Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 มีนาคม 2558 จากสถิติของเฟซบุ๊กทั่วโลก พบว่ามีการชมวิดีโอผ่านเฟซบุ๊กวันละ 1,000 ล้านครั้ง มีช่องทางการรับชม 65% ผ่านโมบายดีไวซ์ มีจำนวนวิดีโอบนเฟซบุ๊กเพิ่มมากขึ้น 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556

ประเด็นหลัก

"จากสถิติของเฟซบุ๊กทั่วโลก พบว่ามีการชมวิดีโอผ่านเฟซบุ๊กวันละ 1,000 ล้านครั้ง มีช่องทางการรับชม 65% ผ่านโมบายดีไวซ์ มีจำนวนวิดีโอบนเฟซบุ๊กเพิ่มมากขึ้น 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 ส่วนข้อมูลเฟซบุ๊กในไทย เดือนกันยายน 2557 มีผู้ใช้งาน 28 ล้านคน ในจำนวนนี้ใช้ผ่านมือถือ 26 ล้านคน เฉลี่ยการใช้งานวันละ 2.35 ชั่วโมง/วัน ช่วงเวลาที่ชอบใช้มากที่สุด คือช่วงหัวค่ำ"

ทั้งยังพบด้วยว่า 57% ของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กค้นพบแบรนด์สินค้าครั้งแรกบนเฟซบุ๊ก 68% มีการค้นหาสินค้าบนเฟซบุ๊กก่อนตัดสินใจ ขณะเดียวกันเรื่องการรับชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กพบว่า 71% เคยรับชมวิดีโอบนหน้านิวส์ฟีด และ 51% เคยมีการอัพโหลดวิดีโอบนเฟซบุ๊ก

"การรับชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังมีแคมเปญไอซ์บักเก็ตชาเลนจ์ที่ทำให้เกิดการแชร์วิดีโอบนเฟซบุ๊กกว่า 17 ล้านครั้ง มียอดวิว 10,000 ล้านวิวจากผู้ชม 440 ล้านคนทั่วโลก ทำให้มีการบริจาคในโครงการกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นว่าวิดีโอบนเฟซบุ๊กสร้างอิมแพ็กต์ให้ผู้คนได้จริง วัดผลจริงผ่านยอดวิว และการตอบสนองของผู้คนด้วยการคอมเมนต์ต่างๆ"

เมื่อเร็วๆ นี้ ยังมีการนำเสนอเครื่องมือช่วยรับชมวิดีโอ แบ่งเป็น 1.เครื่องมือช่วยเสริมวิดีโอบนนิวส์ฟีด 2.เครื่องมือการเลือกวิดีโอให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 3.เครื่องมือช่วยจำแนกผู้ชมที่มีการรับชมวิดีโอไปแล้ว เพื่อเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือวิดีโอตัวต่อไปได้ 4.คอล ทู แอ็กชั่น (Call to Action) เครื่องมือเพิ่มลิงก์บนวิดีโอเพื่อให้กดไปหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำการซื้อขายได้ทันที 5.เครื่องมือวัดผลการรับชมที่จำแนกผู้ชมที่ชม 3 วินาที กับผู้รับชมที่ชมไป 95% ของวิดีโอ และ 6.ฟีเจอร์เล่นวิดีโออัตโนมัติ เมื่อเลื่อนผ่านบนโมบายดีไวซ์ (บริการนี้ยังไม่เปิดให้บริการในไทย)



_____________________________________________________











ส่องพฤติกรรม คนยุคโซเชียล สารพัดวิธีเปลี่ยนคลิก "ไลก์" เป็นยอดขาย



พัฒนาการของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับพฤติกรรมผู้บริโภคไทยเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นมิติใหม่ในการรู้จักสินค้าการสั่งซื้อ ชำระเงิน และรับของทำให้แบรนด์ต่าง ๆ ต้องปรับตัวให้เท่าทันลูกค้าของตนให้มากขึ้น


คนยุคใหม่ออนไลน์ 4.2 ชม./วัน

"อาภาภัทร บุญรอด" กรรมการผู้จัดการ ทีเอ็นเอส ประเทศไทย ระบุว่า พฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะในยุคโมบายดีไวซ์ เพราะมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือตั้งแต่ตื่นนอน เดินทาง กินข้าว ช็อปปิ้ง ไปจนถึงก่อนเข้านอน ซึ่งจากการเก็บข้อมูลของทีเอ็นเอสพบว่าคนไทยออนไลน์เฉลี่ย 4.2 ชั่วโมง/วัน ไม่นับระยะเวลาทำงาน แบ่งเป็นการออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ 60% แล็ปทอป 29% และแท็บเลต 11%

มากกว่าการรับชมโทรทัศน์ที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.6 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น

"แต่ละคนครอบครองดีไวซ์เฉลี่ยคนละ 3 เครื่อง ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเลต แล็ปทอป เดสก์ทอป สมาร์ททีวีหรือเกมคอนโซล มีการเข้าถึงสมาร์ทโฟนถึง 80% ในลักษณะที่เรียกว่า โมบายเซนทริก หรือติดการออนไลน์ผ่านมือถือมากที่สุด พฤติกรรมโดยรวมจะชื่นชอบการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก, ยูทูบ และไลน์ ขณะที่กิจกรรมที่ชื่นชอบคือการรับชมวิดีโอออนไลน์"

จากการเก็บข้อมูลยังพบด้วยว่า 14% ของคนไทย รับชมโทรทัศน์ และวิดีโอออนไลน์อย่างมาก และ 40% รับชมโทรทัศน์มาก และรับชมวิดีโอออนไลน์เล็กน้อย ซึ่งกลุ่มหลังกำลังเติบโตไปเป็นกลุ่มแรกมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะวิดีโอออนไลน์ตอบโจทย์พฤติกรรมคนไทยที่ชอบเลือกชมเนื้อหาด้วยตนเอง ใจร้อนและไม่ชอบดูโฆษณา รวมทั้งมีความชื่นชอบการรับชมวิดีโอระหว่างเดินทาง และชอบชมโทรทัศน์ และออนไลน์ไปด้วยแบบมัลติสกรีน

3 ขั้นตอนพิชิตใจลูกค้า

สิ่งที่แบรนด์สินค้าและบริการต่าง ๆ ต้องใส่ใจเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคบนโลกออนไลน์มี 3 เรื่องด้วยกัน

1.ต้องสร้างแรงสะเทือนต่อลูกค้า (อิมแพ็กต์) เริ่มต้นจากการทำให้จดจำแบรนด์ได้ เมื่อจำได้ก็ต้องให้สร้างความหมายในทางที่ดีให้แบรนด์ ไปจนถึงทำให้ลูกค้าต้องการสินค้า

2.ทรานสฟอร์ม หรือการเปลี่ยนผู้ใช้บนโลกออนไลน์มาเป็นลูกค้าให้ได้ หากมียอดไลก์มากแต่ทำให้มีการซื้อไม่ได้ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จในการโฆษณาออนไลน์

3.เอ็นเกจเมนต์ หรือการเข้าถึงลูกค้าต้องมีการเข้าถึงอย่างต่อเนื่อง อย่าหายไปนาน ๆ ออนไลน์ต้องการความถี่ ต้องนำสิ่งที่เป็นกระแสหรือความสนใจ

ของลูกค้ามาพูดคุยหรือนำเสนออย่างต่อเนื่อง เช่น ช่วงที่มีกระแสเหนียวไก มีแบรนด์หลายแบรนด์นำมาเล่นกับผู้บริโภคได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องพูดคุยภาษาเดียวกับผู้บริโภคทำให้ตนเองอยู่ในโลกเดียวกันกับลูกค้า

"ดังนั้นแบรนด์สินค้าที่ต้องการเข้าถึงผู้บริโภคจะต้องมองช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางสำคัญช่องทางหนึ่งแต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากพื้นฐานของโปรดักต์ตนเองในการเลือกวิธีการและรูปแบบด้วยเช่น สินค้าประเภทเฮลท์แคร์ ควรสื่อสารในรูปแบบที่ทำให้คนชอบแบรนด์ รู้สึกดีกับแบรนด์ ต่างจากแบรนด์บริการทางการเงินที่ควรสื่อสารในลักษณะที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าบริการที่มีง่าย และน่าใช้ เป็นต้น"





5 คำฮิตบนโลกออนไลน์

"สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล" กรรมการและผู้ก่อตั้งบริษัท แบรนด์เบเกอร์ บริษัทดิจิทัล เอเจนซี่ กล่าวว่า สิ่งที่คนพูดกันบนโลกออนไลน์ ถือเป็นความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นสิ่งที่ส่งออกมา คือความรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ที่มีผลต่อการพิจารณาการทำการตลาดบนโลกออนไลน์

จากการสำรวจผ่านเครื่องมือของบริษัทพบปริมาณข้อมูลที่มีการสื่อสารออนไลน์ในประเทศไทยในปี2557กว่า 46,000 ล้านคำ นับเป็นปริมาณได้มากกว่า 50 TB แบ่งเป็นข้อมูลการพูดคุยจากเฟซบุ๊ก 1,000 ล้านคำ ทวิตเตอร์ 3,000 ล้านคำ เว็บบอร์ดคอมเมนต์ 10 ล้านคำ กระทู้สนทนา 4 ล้านคำ ข่าว 1 ล้านคำ และอินสตาแกรม 6 แสนคำ

คำฮอตฮิตที่สุด ได้แก่ "ดี-ราคา-คนเดียว-อร่อย-คอนโด" สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่คนต้องการ ชื่นชอบ พฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นอย่างไร สิ่งที่มองหาคือของที่ดี มีการพิจารณาด้านราคา มีกลุ่มพฤติกรรมที่อยู่คนเดียว ชอบอาหารที่อร่อย และมีกลุ่มที่อยู่อาศัยในคอนโดฯ

การรับรู้ดังกล่าวจะนำมาวิเคราะห์สำหรับแบรนด์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้

ยกตัวอย่าง จากการเก็บตัวอย่างข้อมูลกลุ่มตัวอย่างกว่า 200,000 คำ ระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม 2557 พบว่า เมื่อค้นหาคำว่า "อาหาร" ขึ้นมาและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของคำที่เกี่ยวข้อง พบคำว่า "คุ้ม-เพื่อน-พนักงาน-บุฟเฟต์" เป็นคำเชิงบวกที่คนพูดถึงเรื่องอาหาร แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชอบการรับประทานบุฟเฟต์ ซึ่งอาจเป็นการรับประทานกับกลุ่มเพื่อน หรือเพื่อนพนักงานที่ทำงาน โดยมีการเน้นเรื่องของความคุ้มค่าด้วย

"ความสำคัญของคำที่ผู้บริโภคพูดถึงจะช่วยสะท้อนภาพ สิ่งที่นักการตลาดออนไลน์ต้องเร่งสร้างให้เห็นภาพมากที่สุด หากมีคำไหนติดลบ ก็ต้องแก้จุดดังกล่าวออก หรือไม่นำไปพูดถึง เช่น ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ เมื่อมีคำว่าช้า เป็นคำที่พูดถึงในโลกออนไลน์ก็ต้องแสดงภาพ ของเร็ว ที่ตรงข้ามกันให้เห็น"


"เฟซบุ๊ก" เพิ่มฟีเจอร์วิดีโอ

"รฐิยา อิสระชัยกุล" หัวหน้าทีมแอ็กเคานต์ เมเนจเมนต์ เฟซบุ๊ก โกลบอล กล่าวว่า การรับชมวิดีโอกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กมีบริการใหม่ที่เกี่ยวกับวิดีโอรองรับนักการตลาดออนไลน์ โดยดึงจุดเด่นของเฟซบุ๊กอย่างการอัพเดตหน้านิวส์ฟีดที่ทำให้ผู้ใช้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ที่มีการอัพเดตตลอดเวลา โดยฟีเจอร์วิดีโอบนเฟซบุ๊กสามารถรับชมได้สะดวก และรวดเร็วกว่าการนำลิงก์ของแพลตฟอร์มอื่น ๆ มาโพสต์ลิงก์เมื่อรับชมผ่านมือถือ และสามารถรับรู้ผลตอบรับของผู้บริโภคผ่านคอมเมนต์ได้อย่างสะดวก

"จากสถิติของเฟซบุ๊กทั่วโลก พบว่ามีการชมวิดีโอผ่านเฟซบุ๊กวันละ 1,000 ล้านครั้ง มีช่องทางการรับชม 65% ผ่านโมบายดีไวซ์ มีจำนวนวิดีโอบนเฟซบุ๊กเพิ่มมากขึ้น 3.6 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2556 ส่วนข้อมูลเฟซบุ๊กในไทย เดือนกันยายน 2557 มีผู้ใช้งาน 28 ล้านคน ในจำนวนนี้ใช้ผ่านมือถือ 26 ล้านคน เฉลี่ยการใช้งานวันละ 2.35 ชั่วโมง/วัน ช่วงเวลาที่ชอบใช้มากที่สุด คือช่วงหัวค่ำ"

ทั้งยังพบด้วยว่า 57% ของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กค้นพบแบรนด์สินค้าครั้งแรกบนเฟซบุ๊ก 68% มีการค้นหาสินค้าบนเฟซบุ๊กก่อนตัดสินใจ ขณะเดียวกันเรื่องการรับชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กพบว่า 71% เคยรับชมวิดีโอบนหน้านิวส์ฟีด และ 51% เคยมีการอัพโหลดวิดีโอบนเฟซบุ๊ก

"การรับชมวิดีโอบนเฟซบุ๊กเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังมีแคมเปญไอซ์บักเก็ตชาเลนจ์ที่ทำให้เกิดการแชร์วิดีโอบนเฟซบุ๊กกว่า 17 ล้านครั้ง มียอดวิว 10,000 ล้านวิวจากผู้ชม 440 ล้านคนทั่วโลก ทำให้มีการบริจาคในโครงการกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นว่าวิดีโอบนเฟซบุ๊กสร้างอิมแพ็กต์ให้ผู้คนได้จริง วัดผลจริงผ่านยอดวิว และการตอบสนองของผู้คนด้วยการคอมเมนต์ต่างๆ"

เมื่อเร็วๆ นี้ ยังมีการนำเสนอเครื่องมือช่วยรับชมวิดีโอ แบ่งเป็น 1.เครื่องมือช่วยเสริมวิดีโอบนนิวส์ฟีด 2.เครื่องมือการเลือกวิดีโอให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย 3.เครื่องมือช่วยจำแนกผู้ชมที่มีการรับชมวิดีโอไปแล้ว เพื่อเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือวิดีโอตัวต่อไปได้ 4.คอล ทู แอ็กชั่น (Call to Action) เครื่องมือเพิ่มลิงก์บนวิดีโอเพื่อให้กดไปหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำการซื้อขายได้ทันที 5.เครื่องมือวัดผลการรับชมที่จำแนกผู้ชมที่ชม 3 วินาที กับผู้รับชมที่ชมไป 95% ของวิดีโอ และ 6.ฟีเจอร์เล่นวิดีโออัตโนมัติ เมื่อเลื่อนผ่านบนโมบายดีไวซ์ (บริการนี้ยังไม่เปิดให้บริการในไทย)

"ในอนาคตอันใกล้ วิดีโอบนเฟซบุ๊กจะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของนักการตลาด ประกอบไปด้วยฐานข้อมูลจริงของลูกค้าอย่างละเอียด ทำให้ส่งข้อมูลไปถึงผู้บริโภคกลุ่มที่แบรนด์ต้องการได้จริงเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์อื่น ๆ"



เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทำให้การรู้จักเลือกใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มี และทำความข้าใจ (ผู้บริโภค) เป็นสิ่งที่สินค้าและบริการไม่อาจมองข้ามไปได้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427344986

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.