โดยเฉพาะโครงข่ายไร้สายระบบ 3จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ความจุที่มีปัจจุบันไม่เพียงพอรองรับความต้องการใช้งานด้านสื่อสารข้อมูล การใช้งานเต็มพื้นที่เกือบหมดแล้ว

ส่วนโครงข่ายมีสาย 7 หน่วยงาน คือ ทีโอที แคท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการเจ้าของเครือข่าย “ยูนิเน็ต” ซึ่งโครงข่ายในระบบนี้จะต้องบูรณาการสร้างโครงข่ายให้ได้มาตรฐานเดียวกัน สนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลให้ได้ โดย กสทช.มีหน้าที่กำกับดูแลช่วยสนับสนุนรัฐบาลให้ประสบผลสำเร็จโดยเร็ว

กสทช. ได้เสนอนโยบายแก่รัฐบาล โดยแผนดำเนินการจะต้องรวบรวมโครงข่ายทั้งหมดที่มีอยู่ ต้องมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมีอำนาจบริหารดูแลโครงข่ายนี้ ในรูปแบบผู้ให้บริการด้านโครงข่าย “เน็ตเวิร์ค โพรไวเดอร์” ซึ่งรัฐบาลต้องกำหนดและตัดสิน

เขา ยกตัวอย่างว่า หากให้ทีโอทีเป็นผู้ดูแล ก็ต้องให้อำนาจทีโอที เป็นผู้ดูแล ลงทุน บำรุงรักษาโครงข่ายต่างๆ จะประหยัดทั้งต้นทุน และมีประสิทธิภาพ ลดการลงทุนซ้ำซ้อน ซึ่งการให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้บริหาร ไม่ได้หมายความว่าต้องโอนทรัพย์สินต่างๆ มาเป็นของหน่วยงานนั้นๆ แต่การเช่าซื้อโครงข่ายต้องผ่านผู้ดูแลโครงข่ายก่อน หรือมีหน่วยงานกลาง เป็นชื่ออื่นดูแลโครงข่ายทั้งหมด การลงทุนจะมีประสิทธิภาพเหมือนทั่วโลก

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดิจิทัลในบทบาทของ กสทช. ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแรงและครอบคลุมมากที่สุด 2. พัฒนาให้ธุรกิจมีสาย 7 หน่วยงาน และธุรกิจไร้สายครอบคลุมมากขึ้น 3. ตั้งคณะกรรมการ หรือหน่วยงานกลางขึ้นกำกับดูแล และ 4. สร้างความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วม

เลขาธิการกสทช. ระบุว่า ในโครงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะมีขึ้นในปี 2558 เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่และรองรับการใช้งานเลขหมาย การใช้ข้อมูลหรือดาต้าที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัว จากมูลค่าเงินเพิ่มเข้าอุตสาหกรรมกว่า 3 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ ต้องให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ “ยุคดิจิทัล อีโคโนมี” คืออะไร จากขณะนี้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน มีเพียง 28% ของประชากร ซึ่งปี 2558 ที่เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากประชาชนยังรู้ไม่เท่าทันการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะทำให้เกิดปัญหามาก

ดังนั้น หน้าที่ กสทช.จะต้องเดินหน้าประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน และรัฐบาลต้องเดินหน้าส่วนนี้เช่นกัน ซึ่งทุกวันนี้ประชาชนยังขาดความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต แต่อนาคต เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลอีโคนามี่ ทุกอย่างต้องดำเนินการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตทั้งหมด

ที่ผ่านมา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มีโครงการไอซีที ชุมชน ซึ่งสามารถนำโครงการดังกล่าวมาเป็นช่องทางให้ความรู้แก่ประชาชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดย กสทช.มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ตามโครงการการให้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (ยูเอสโอ)

ขณะเดียวกัน ต้องจัดการระบบความปลอดภัยแก่ระบบสารสนเทศ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ต้องสร้างความเชื่อมั่น ความเข้าใจให้แก่ประชาชน หลายๆ เรื่องต้องแก้ไขปรับปรุง กฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตในยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ที่กฎหมายเดิมแพทย์จะรักษาผู้ป่วยได้ต้องเห็นตัวคนไข้ ถึงเรียกว่าเป็นการรักษา การรักษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นการให้คำปรึกษา สั่งจ่ายยาไม่ได้


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20141231/626242/ฐากร-ตัณฑสิทธิ์เปิดโรดแมพกสทช..html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.