Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2558 รักษาการเลขาธิการ กสทช.สมบัติ ระบุ การขายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม 1.5% ของรายได้จากขายกล่องที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท และ 2% สำหรับรายได้เกิน 5 ล้านบาท รวมถึงการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กสทช.อีก 2%

ประเด็นหลัก


นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการสายงานกระจายเสียง และโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อ 2 มี.ค. 2558 เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี กรณีการขายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม และการเก็บค่าสมาชิก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะยาว ให้มีการกำหนดการเชื่อมโยงระหว่างการนำเข้าและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียมกับโครงข่ายผู้รับใบอนุญาต

โดยให้สำนักงาน กสทช.กำหนดคำนิยาม "การให้บริการโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิก" ครอบคลุมถึงอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณ เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยให้รายได้จากการขายกล่องและอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งแบบไม่มีค่าบริการรายเดือน/รายปี เป็นรายได้ต้องนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี

ส่วนการแก้ไขระยะสั้นให้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการขายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม 1.5% ของรายได้จากขายกล่องที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท และ 2% สำหรับรายได้เกิน 5 ล้านบาท รวมถึงการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กสทช.อีก 2%


_____________________________________________________














ไล่บี้ค่าต๋งขายเซตท็อปบ็อกซ์ "ดาวเทียม-เคเบิล" ปีละ 1.5-2%



บอร์ด กสท. ไล่บี้เก็บค่าธรรมเนียม "เซตท็อปบ็อกซ์" ทีวีดาวเทียม-เคเบิล หลังผู้รับใบอนุญาตตั้งบริษัทลูกเลี่ยงจ่ายค่าต๋ง ขณะที่ปัญหาเรียงเลขช่อง และการถือหุ้นของ SLC ใน "เนชั่น และสปริงนิวส์" ไม่คืบ โยนสำนักงาน กสทช.หาข้อมูลเพิ่ม

นายสมบัติ ลีลาพตะ รักษาการรองเลขาธิการสายงานกระจายเสียง และโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เมื่อ 2 มี.ค. 2558 เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี กรณีการขายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม และการเก็บค่าสมาชิก แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะยาว ให้มีการกำหนดการเชื่อมโยงระหว่างการนำเข้าและจำหน่ายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียมกับโครงข่ายผู้รับใบอนุญาต

โดยให้สำนักงาน กสทช.กำหนดคำนิยาม "การให้บริการโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิก" ครอบคลุมถึงอุปกรณ์กล่องรับสัญญาณ เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยให้รายได้จากการขายกล่องและอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งแบบไม่มีค่าบริการรายเดือน/รายปี เป็นรายได้ต้องนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี

ส่วนการแก้ไขระยะสั้นให้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการขายกล่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม 1.5% ของรายได้จากขายกล่องที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท และ 2% สำหรับรายได้เกิน 5 ล้านบาท รวมถึงการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา กสทช.อีก 2%

"เดิมเก็บค่าธรรมเนียมอยู่แล้ว แต่ผู้รับใบอนุญาตให้บริการทีวีดาวเทียมเคเบิลทีวีบางรายใช้การตั้งบริษัทลูก แยกรายได้การขายกล่องออกไป ทำให้การเก็บค่าธรรมเนียมไม่ตรงความจริง เท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้น มีการหลีกเลี่ยงรายได้จำนวนไม่น้อย"

สำหรับความคืบหน้าเกี่ยวกับ (ร่าง) ประกาศเรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ บอร์ดให้สำนักงาน กสทช.วิเคราะห์ข้อมูลเสนอมาใหม่ หลังจากทรูวิชั่นส์ ถอนฟ้อง กสทช.เรื่องประกาศหลักเกณฑ์การกำหนดหมวดหมู่และการจัดลำดับบริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช่คลื่นความถี่ พ.ศ. 2556 ถือเป็นสาระสำคัญที่กระทบกับการพิจารณาออกร่างประกาศใหม่ เช่นกันกับการพิจารณาการถือหุ้นของ บมจ.โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) หรือ SLC ในเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป และสปริงนิวส์

ทั้งบอร์ด กสท.มีมติรับทราบการแก้ไขปรับปรุง (ร่าง) ประกาศเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์พ.ศ....โดยกำหนดให้ช่องทีวีดิจิทัลต้องมีล่ามภาษามือในรายการข่าวสารและสาระสำคัญไม่น้อยกว่า 5% คาดว่าจะบังคับใช้ได้ มี.ค.นี้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425525851

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.