Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มีนาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) UIH.เรืองทรัพย์ ระบุ ไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 4G แต่ก็พร้อมเข้าร่วมให้บริการ เนื่องจาก UIH มีคอร์เน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงทั่วประเทศกว่า 6 หมื่นกิโลเมตร ครอบคลุม 90%

ประเด็นหลัก


       ***พร้อมเป็นพันธมิตรเมื่อเปิด 4G
     
       พ.อ.เรืองทรัพย์ ให้ข้อมูลต่อว่า UIH ไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 4G แต่ก็พร้อมเข้าร่วมให้บริการ เนื่องจาก UIH มีคอร์เน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงทั่วประเทศกว่า 6 หมื่นกิโลเมตร ครอบคลุม 90% ของประเทศไทย มากกว่า 900 อำเภอ ใน 77 จังหวัด ในปี 2558 ทำให้มีโอกาสที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะเข้ามาใช้งาน
     
       “การที่ UIH เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ต จึงมีโอเปอเรเตอร์บางรายเข้ามาใช้งานเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัดได้ ดังนั้น เมื่อมีการเปิดให้บริการ 4G ก็มีโอกาสที่จะร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้สูง”
     
       นอกจากนี้ ยังมองว่า ด้วยมาตรฐาน MED CE 2.0 ที่ทาง UIH เพิ่งได้มาจะเข้ามาเสริมศักยภาพในการให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP/VoLTE) เพราะมีระบบ COS ที่มาช่วยในการจัดลำดับความสำคัญในการให้บริการ เพราะเมื่อมีการใช้งานวอยซ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องให้ความสำคัญมากกว่าการเชื่อมต่อดาต้าทั่วไป ด้วยการนำมาตรฐานดังกล่าวมาช่วยจัดลำดับความสำคัญ


       ขณะเดียวกัน UIH ก็ได้เป็นพันธมิตร กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในการเปิดให้บริการ Dtac WiFi เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอีกช่องทางหนึ่ง ทำให้รวมแล้วถือเป็นการให้บริการตามแนวคิดผู้ให้บริการบรอดแบนด์ด้วยบริการแบบครบวงจร (One Stop Broadband Solution Service) ตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา


_____________________________________________________











UIH เสริมเขี้ยวรุก AEC



พันเอกเรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ (ซ้าย) และสันติ เมธาวิกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส (ขวา) บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH

        UIH หวังการได้มาตรฐานโลก MEF CE 2.0 รายแรกในไทย ช่วยเพิ่มโอกาสขยายฐานลูกค้าเข้าสู่ AEC หลังก่อนหน้านี้ วางเป้าขยายฐานลูกค้าใน 4 กลยุทธ์หลัก มั่นใจแม้สภาพเศรษฐกิจยังซบเซา แต่ยังมีโอกาสเติบโตตามตลาดราว 10%
     
       พ.อ.เรืองทรัพย์ โฆวินทะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูไนเต็ด อินฟอร์เมชั่น ไฮเวย์ จำกัด หรือ UIH กล่าวว่า ปัจจุบันแม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะนิ่ง แต่ต้องดูอุตสาหกรรมต่างๆ ที่อาจจะเกิดผลกระทบเพราะเศรษฐกิจค่อนข้างซบเซา จากที่วางแผนไว้ว่าจะลงทุนเพิ่ม ก็เห็นแววว่าจะลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลง ทำให้การเติบโตของบริษัทจะใกล้เคียงกับตลาด
     
       “ปีที่ผ่านมารายได้ของ UIH อยู่ที่ราว 3,500 ล้านบาท ขณะที่ในปีนี้ตั้งเป้าเติบโตตามตลาดที่ราว 10% โดยเป็นรายได้จากภาคเอกชนราว 75% อีก 25% เป็นรายได้จากธุรกิจภาครัฐ และคาดว่าฝั่งของเอกชนจะเติบโตมากกว่า เพราะภาครัฐส่วนใหญ่บริการเหล่านี้จะผูกขาดโดยรัฐวิสหกิจอยู่แล้ว”
     
       โดยตอนนี้ UIH ถือว่าเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ให้บริการบรอดแบนด์ในกลุ่มลูกค้าเอกชน ที่ไม่รวมคอนซูเมอร์ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอย่างธนาคาร ไฟแนนซ์ อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เกือบ 3,000 บริษัท
     
       ล่าสุด ทาง UIH ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก MEF ที่ถือเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานของผู้ให้บริการ Carrier Ethernet ในระดับสากล เพื่อให้สามารถใช้งานระบบเครือข่ายร่วมกับผู้ให้บริการจากทั่วโลกกว่า 220 ราย ในมาตรฐาน CE 2.0 จากเดิมที่เคยได้มาตรฐาน CE 1.0 ในปี 2011 ที่ผ่านมา
     
       สันติ เมธาวิกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส UIH อธิบายความแตกต่างของมาตรฐาน MEF CE ว่าใน CE 1.0 จะเน้นไปที่การสร้างมาตรฐานให้แก่โอเปอเรเตอร์ ว่ามีบริการแบบมาตรฐาน แต่พอเป็น MEF CE 2.0 ต้องเน้นไปที่ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูลแต่ละประเภทให้ได้ตามมาตรฐานเป็นเครือข่ายที่สามารถควบคุมจัดการได้ตลอดเวลา และมีความพร้อมในการเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการรายอื่น
     
       “ปัจจุบันมีผู้ที่ผ่านมาตรฐาน MEF CE 2.0ทั้งหมด 11 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก UIH เป็นรายแรกในประเทศไทย ขณะที่ผู้ให้บริการรายอื่นอย่าง กสท โทรคมนาคม ซิมโฟนี และทรู ยังอยู่ในมาตรฐาน CE 1.0 แต่เชื่อว่าผู้ให้บริการเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณามาตรฐานดังกล่าว”
     
       โดยทั้ง 11 รายจะมาจากประเทศจีน ฮ่องกง ไทย และเวียดนาม ประเทศละ 1 บริษัท ส่วนอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ จะมีบริษัทที่ผ่านการรับรอง 2 บริษัท ที่สำคัญมาตรฐานนี้ถือว่าเป็นการทำให้ UIH อยู่ในกลุ่มนำร่องในการให้บริการ เพราะต่อไปเมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เครือข่ายที่มีมาตรฐานก็สามารถทำการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศได้ทันที
     
       ทั้งนี้ คุณสมบัติหลักขององค์กรที่จะผ่านมาตรฐาน MEF CE 2.0 ต้องมี Multiple-Classes of Service (Multi-COS) เพื่อช่วยให้การให้บริการสามารถรองรับแอปพลิเคชันได้หลากหลาย โดยที่ข้อมูลไม่สูญหาย หรือล่าช้า รวมทั้งมีคุณสมบัติในการจัดการระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และรองรับการเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศ
     
       ผลของการได้ใบรับรอง MEF CE 2.0 จะทำให้ลูกค้าองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ในทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะลูกค้าองค์กรที่มีสาขาทั้งใน และต่างประเทศ ที่เลือกใช้บริการจาก UIH จะสามารถพัฒนา หรือออกแบบเครือข่ายให้รองรับการใช้งานทั้งดาต้า คอมมูนิเคชัน และแอปพลิเคชัน ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น
     
       “เนื่องจากทาง UIH ไม่ได้เน้นการแข่งขันด้านราคา เพราะมองว่าการให้บริการราคาถูก แต่ไม่มีประสิทธิภาพลูกค้าก็จะเสียหาย ดังนั้น จึงเชื่อว่าการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นมากขึ้น และยอมที่จะเสียค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเพื่อแลกกับคุณภาพจากบริการที่ได้รับ”
     
       ปัจจุบัน UIH อยู่ในจุดที่ให้บริการลูกค้าองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีความสำคัญต่อธุรกิจของประเทศ เช่น ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกัน ธุรกิจค้าปลีก ดังนั้น จึงมองว่าคุณภาพของบริการเป็นสิ่งสำคัญ โดยที่จะทำให้ลูกค้าไม่ติดขัดในการใช้บริการ สามารถส่งต่อข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือมีมาตรฐานระดับโลกมารองรับ
     
       ขณะเดียวกัน บุคลากรของ UIH ยังมีผู้ที่ได้รับการประกาศนียบัตรผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Carrier Ethernet Certified Professionals (CECP) ที่มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎี ด้านการอินทริเกดระบบเครือข่ายคนเดียวในประเทศไทยอีกด้วย
     
       ที่ผ่านมา UIH จะให้ความสำคัญต่อบุคลากรเป็นหลัก โดยปัจจุบันในกลุ่ม UIH ที่ให้บริการทางด้านบรอดแบนด์จะมีพนักงานราว 600 คน เป็นวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางราว 350 คน ที่เหลือเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายขาย และไอทีบางส่วน
     
       “ในมุมของผู้ให้บริการ คือ ถ้าให้บริการดีคนไม่ชม แต่ถ้าห่วยก็จะโดนด่า ทำให้ต้องมีความอดทนในการรองรับแรงกระแทกแรงๆ ได้ จึงต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพราะในการให้บริการที่ดีบุคลากรต้องมีเซอร์วิสมายด์ และความรู้คู่กันไป”
     
       ***พร้อมเป็นพันธมิตรเมื่อเปิด 4G
     
       พ.อ.เรืองทรัพย์ ให้ข้อมูลต่อว่า UIH ไม่มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 4G แต่ก็พร้อมเข้าร่วมให้บริการ เนื่องจาก UIH มีคอร์เน็ตเวิร์กที่เชื่อมโยงทั่วประเทศกว่า 6 หมื่นกิโลเมตร ครอบคลุม 90% ของประเทศไทย มากกว่า 900 อำเภอ ใน 77 จังหวัด ในปี 2558 ทำให้มีโอกาสที่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะเข้ามาใช้งาน
     
       “การที่ UIH เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายอินเทอร์เน็ต จึงมีโอเปอเรเตอร์บางรายเข้ามาใช้งานเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อไปยังต่างจังหวัดได้ ดังนั้น เมื่อมีการเปิดให้บริการ 4G ก็มีโอกาสที่จะร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้สูง”
     
       นอกจากนี้ ยังมองว่า ด้วยมาตรฐาน MED CE 2.0 ที่ทาง UIH เพิ่งได้มาจะเข้ามาเสริมศักยภาพในการให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP/VoLTE) เพราะมีระบบ COS ที่มาช่วยในการจัดลำดับความสำคัญในการให้บริการ เพราะเมื่อมีการใช้งานวอยซ์ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องให้ความสำคัญมากกว่าการเชื่อมต่อดาต้าทั่วไป ด้วยการนำมาตรฐานดังกล่าวมาช่วยจัดลำดับความสำคัญ

UIH เสริมเขี้ยวรุก AEC

        ***ยังไม่ลุยตลาดคอนซูเมอร์
     
       แม้ปัจจุบันจะมีผู้ให้บริการหลายรายเริ่มหันมาลงทุนให้บริการ FTTx มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการต่อไฟเบอร์ไปยังบ้าน หรือองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก แต่ทาง UIH มองว่า การให้โอกาสธุรกิจท้องถิ่นเข้ามาให้บริการน่าจะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการกระจายรายได้มากกว่า
     
       “ในเรื่อง FTTx นั้น UIH จะเน้นให้บริการทางอ้อม ร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อนำบริการเข้าไปสู่ผู้บริโภคอีกทีหนึ่ง เพราะต้องการสร้างคนในแต่ละพื้นที่ ด้วยการเชื่อมต่อโครงข่ายไป แล้วให้ทางพาร์ตเนอร์บริหารจัดการในพื้นที่ เพื่อสร้างงานมากกว่า”
     
       โดยเชื่อว่าต่อไปในตลาดนี้จะมีการแข่งขันด้านราคากันค่อนข้างสูง พร้อมๆ ไปกับการนำคอนเทนต์มาช่วยเพิ่มมูลค่า ดังนั้น จึงยังให้ความสำคัญต่อตลาดองค์กรขนาดใหญ่ และกลาง ที่ต้องการประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อมากกว่าการเล่นเรื่องราคา
     
       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน UIH ก็เริ่มมีการเปิดให้บริการ WiFi ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อย่างคอนโดมิเนียมของลุมพีนี โดยเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะนำคาปาซิตีที่ให้บริการแก่ภาคธุรกิจในช่วงกลางวัน มาให้บริการแก่ลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งในช่วงเวลากลางคืนแทน
     
       ขณะเดียวกัน UIH ก็ได้เป็นพันธมิตร กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ในการเปิดให้บริการ Dtac WiFi เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอีกช่องทางหนึ่ง ทำให้รวมแล้วถือเป็นการให้บริการตามแนวคิดผู้ให้บริการบรอดแบนด์ด้วยบริการแบบครบวงจร (One Stop Broadband Solution Service) ตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
     
       โดยเน้นใช้กลยุทธ์ทางการตลาด 4 เรื่อง คือ 1.การเป็นผู้ให้บริการบรอดแบนด์โซลูชันครบวงจร 2.เปิดให้บริการคลาวด์ ในรูปแบบของไฮบริดคลาวด์ ไม่ใช่พับบลิกคลาวด์ที่ต้องไปแข่งขันกับผู้ให้บริการจากต่างประเทศ เพราะเชื่อว่าลูกค้ายังมีความกังวลในส่วนของความปลอดภัยเมื่อใช้งานพับบลิคคลาวด์
     
       3.ขยายตลาดเข้าไปในประเทศ AEC เพราะมีความมั่นใจทั้งลูกค้าที่เป็นองค์กรไทยต้องการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ โดยให้ทาง UIH ทำเป็นโซลูชันแบบครบวงจร และลูกค้าจากต่างประเทศที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ามาในประเทศไทย 4.ทำการตลาดร่วมกับพันธมิตร อย่างดีแทค ที่นำเสนอบริการไปยังกลุ่มลูกค้าองค์กร
     


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000035312

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.