Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 มีนาคม 2558 TRUE คู่ค้าได้ลองใช้งาน และพบว่าสามารถใช้งานได้จริง ได้ความเร็ว 4G แบบเต็มสปีด ไม่ใช่การนำ 4G มาให้บริการแต่กั๊กความเร็วไว้ ไม่ต่างกับการให้บริการ 3G ที่สำคัญเมื่อคู่ค้าเห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานแล้วก็จะบอกต่อ

ประเด็นหลัก


       อีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการที่จะทำให้บริการต่างๆเหล่านี้ โดยเฉพาะ 4G เข้าถึงผู้บริโภค ทางทรูมูฟ เอช ได้มีการปรับรูปแบบในการทำงานร่วมกับคู่ค้าใหม่ อย่างเช่นการนำสมาร์ทโฟน และซิมการ์ดที่สามารถใช้งาน 4G ไปให้คู่ค้าที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้ทดลองใช้จริง ซึ่งเมื่อทางคู่ค้าได้มีการใช้งานจริงแล้วก็จะแนะนำไปยังลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วไปต่อ
     
       พรรณไทย ไทยชน ผู้จัดการทั่วไป ประจำภาคใต้ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือต้องใช้คู่ค้าได้ลองใช้งาน และพบว่าสามารถใช้งานได้จริง ได้ความเร็ว 4G แบบเต็มสปีด ไม่ใช่การนำ 4G มาให้บริการแต่กั๊กความเร็วไว้ ไม่ต่างกับการให้บริการ 3G ที่สำคัญเมื่อคู่ค้าเห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานแล้วก็จะบอกต่อ
     
       ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในส่วนของตัวอุปกรณ์ที่สามารถรองรับการใช้งาน 4G เข้ามาวางจำหน่ายด้วย อย่างล่าสุด ที่มีการนำ True Smart 5.5 ที่เป็นแอนดรอยด์โฟนขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว ที่รองรับการใช้งาน 4G ได้ทุกคลื่นในโลกนี้ มาทำโปรโมชันจูงใจด้วยการลดราคา 50% ในช่วงแรก เพื่อกระตุ้นให้คนที่ใช้สมาร์ทโฟน 3G เดิมเปลี่ยนมาใช้งาน
     
       'เชื่อว่าอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G ที่มีราคาไม่สูงมากจากผู้ผลิตแบรนด์จะเริ่มทยอยเข้ามาทำตลาดในช่วงไตรมาส 3 ทำให้เชื่อว่าในช่วงเวลานั้น ปริมาณผู้ใช้งาน 4G จะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากสิ้นปีที่ผ่านมาในเครือข่ายทรูมูฟ เอช มีลูกค้าที่ใช้งาน 4G แล้วมากกว่า 1 ล้านราย'
     
       กลยุทธ์เหล่านี้คือการปรับตัวครั้งสำคัญของทรูมูฟ เอช ที่พยายามวางตัวเป็นผู้นำในการให้บริการ 3G และ 4G ในประเทศไทย ในช่วงจังหวะที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นยังถูกจำกัดด้วยปริมาณคลื่นความถี่ที่สามารถนำมาให้บริการได้
   


_____________________________________________________












เจาะกลยุทธ์ 4G ทรู ปูพรมทั่วประเทศ(Cyber Weekend)




        การโหมกระหน่ำเปิดให้บริการ 4G ล่วงหน้าในขณะที่ยังไม่มีการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz ถือเป็นเกมที่ 2 ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออย่าง ทรูมูฟ เอช และดีแทค ช่วงชิงโอกาสที่จะกลายเป็นผู้นำในการให้บริการดาต้า
     
       โดยทางทรูมูฟ เอช ถือว่าได้มีการประกาศชัดเจนอย่างเป็นทางการแต่แรกแล้วว่าจะนำคลื่นความถี่ จากการประมูลคลื่น 2100 MHz จำนวน 2 บล็อก หรือ 10 MHz มาเปิดให้บริการ 4G ที่เริ่มขยายพื้นที่ให้บริการตั้งแต่ช่วงปีที่ผ่านมาใน 15 หัวเมืองใหญ่ และในช่วงเดือนปลายเดือนเมษายนนี้จะเปิดให้บริการครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ
     
       ในขณะที่ดีแทค หลังจากมีการประกาศว่าจะเปิดให้บริการ 4G ด้วยการนำคลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 1 บล็อก หรือ 5 MHz มาให้บริการ ก็ได้มีการประกาศแผนออกมาเช่นเดียวกันว่าจะเปิดให้บริการครอบคลุม 30 หัวเมืองภายในสิ้นเดือนมีนาคม ซึ่งทางดีแทคก็ได้มีการทยอยเปิดให้บริการไล่ไปทีละจังหวัดตั้งแต่ช่วงปีใหม่ ที่ผ่านมา
     
       ส่วนทางเอไอเอส ตอนนี้แม้ว่าจะยังไม่มีท่าทีชัดเจนออกมาถึงการให้บริการ 4G เพราะความตั้งใจจริงก่อนหน้านี้คือการรอนำคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz มาให้บริการ จึงจำเป็นต้องรอให้มีการเปิดประมูลคลื่นความถี่อย่างเป็นทางการหลังจากที่โดนคำสั่งคสช.ให้ชะลอประมูลไป 1 ปีซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนก.ค.นี้ แต่คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้มีการแทงเรื่องไปให้ทางกสทช.ให้พิจารณาการประมูลคลื่นได้นอกเหนือจากทั้ง 2 ความถี่ดังกล่าวโดยให้รวมถึงความถี่ 2300 MHz ที่บริษัท ทีโอที ใช้อยู่และความถี่ 2600 MHz ซึ่งอยู่ที่บริษัท อสมท โดยให้คำมั่นที่อาจเสียคนภายหลังว่าน่าจะประมูลได้แล้วเสร็จในเดือนส.ค.ที่จะถึงนี้
     
       ย้อนกลับมาดูที่ทรูมูฟ เอช ในฐานะที่ถือความได้เปรียบในการมีคลื่นความถี่พร้อมใช้สามารถนำมาให้บริการได้ทันที จึงเริ่มเดินเกมรุกที่จะครองตลาดผู้ใช้งานดาต้าบนสมาร์ทโฟน ที่ต้องการความเร็วในการเชื่อมต่อ ด้วยการทยอยเปิดให้บริการ 4G อย่างเป็นทางการในแต่ละภูมิภาค หลังจากที่เปิดตัวในกรุงเทพฯเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา ไล่มาจากจังหวัดชลบุรี จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสงขลา อำเภอหาดใหญ่ ก่อนจะไปปิดแคมเปญที่เชียงใหม่ และคาดว่าหลังจากนี้จะมีการเปิดตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละจังหวัด เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของผู้บริโภคต่อไป
     
       ***เลือกเจาะตามภูมิภาค
     
       หลังจากที่ทางกลุ่มทรู ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานภายในเมื่อช่วงต้นปี 57ที่ผ่านมา จากเดิมที่ผู้บริหารระดับสูงแต่ละคนจะดูแลเฉพาะผลิตภัณฑ์ แบบรวมศูนย์อยู่ที่จุดศูนย์กลางคือกรุงเทพฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยการโยกย้ายผู้บริหารที่ดูแลแต่ละผลิตภัณฑ์ ไปควบคุมดูแลแบบรวมศูนย์ในแต่ละภูมิภาคแทน
     
       กล่าวคือ จากเดิมที่มีการแยกผู้บริหารดูแลทรูวิชั่นส์ ทรูออนไลน์ ทรูมูฟ ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นดูแลแต่ละภาคเช่น ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ แทน โดยในจุดนี้ อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการบริหาร ด้านการบริหารจัดการระดับภูมิภาค บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มองว่า มีข้อดีคือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น
     
       'จากเดิมการทำโปรโมชัน หรือออกผลิตภัณฑ์จะเกิดขึ้นจากศูนย์กลาง ก่อนจะกระจายออกไปยังแต่ละจังหวัด แต่ปัจจุบันในแต่ละภูมิภาค สามารถฟังเสียงของผู้บริโภค และนำไปคิดเป็นโปรโมชัน หรือผลิตภัณฑ์ เพื่อนำเสนอให้ทางส่วนกลางออกโปรโมชันเฉพาะแต่ละท้องถิ่นได้ ทำให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น'
     
       อาณัติ ยังให้ข้อมูลต่อว่า อย่างในภาคใต้ทางทรูจะเน้นในเรื่องของการเข้าถึงไอซีทีเป็นหลัก ไม่ใช่เฉพาะในส่วนของผู้บริโภคในพื้นที่ แต่จะรวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในภาคใต้ด้วย เพราะภาคใต้ถือเป็นพื้นที่สำคัญของการท่องเที่ยวในประเทศ มีนักเดินทางจำนวนมากเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว

เจาะกลยุทธ์ 4G ทรู ปูพรมทั่วประเทศ(Cyber Weekend)

        ***รวมร่าง 3G 4G และ WiFi
     
       จุดเด่นอีกอย่างของกลุ่มทรูคือ มีบริการเชื่อมต่อที่ครอบคลุมทั้ง 3G 4G และ WiFi ส่งผลให้สามารถนำรูปแบบการเชื่อมต่อทั้ง 3 เข้ามาตอบสนองการใช้งาน โดยในภาคใต้ได้มีการริเริ่มโครงการ Truemove H WiFi on Board หรือการให้บริการไวไฟบนรถตู้ รถทัวร์ เพื่อให้นักท่องเที่ยว หรือผู้ที่ใช้บริการรถเช่าสาธารณะในพื้นที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ตลอดเวลา
     
       'บริการไวไฟออนบอร์ดเริ่มให้บริการในจังหวัด ภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ โดยเข้าไปร่วมมือกับทางเอกชนที่ให้บริการรถเช่า นำพ็อกเก็ตไวไฟ ที่ใส่ซิมการ์ดทรูมูฟ เอช เข้าไปติดตั้งไว้ในรถ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเปิดแชร์อินเทอร์เน็ตได้ทันที ขณะเดียวกันถ้านักท่องเที่ยวต่างชาติต้องการซื้อซิมการ์ดแบบเติมเงินเพื่อใช้งาน ก็สามารถติดต่อซื้อกับพนักงานขับรถได้ทันที'
     
       นอกจากนี้เนื่องจากการให้บริการเชื่อมต่อแบบไร้สายอย่าง 3G และ 4G ยังสามารถเข้าไปช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตแบบมีสายเข้าไปไม่ถึง ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทางทรูมูฟ เอช ก็จะมีโครงการอย่างการมอบพ็อกเก็ตไวไฟให้ทางโรงเรียนที่ไม่มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ใช้งานฟรี 1 ปีเป็นต้น
     
       ขณะที่ในพื้นที่ ที่มีการให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ ก็จะมีการร่วมมือกับทางภาครัฐ อย่างการเข้าไปติดตั้งไวไฟเพื่อให้บริการฟรีตามศูนย์ราชการในแต่ละจังหวัด เพื่อช่วยให้ประชาชนที่มาใช้บริการสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ด้วย ซึ่งถือเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
     
       ***ผนึกกำลังคู่ค้า ช่วยกระตุ้นยอดคนใช้
     
       อีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการที่จะทำให้บริการต่างๆเหล่านี้ โดยเฉพาะ 4G เข้าถึงผู้บริโภค ทางทรูมูฟ เอช ได้มีการปรับรูปแบบในการทำงานร่วมกับคู่ค้าใหม่ อย่างเช่นการนำสมาร์ทโฟน และซิมการ์ดที่สามารถใช้งาน 4G ไปให้คู่ค้าที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้ทดลองใช้จริง ซึ่งเมื่อทางคู่ค้าได้มีการใช้งานจริงแล้วก็จะแนะนำไปยังลูกค้าที่เป็นประชาชนทั่วไปต่อ
     
       พรรณไทย ไทยชน ผู้จัดการทั่วไป ประจำภาคใต้ ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวเสริมว่า สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือต้องใช้คู่ค้าได้ลองใช้งาน และพบว่าสามารถใช้งานได้จริง ได้ความเร็ว 4G แบบเต็มสปีด ไม่ใช่การนำ 4G มาให้บริการแต่กั๊กความเร็วไว้ ไม่ต่างกับการให้บริการ 3G ที่สำคัญเมื่อคู่ค้าเห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานแล้วก็จะบอกต่อ
     
       ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในส่วนของตัวอุปกรณ์ที่สามารถรองรับการใช้งาน 4G เข้ามาวางจำหน่ายด้วย อย่างล่าสุด ที่มีการนำ True Smart 5.5 ที่เป็นแอนดรอยด์โฟนขนาดหน้าจอ 5.5 นิ้ว ที่รองรับการใช้งาน 4G ได้ทุกคลื่นในโลกนี้ มาทำโปรโมชันจูงใจด้วยการลดราคา 50% ในช่วงแรก เพื่อกระตุ้นให้คนที่ใช้สมาร์ทโฟน 3G เดิมเปลี่ยนมาใช้งาน
     
       'เชื่อว่าอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G ที่มีราคาไม่สูงมากจากผู้ผลิตแบรนด์จะเริ่มทยอยเข้ามาทำตลาดในช่วงไตรมาส 3 ทำให้เชื่อว่าในช่วงเวลานั้น ปริมาณผู้ใช้งาน 4G จะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากสิ้นปีที่ผ่านมาในเครือข่ายทรูมูฟ เอช มีลูกค้าที่ใช้งาน 4G แล้วมากกว่า 1 ล้านราย'
     
       กลยุทธ์เหล่านี้คือการปรับตัวครั้งสำคัญของทรูมูฟ เอช ที่พยายามวางตัวเป็นผู้นำในการให้บริการ 3G และ 4G ในประเทศไทย ในช่วงจังหวะที่โอเปอเรเตอร์รายอื่นยังถูกจำกัดด้วยปริมาณคลื่นความถี่ที่สามารถนำมาให้บริการได้
     
       **** 4 กลยุทธ์สู่ผู้นำ 4G ของ ทรูมูฟ เอช
     
       1.พื้นที่ให้บริการครอบคลุม 80% ของประชากร ใน 77 จังหวัด ภายในสิ้นเดือนเมษายน
       2.ผสานบริการ 3G 4G และ WiFi เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตามนโยบายภาครัฐ
       3.คิดค้นบริการใหม่ในแต่ละภูมิภาค อย่าง ภาคใต้ มี ไวไฟออนบอร์ด ให้ใช้ไวไฟบนรถเช่า
       4.ร่วมกับคู่ค้า ให้คู่ค้าได้ทดลองใช้งานประสบการณ์ 4G และนำไปบอกต่อแก่ลูกค้า
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000035755

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.