Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2558 สวทน.พิเชฐ ระบุ ตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกทาเลนต์โมบิลิตี้ (TM Clearing House) เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างนักวิจัยภาครัฐกับหน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการนักวิจัย

ประเด็นหลัก


นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้ตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกทาเลนต์โมบิลิตี้ (TM Clearing House) เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างนักวิจัยภาครัฐกับหน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการนักวิจัย รองรับมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้นักวิจัยและนักเรียนทุนในหน่วยงานรัฐสามารถทำงานวิจัยให้ภาคเอกชนได้ โดยให้นับเป็นเวลาราชการหรือเวลาที่ต้องใช้ทุนตามสัญญา ทั้งใช้เป็นผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการได้

เบื้องต้นมีนักวิจัยเข้าร่วมโครงการแล้ว 80 คน นักเรียนทุนอีก 31 คน และมี 134 โครงการภาคธุรกิจที่ยื่นขอรับสมัครนักวิจัยมาแล้วกว่า 200 คน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรและอาหาร, ซอฟต์แวร์ และเครื่องจักร

"ภาครัฐพยายามสนับสนุนเอกชนให้ลงทุนวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น ตั้งไว้ 1% ของจีดีพี โดยในปี 2551-2556 งบฯลงทุนวิจัยของเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 368% จาก 7,273 ล้านบาท เป็น 26,768 ล้านบาท แต่นักวิจัยยังขาดแคลนเพราะ 83% ยังอยู่ในภาครัฐ โครงการนี้จึงเป็นการส่งคนไปเสริมการลงทุนของเอกชน ทั้งทำให้มีงานวิจัยไปใช้จริง"







_____________________________________________________














"ปลดล็อกนักวิจัย " ทำงานเอกชน นับเวลาใช้ทุน หนุน R&Dในประเทศ



ก.วิทย์หนุน "สวทน." ตั้งเคลียริ่งเฮาส์จับคู่นักวิจัยกับภาคเอกชน ขานรับมติ ครม.ปลดล็อกนักเรียนทุน-นักวิจัยภาครัฐทำงานบริษัทเอกชนได้นับเป็นเวลาราชการ แก้ปัญหาธุรกิจขาดนวัตกรรม ระบุเงินวิจัยภาคเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 368% ทะลุ 2.6 หมื่นล้านบาท แต่นักวิจัยกว่า 83% กระจุกอยู่ในภาครัฐ

นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้ตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกทาเลนต์โมบิลิตี้ (TM Clearing House) เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานระหว่างนักวิจัยภาครัฐกับหน่วยงานภาคเอกชนที่ต้องการนักวิจัย รองรับมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้นักวิจัยและนักเรียนทุนในหน่วยงานรัฐสามารถทำงานวิจัยให้ภาคเอกชนได้ โดยให้นับเป็นเวลาราชการหรือเวลาที่ต้องใช้ทุนตามสัญญา ทั้งใช้เป็นผลงานขอตำแหน่งทางวิชาการได้

เบื้องต้นมีนักวิจัยเข้าร่วมโครงการแล้ว 80 คน นักเรียนทุนอีก 31 คน และมี 134 โครงการภาคธุรกิจที่ยื่นขอรับสมัครนักวิจัยมาแล้วกว่า 200 คน โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรและอาหาร, ซอฟต์แวร์ และเครื่องจักร

"ภาครัฐพยายามสนับสนุนเอกชนให้ลงทุนวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น ตั้งไว้ 1% ของจีดีพี โดยในปี 2551-2556 งบฯลงทุนวิจัยของเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 368% จาก 7,273 ล้านบาท เป็น 26,768 ล้านบาท แต่นักวิจัยยังขาดแคลนเพราะ 83% ยังอยู่ในภาครัฐ โครงการนี้จึงเป็นการส่งคนไปเสริมการลงทุนของเอกชน ทั้งทำให้มีงานวิจัยไปใช้จริง"

ด้านนายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ รองประธานฝ่ายการผลิต บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในภาคเอกชนที่ร่วมโครงการกล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งเปลี่ยนภาพจากการเป็นตลาดแรงงานมาสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ใช้ความรู้และนวัตกรรม ซึ่งประเทศที่มีแรงงานมากอย่างจีน อินเดีย เวียดนาม ยังพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์แล้วเพราะแรงงานมีแนวโน้มขาดแคลนมากขึ้น

"ที่ผ่านมามีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกว่า200คนมาช่วยปรับปรุงการผลิต ได้ผลตอบแทนมากขึ้น 4-5 เท่าตัว ได้อุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ที่มีการประมวลที่เร็วขึ้น"

ขณะที่นายปราการเกียรติ ยังคง อาจารย์สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นักวิจัยที่ร่วมโครงการกล่าวว่า การทำวิจัยกับเอกชนช่วยเสริมศักยภาพนักวิจัยและเสริมการสอนได้ดีขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้ดึงนักศึกษามาทำงานวิจัย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425526593

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.