Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 มกราคม 2558 LINE ระบุ การเติบโตของยอดผู้ใช้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนบางทีเรารับมือไม่ทัน เช่น ปีที่แล้วตั้งเป้าไว้ราว 30 ล้านไอดี ทะลุไปที่ 33 ล้านไอดี เพิ่มจากปีก่อนเกือบ 10 ล้านไอดี

ประเด็นหลัก



ประเทศญี่ปุ่นที่มี 54 ล้านไอดี รายได้หลักมาจากการจำหน่ายไอเท็มภายในเกม หรือ 60% ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาเป็นบริการ "ออฟฟิเชียล แอ็กเคานต์" และการเปิดให้ดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ และธีมต่าง ๆ ปัจจุบันนอกจากแอปพลิเคชั่นแชตแล้ว ยังมีแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ มากกว่า 72 ตัว เช่น แอปเกม, แอปช่วยแต่งภาพ เป็นต้น มีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 490 ล้านไอดี ใน 70 ประเทศทั่วโลก

"การเติบโตของยอดผู้ใช้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนบางทีเรารับมือไม่ทัน เช่น ปีที่แล้วตั้งเป้าไว้ราว 30 ล้านไอดี ทะลุไปที่ 33 ล้านไอดี เพิ่มจากปีก่อนเกือบ 10 ล้านไอดี ดังนั้นปีนี้คาดว่าการเติบโตน่าจะเป็นไปในลักษณะนี้ และหวังว่าจะรักษาฐานผู้ใช้ผ่านบริการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้"







_____________________________________________________













"ไลน์" เร่งเกมขยายฐานลูกค้า SME ต่อยอด "ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์" เพิ่มโอกาสธุรกิจ



แอปพลิเคชั่น "แชต" ยอดฮิต "ไลน์" ต่อยอดความสำเร็จ "ออฟฟิเชียล แอ็กเคานต์" เปิดตัวบริการใหม่ "LINE@" บุกเจาะตลาด "เอสเอ็มอี" ดึงผู้ประกอบการรายย่อยใช้ "ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง" เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้ใช้สมาร์ทโฟน ชู "ราคาเอื้อมถึง-คอยให้คำปรึกษา" พร้อมเดินหน้าปั้น "LINE TV" เกาะกระแสวิดีโอสตรีมมิ่งบูม ปั้นช่องทางรายได้ใหม่

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า การใช้งานแอปพลิเคชั่นแชต ยังเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในไทย และตลาดโลก อ้างอิงจากผลสำรวจของ "โกลบอล เว็บ อินเด็กซ์" ที่ระบุผู้ใช้งานถึง 616 ล้านไอดีทั่วโลก ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปี 2557

ที่น่าสนใจคือ 2 ใน 3 ของผู้ใช้งานอยู่ในเอเชีย-แปซิฟิก ในไทยก็เติบโตก้าวกระโดดจากความนิยมสมาร์ทโฟน

นางสาววารดี วสวานนท์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ไลน์ ประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากองค์กรขนาดใหญ่ต่าง ๆ เข้ามาใช้บริการ "ไลน์ ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์" (Line Official Account) ในการทำตลาดออนไลน์ กว่า 200 ราย (เป็นแบรนด์สินค้า 80 ราย) ปีนี้บริษัทจะเปิดบริการใหม่ในลักษณะเดียวกัน แต่ค่าบริการต่ำกว่า และเจาะกลุ่มเอสเอ็มอี ในชื่อว่า LINE@ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการรายย่อยได้ใช้ช่องทางออนไลน์สร้างยอดขายเพิ่ม

"เรามองเห็นโอกาสนี้มาระยะหนึ่งแล้วแต่ยังตัดสินใจว่าจะให้ออกมาในรูปแบบไหน ที่แน่ ๆ คือจะมีฟีเจอร์คล้ายไลน์ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์ แต่ค่าบริการอยู่ในระดับที่ทุกคนเอื้อมถึงได้ ไม่เหมือนรูปแบบปกติที่ลงทุนสูงกว่า เพราะหลายธุรกิจอยากเข้ามาใช้ช่องทางนี้ แค่ไม่มีงบประมาณ โดย LINE จะคอยให้คำปรึกษาในการส่งข้อความไปให้ผู้ใช้ด้วย รวมถึงเพิ่มวิธีใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดผู้ใช้ให้ตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นจุดเด่นของการทำตลาดออนไลน์"



วิธีการจูงใจของ "ออฟฟิเชียลแอ็กเคานต์" มี 3 รูปแบบ คือ ช่วยสร้างสติ๊กเกอร์ และคิดวิธีนำเสนอข้อมูล, ให้คอยน์ (ค่าเงินในการซื้อบริการในแอปพลิเคชั่น) เมื่อผู้ใช้ร่วมกิจกรรมก็จะแจกสินค้าหรือส่วนลดพิเศษ รวมถึงการตอบแบบสอบถามของแอ็กเคานต์นั้น ๆ ซึ่งวิธีนี้กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ เพราะทำให้ทราบความต้องการของผู้ใช้บริการนำไปพัฒนาการทำตลาดต่อได้ด้วย

นอกจากนี้ บริษัทยังจะให้บริการ "LINE TV" อย่างเต็มรูปแบบ จากที่เริ่มทดลองให้บริการเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ด้วยการนำคอนเทนต์ลิขสิทธิ์ขึ้นมาให้บริการ เช่น รายการของเวิร์คพอยท์, ทีเอ็นเอ็น, วิธิตา, ซีรีส์ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ที่กำลังฉายอยู่มารีรันผ่าน LINE TV รวมถึงคอนเทนต์จากประเทศเกาหลี เช่น เจวายพี และดีเอสพีทีวี ซึ่งรายได้ของ LINE TV จะมาจากโฆษณาบนคลิปวิดีโอ

"วิดีโอสตรีมมิ่งเป็นอีกบริการที่กำลังมาแรง ใน LINE TV รายการทั้งหมดเราจะเลือกมาเอง ไม่ได้เปิดให้ผู้บริโภคทั่วไปเป็นคนอัพโหลด พร้อมดึงช่องรายการต่างประเทศจากเซิร์ฟเวอร์ในประเทศที่ให้บริการโดยตรงมาออก คาดว่าจะเริ่มมีรายได้จากโฆษณา หลังจากมีผู้ดาวน์โหลดมากขึ้น ซึ่งเราจะโปรโมทโดยให้คอยน์จูงใจ"

แอปพลิเคชั่นแชตของไลน์มีผู้ใช้งานในไทยกว่า 33 ล้านไอดี มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่นที่มี 54 ล้านไอดี รายได้หลักมาจากการจำหน่ายไอเท็มภายในเกม หรือ 60% ของรายได้ทั้งหมด รองลงมาเป็นบริการ "ออฟฟิเชียล แอ็กเคานต์" และการเปิดให้ดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ และธีมต่าง ๆ ปัจจุบันนอกจากแอปพลิเคชั่นแชตแล้ว ยังมีแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ มากกว่า 72 ตัว เช่น แอปเกม, แอปช่วยแต่งภาพ เป็นต้น มีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 490 ล้านไอดี ใน 70 ประเทศทั่วโลก

"การเติบโตของยอดผู้ใช้ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนบางทีเรารับมือไม่ทัน เช่น ปีที่แล้วตั้งเป้าไว้ราว 30 ล้านไอดี ทะลุไปที่ 33 ล้านไอดี เพิ่มจากปีก่อนเกือบ 10 ล้านไอดี ดังนั้นปีนี้คาดว่าการเติบโตน่าจะเป็นไปในลักษณะนี้ และหวังว่าจะรักษาฐานผู้ใช้ผ่านบริการต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นในอนาคตได้"

จากข้อมูลการสำรวจของ "วีอาร์โซเชียล" ตัวแทนด้านการทำตลาดออนไลน์ ณ เดือน พ.ย. 2557 เปิดเผยว่า แอปพลิเคชั่นแชตที่มีผู้ใช้แอ็กทีฟ (เข้าใช้ 1 ครั้งภายใน 30 วัน) มากที่สุดในโลก คือ WhatsApp จำนวน 600 ล้านไอดี, WeChat 438 ล้านไอดี, Facebook Messenger 200 ล้านไอดี, Line 170 ล้านไอดี, Viber 105 ล้านไอดี และ KakaoTalk 50 ล้านไอดี


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421898059

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.