Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 เมษายน 2558 (บทความ) "ดิจิทัลทีวี" ใครรอด-ใครร่วง ช่อง SD แข่งดุ-แค่ทุนหนาไม่พอ // PPTV ระบุสายป่านยาวทุนหนาไม่พอ รวมถึงเตรียมพร้อมในการสร้างแพลตฟอร์มรองรับช่องทางออนไลน์ที่จะเติบโตขึ้นแน่นอนจากการมาถึงของเทคโนโลยี 4G

ประเด็นหลัก

บริหารช่อง PPTV กล่าวว่า การจะทำช่องให้ประสบความสำเร็จแค่สายป่านยาวทุนหนาไม่พอ ต้องมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่แม่นยำชัดเจน

"แม้ว่าสายป่านของช่องจะยาว แต่ก็เป็นช่องเดียวในกลุ่มดิจิทัลที่ไม่เคยทำธุรกิจสื่อมาก่อน สิ่งแรกที่เริ่มทำจึงเป็นการวางแผนระยะ 3 ปี ว่าแต่ละปีเราจะทำอะไร สิ่งที่เห็นได้อย่างแรกคือการสร้างฐานคนดู ซึ่งเรามองว่าละครและรายการบันเทิงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย ก็เลือกตามเทรนด์ความนิยม เราซื้อรายการต่างประเทศมา เช่น ซีรีส์เกาหลี ทำให้จากที่ไม่มีฐานคนดูเลย ก็กลายเป็นมีฐานคนดูวัยรุ่นที่เป็นแฟนของละครหรือรายการเกาหลีที่แข็งแรงมาก ขณะที่ละครไทยก็มีผู้จัดเข้ามาเป็นพันธมิตรแล้วกว่า 20 ราย รวมถึงพัฒนารายการข่าวที่มีทั้งส่วนที่ดึงคนข่าวเข้ามาร่วมและใช้เอาต์ซอร์ซ รวมถึงลงทุนหลายร้อยล้านบาทในด้านเทคโนโลยี"

PPTV ให้ความสำคัญกับการสร้างฐานคนดู รวมถึงเตรียมพร้อมในการสร้างแพลตฟอร์มรองรับช่องทางออนไลน์ที่จะเติบโตขึ้นแน่นอนจากการมาถึงของเทคโนโลยี 4G เพื่อให้ PPTV สามารถรับชมจากหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งแม้จะลงทุนหนักในช่วงแรก แต่จะทำให้ช่องอยู่รอดได้ในระยะยาว



_____________________________________________________

















"ดิจิทัลทีวี" ใครรอด-ใครร่วง ช่อง SD แข่งดุ-แค่ทุนหนาไม่พอ


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ย้อนไปเมื่อ 25 เม.ย.ปีที่แล้ว ถือเป็นวันดีเดย์ที่ 24 ช่องทีวีดิจิทัลเริ่มทดลองออกอากาศ 1 ปีผ่านไป "กสทช." สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้เปิดตัวเลขผลวิเคราะห์มูลค่าโฆษณาบนช่องดิจิทัลบนเวทีเสวนา "ใครรอด ใครร่วง ชี้ชะตาทีวีดิจิตอลไทย" โดยคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


โดย "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการ กสทช.ระบุว่า สภาพตลาดทีวีในปี 2556 มีมูลค่าโฆษณากว่า 69,000 ล้านบาท กระจายอยู่ใน 6 ช่องฟรีทีวีแอนะล็อกเดิม เม.ย. 2557 มีงบฯโฆษณาลงใน 21 ช่องดิจิทัลใหม่ที่ไม่ใช่ฟรีทีวีเดิมเพียง 255 ล้านบาทเท่านั้น แต่ ณ 15 มี.ค. 2558 พบว่าเติบโตขึ้นเป็น 1,573 ล้านบาท และคาดว่าก.ค. 58 จะแซงหน้าฟรีทีวี 6 ช่องเดิม

"ต้องยอมรับว่าในช่วง 1-2 ปีแรกของการออกอากาศ รายได้ช่องดิจิทัลจะยังน้อยและอาจมีผู้ประกอบการ 2-3 รายไปไม่รอด หรือต้องหาแหล่งทุนใหม่ แต่จากนี้ รายได้โฆษณาจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามฐานคนดู ทางรอดจึงขึ้นอยู่กับเนื้อหาจูงใจคนดู มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำได้ ซึ่งรายรับของผู้ประกอบการแต่ละช่องจะโตกว่าปีก่อน 3 เท่าแน่นอน ขึ้นอยู่กับการปรับตัวของช่อง"


คอนเวอร์เจนซ์ทางรอด

"ธาม เชื้อสถาปนศิริ" นักวิชาการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) ไทยพีบีเอสกล่าวว่า ปัจจัยที่จะทำให้ช่องดิจิทัลไปไม่รอด คือ "เรตติ้ง-อัตราค่าโฆษณา-รายได้-กฎ กสทช."

"แต่สุดท้ายแล้วคำถามจะไปอยู่ที่ว่า ประชาชนได้ประโยชน์อะไรจากการที่ กสทช.ทำทีวีดิจิทัล กฎระเบียบที่กำหนดจะสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ให้ช่องต่าง ๆ ตอบโจทย์พันธกิจนี้ได้อย่างไร คือการที่บางช่องไปซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศมาถึง 80%?"

สภาพการแข่งขันของธุรกิจทีวีจากนี้จะเปลี่ยนไป เดิมแต่ละช่องแข่งกันให้คนดูจดจำเลขช่อง จำวันออกอากาศ แต่ทุกวันนี้ผู้ชมเลือกดูย้อนหลังทางออนไลน์ตามเวลาที่ตนเองสะดวกได้

"อำนาจอยู่ที่ผู้ชม แพลตฟอร์มอื่นจะกระโดดเข้ามาแข่งด้วย รูปแบบการหารายได้จากโฆษณาต้องเปลี่ยน ต่อไปการตลาดจะไปถึงระดับกดซูมเข้าไปดูยี่ห้อเสื้อผ้าที่ดาราใส่ได้แล้วสั่งซื้อได้ทันที ยิ่งมีเทคโนโลยีคมชัดระดับ 4K แล้ว ส่วนคอนเทนต์อาจจะต้องทำเฉพาะสำหรับแต่ละแพลตฟอร์มเหมือนกับ LINE TV"

เทรนด์การแข่งขันแค่คอนเทนต์ไม่พอ ต้องพัฒนาให้ตอบโจทย์มัลติสกรีนและคอนเวอร์เจนซ์ ต่อยอดและสร้างรายได้ข้ามสื่อ เช่น สร้างเกมจากรายการทีวี การสร้างอินเตอร์แอ็กทีฟทีวีและเทเลวิชั่นคอมเมิร์ซ

"ต่อให้ทุนหนา แต่ถ้ายังคิดและทำตลาดแบบเดิม ๆ ก็อาจไม่รอด"







ช่องแข่งดุ-ทุนใหม่พร้อมเสียบ

"เขมทัตต์ พลเดช" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด (PPTV-HD) กล่าวว่า กฎระเบียบ กสทช. กระทบผู้ประกอบการโดยตรง หากกรรมการเสียงแตกก็จะทำให้การขับเคลื่อนทีวีดิจิทัลช้าลง เช่นเดียวกับการขยายโครงข่าย

ถ้าดูผลสำรวจเรตติ้งของแต่ละช่องจะพบว่า ช่องดิจิทัลประเภทความคมชัดมาตรฐาน (SD) มีการแข่งขันสูง เพราะต้องแข่งทั้งกับช่อง SD ด้วยกัน และช่องวาไรตี้ความคมชัดสูง (HD) ซึ่งมีคอนเทนต์ในรูปแบบไม่ต่างกัน ทำให้เรตติ้งช่อง SD อยู่ในอันดับท้าย ๆ

ขณะที่การรายงานตัวเลขมูลค่าโฆษณาผ่านสื่อทีวีดิจิทัล ยังไม่สะท้อนรายได้แท้จริงของผู้ประกอบการ เนื่องจากเป็นช่องที่เพิ่งเริ่มต้นออกอากาศ และมีการเสนอส่วนลดให้กับบรรดาเอเยนซี่โฆษณาในอัตราสูง

ด้าน "ศุทธิชัย บุนนาค" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สปริงนิวส์ จำกัดกล่าวว่า การบริหารต้นทุนเป็นทางรอดของแต่ละช่องในภาวะที่ระบบทั้งหมดยังไม่สมบูรณ์ แต่เชื่อว่าขณะนี้มีนายทุนพร้อมเข้ามาซื้อกิจการต่อ ซึ่งน่าจะเห็นได้ชัดภายใน 3-5 ปีจากนี้

ขณะที่ "รุ่งโรจน์ จรัสแจ่มแก้ว" ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายบรอดแคสต์ บริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัดกล่าวว่า ปัญหาหลักของทีวีดิจิทัลตอนนี้คือประชาชนทีี่ส่วนมากไม่เข้าใจวิธีการชมจึงอยากจะให้ กสทช.เข้ามาแก้ไข

ทุนหนาอย่างเดียวไม่พอ

ผู้บริหารช่อง PPTV กล่าวว่า การจะทำช่องให้ประสบความสำเร็จแค่สายป่านยาวทุนหนาไม่พอ ต้องมีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่แม่นยำชัดเจน

"แม้ว่าสายป่านของช่องจะยาว แต่ก็เป็นช่องเดียวในกลุ่มดิจิทัลที่ไม่เคยทำธุรกิจสื่อมาก่อน สิ่งแรกที่เริ่มทำจึงเป็นการวางแผนระยะ 3 ปี ว่าแต่ละปีเราจะทำอะไร สิ่งที่เห็นได้อย่างแรกคือการสร้างฐานคนดู ซึ่งเรามองว่าละครและรายการบันเทิงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย ก็เลือกตามเทรนด์ความนิยม เราซื้อรายการต่างประเทศมา เช่น ซีรีส์เกาหลี ทำให้จากที่ไม่มีฐานคนดูเลย ก็กลายเป็นมีฐานคนดูวัยรุ่นที่เป็นแฟนของละครหรือรายการเกาหลีที่แข็งแรงมาก ขณะที่ละครไทยก็มีผู้จัดเข้ามาเป็นพันธมิตรแล้วกว่า 20 ราย รวมถึงพัฒนารายการข่าวที่มีทั้งส่วนที่ดึงคนข่าวเข้ามาร่วมและใช้เอาต์ซอร์ซ รวมถึงลงทุนหลายร้อยล้านบาทในด้านเทคโนโลยี"

PPTV ให้ความสำคัญกับการสร้างฐานคนดู รวมถึงเตรียมพร้อมในการสร้างแพลตฟอร์มรองรับช่องทางออนไลน์ที่จะเติบโตขึ้นแน่นอนจากการมาถึงของเทคโนโลยี 4G เพื่อให้ PPTV สามารถรับชมจากหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งแม้จะลงทุนหนักในช่วงแรก แต่จะทำให้ช่องอยู่รอดได้ในระยะยาว

บุคลากรไม่พอกับดีมานด์

ตัวแทนจาก "สปริงนิวส์" กล่าวว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีและบุคลากรที่จะใช้การผลิตเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสปริงนิวส์พร้อมลงทุนแต่การผลิตบุคลากรของสถาบันการศึกษาปัจจุบันยังไม่พอป้อนตลาด

ผู้อำนวยการอาวุโส"อมรินทร์เทเลวิชั่น"กล่าวว่า ช่องอมรินทร์ยังมีทุนรองรับไปถึง 5-8 ปี โดยได้ปรับแผนคืนทุนจากเดิม 3-5 ปี เป็น 8-10 ปี และใช้กลยุทธ์ทำตลาดด้วยการผสานสื่อในเครือทั้งสิ่งพิมพ์และทีวีเพื่อเพิ่มโอกาสในการหารายได้เพิ่มของทั้งสองช่องทาง



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1428553726

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.