Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 มีนาคม 2558 (บทความ) 4G กับ อีคอมเมิร์ซ-อีเพย์เม้นท์? // ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน ของ สพธอ. ชี้ ปัจจัยจาก 4จีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นออกแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือจะมีการทดลองดาวน์โหลดเพื่อใช้งาน

ประเด็นหลัก



ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน ของ สพธอ. กล่าวว่า ปัญหาของอี-เพย์เม้นท์ และ อี-คอมเมิร์ซ คือ คนส่วนใหญ่ไม่กล้าใช้บริการเหตุไม่มั่นใจในความปลอดภัย ขณะที่จากผลสำรวจพบว่ามูลค่าการซื้อสินค้าออนไลน์มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สพธอ. จึงร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Payment Message Standard : NPMS) ขึ้นมา เพื่อให้ภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินสามารถรับ-ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินระหว่างกันได้สะดวก โดยใช้รูปแบบข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล  ISO 20022 ช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน ทั้งยังรู้ได้ทันทีหากพบข้อความหรือข้อมูลที่ผิดปกติ ล่าสุด เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนหรือเออีซี สพธอ.กับ ธปท. มีแผนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค

ส่วนแนวโน้มการเติบโตของการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ในไทย ดร.อุรัชฎา กล่าวว่า เมื่อเทียบอัตราการเติบโตจากปี 2556 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 765 ล้านล้านบาท เพิ่มเป็น 825 ล้านล้านบาทในปี 2557 ดังนั้นในปี 2558 จึงคาดการณ์ได้ว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยจาก 4จีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นออกแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือจะมีการทดลองดาวน์โหลดเพื่อใช้งาน ส่งผลให้เกิดการชำระเงินค่าแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มูลค่าตลาดอี-เพย์เม้นท์โต





_____________________________________________________













?4 จี กับ อีคอมเมิร์ซ-อีเพย์เม้นท์?
อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท้นท์หรือการผลิตเนื้อหาดิจิตอล เป็นอุตสาหกรรมที่ธนาคารและรัฐบาลต้องช่วยกันสนับสนุน


การมี 4จี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการทดลองแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอีเพย์เม้นท์...

นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวระหว่างปาฐกถาในหัวข้อ “อนาคตและทิศทางของบริการ อี-เพย์เม้นท์ (e-Payment) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล” ว่า การผลักดันเรื่องอี-เพย์เม้นท์ หรือการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ สพธอ.เข้าไปช่วยสนับสนุนเรื่องระบบหลังบ้าน ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการทำอี-เพย์เม้นท์ ส่วนหนึ่งเพราะมีความเร็วอินเทอร์เน็ตที่สูง ดังนั้นหากประเทศไทยจะประสบความสำเร็จในการทำอี-เพย์เม้นท์ก็ต้องกลับมาดูเรื่องโครงสร้างด้านโทรคมนาคมด้วย

นางสุรางคณา กล่าวว่า มูลค่าตลาดอี-เพย์เม้นท์ของไทยปี 2557 อยู่ที่ 825 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซ 768,014 ล้านบาท แม้มูลค่าตลาดดังกล่าวจะสูงแต่พบว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ก็มีมาก โดยไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ในประเทศที่มีความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สูง เนื่องจากหน้าเว็บไซต์ของรัฐบาลถูกแฮกมากที่สุด และจากการจัดอันดับความเสี่ยงทางไซเบอร์พบว่าไทยอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากประเทศอินโดนีเซีย และจีน ตามลำดับ

“อุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเท้นท์หรือการผลิตเนื้อหาดิจิตอล เป็นอุตสาหกรรมที่ธนาคารและรัฐบาลต้องช่วยกันสนับสนุน เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าตลาดสูงถึง 4 แสนล้านล้านบาท แต่บริษัทต่างชาติไม่ค่อยเข้ามาลงทุนในไทย เพราะติดเรื่องอินเทอร์เน็ตที่ยังมีความเร็วไม่มากพอ สิ่งนี้เป็นเหตุผลให้รัฐบาลต้องประมูล 4จี เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตมีความเร็วเพียงพอที่จะดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการทำให้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มีมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 20022 ซึ่งเป็นสิ่งที่ สพธอ.ดำเนินการอยู่” นางสุรางคณา กล่าว

ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐาน ของ สพธอ. กล่าวว่า ปัญหาของอี-เพย์เม้นท์ และ อี-คอมเมิร์ซ คือ คนส่วนใหญ่ไม่กล้าใช้บริการเหตุไม่มั่นใจในความปลอดภัย ขณะที่จากผลสำรวจพบว่ามูลค่าการซื้อสินค้าออนไลน์มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สพธอ. จึงร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (National Payment Message Standard : NPMS) ขึ้นมา เพื่อให้ภาคธุรกิจกับสถาบันการเงินสามารถรับ-ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินระหว่างกันได้สะดวก โดยใช้รูปแบบข้อมูลที่มีมาตรฐานเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล  ISO 20022 ช่วยลดภาระการจัดการข้อมูลของภาคธุรกิจและสถาบันการเงิน ทั้งยังรู้ได้ทันทีหากพบข้อความหรือข้อมูลที่ผิดปกติ ล่าสุด เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนหรือเออีซี สพธอ.กับ ธปท. มีแผนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับมาตรฐานกลางข้อความการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค

ส่วนแนวโน้มการเติบโตของการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ในไทย ดร.อุรัชฎา กล่าวว่า เมื่อเทียบอัตราการเติบโตจากปี 2556 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 765 ล้านล้านบาท เพิ่มเป็น 825 ล้านล้านบาทในปี 2557 ดังนั้นในปี 2558 จึงคาดการณ์ได้ว่าจะมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยจาก 4จีจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นออกแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ และผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือจะมีการทดลองดาวน์โหลดเพื่อใช้งาน ส่งผลให้เกิดการชำระเงินค่าแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มูลค่าตลาดอี-เพย์เม้นท์โต

จากผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยปี 2557 ที่ สพธอ.จัดเก็บข้อมูล พบว่า ในรอบ 3 เดือนคนนิยมซื้อสินค้า/บริการ ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ไม่เกิน 1 ครั้งคิดเป็น 27.5% โดยมีราคาสินค้า/บริการ ไม่เกิน 1,000 บาทคิดเป็น 42% ขณะที่ช่องทางการชำระเงิน 60.1% ใช้วิธีโอนเงินผ่านธนาคาร 42.8% ชำระผ่านบัตรเครดิต และ 16.8% ชำระผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

ส่วนคำถามของผลสำรวจที่ว่า ในรอบ 3 เดือนคนนิยมทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่มากแค่ไหน พบว่า เคยทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ระหว่าง 1-5 ครั้ง คิดเป็น 60.2% รองลงมาเคยทำธุรกรรมฯ ระหว่าง 6-10 ครั้ง คิดเป็น 24.3% โดยมูลค่าสูงสุดของการทำธุรกรรมทางการเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท/ครั้ง

สำหรับผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของไทยปี 2558 ขณะนี้ สพธอ. อยู่ระหว่างจัดเก็บข้อมูล สามารถเข้าไปตอบแบบสำรวจได้ที่ www.etda.or.th

ล่าสุด ประเทศไทยมีการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 97.6 ล้านเลขหมาย ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 26 ล้านคน ใช้งานเฟซบุ๊ก 28 ล้านคน และใช้งานไลน์ 33 ล้านคน ขณะที่ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อสัปดาห์ก็เพิ่มขึ้นจาก 32.3 ชั่วโมง/สัปดาห์ในปี 2556 เป็น 50.4 ชั่วโมง/สัปดาห์ในปี 2557

ดังนั้น เรื่องการใช้ชีวิตแบบดิจิตอล การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ และการก้าวสู่สังคมแบบเศรษฐกิจดิจิตอลจึงเป็นเรื่องไม่ไกลตัว.

น้ำเพชร จันทา

@phetchan


http://www.dailynews.co.th/Content/IT/311048/4+จี+กับ+อีคอมเมิร์ซ-อีเพย์เม้นท์

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.