Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 เมษายน 2558 (บทความ) Lawful+Interception+ความมั่นคงกับความเป็นส่วนตัว // การสื่อสารใด ๆ ของเรานั้นจะมีการเก็บร่องรอยอยู่ตลอดเวลา (แม้หากรัฐบาลประเทศเราจะไม่ได้ทำ แต่รัฐบาลของหลายประเทศก็ดำเนินการอยู่)

ประเด็นหลัก


Interceptได้ก่อน ย่อมจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันเหตุร้ายก่อนที่จะเกิดขึ้น ในช่วงกว่า10ปีที่ผ่านมา การก่อการร้ายในโลกมีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศก็ทำการInterceptข้อมูลดิจิตอลทั้งหลาย เพื่อให้สามารถป้องกันเหตุร้ายได้ทันกาล หากแต่การInterceptสมัยใหม่นี้อาจจะต่างจากเดิมคือ หลายประเทศมีการกำหนดเป็นนโยบายด้านความมั่นคงระดับชาติที่อาจไม่มีหมายศาลหรือขบวนการยุติธรรมกำกับ ทั้งนี้เนื่องจากสื่อดิจิตอลจะต้องมีการจัดเก็บและนำมาสังเคราะห์และวิเคราะห์อีกชั้นหนึ่งสำหรับการติดตามต้นทาง ต่างจากการดักฟังสมัยก่อนที่ต้องมีการเข้าถึงสายสัญญาณหรือระบบเครือข่ายโดยตรง หากจะต้องรอการอนุญาตจากขบวนการยุติธรรมอาจจะไม่ทันกาล ในบางประเทศมีการปิดกั้นสื่อหรือบริการที่หน่วยงานรัฐบาลอาจจะไม่สามารถIntercept ได้ เช่น ประเทศจีนมีการปิดกั้นFacebook และTwitterแล้วแทนที่ด้วยบริการที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้

ถึงตรงนี้แปลว่า การสื่อสารใด ๆ ของเรานั้นจะมีการเก็บร่องรอยอยู่ตลอดเวลา (แม้หากรัฐบาลประเทศเราจะไม่ได้ทำ แต่รัฐบาลของหลายประเทศก็ดำเนินการอยู่) แน่นอนว่าการInterceptเหล่านี้ มักจะมาในรูปแบบของbig dataและในเบื้องต้นมักจะมีการทำเหมืองข้อมูล(Data Mining)เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลก่อนจะมีผู้


_____________________________________________________











เมื่อมาเป็นโลกดิจิตอลสมัยใหม่ ที่ผู้คนมักสื่อสารผ่านอีเมล โซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมถึง ระบบ Messenger และ VoIP เช่นที่เรามักเห็นคนทั่วไปใช้ Facebook, Twitter, Whatsapp, Line, Skype, FaceTime


ในวันนี้ผมอยากจะขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน มารู้จักและวิเคราะห์แง่มุมต่าง ๆ ของ Lawful Interception ทั้งความเป็นไปได้ ความจำเป็น และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกันครับ

ก่อนอื่นคงจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า Lawful Interception คืออะไร คำว่า Interception นั้น หากจะแปลความกันแบบตรงไปตรงมา จะใช้คำว่าดักฟังในการอธิบายความก็คงจะไม่คลาดเคลื่อนมากนัก

แต่เดิมการดักฟังมักจะอ้างถึงการดักฟังโทรศัพท์ซึ่งอาจจะทำบนเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน)หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่(มือถือ)ก็ได้ แต่วิธีการมักจะเป็นการดักฟังผ่านระบบชุมสายโทรศัพท์ หรือกระทำโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นมักทำงานอยู่บนพื้นฐานของเสียงสนทนา การทำInterceptionในสมัยก่อน จึงเป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณเสียงและทำการบันทึกบทสนทนาทั่วไป(ในความเป็นจริงก็มีการดักฟังสัญญาณวิทยุสื่อสารด้วย แต่จะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้)ซึ่งLawful Interceptionก็คือการดักฟังที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือต้องได้รับอนุญาต(มีหลายศาล)จากหน่วยงานด้านความมั่นคงที่เกี่ยวข้องก่อนนั้นเอง

เมื่อมาเป็นโลกดิจิตอลสมัยใหม่ ที่ผู้คนมักสื่อสารผ่านอีเมล โซเชียลเน็ตเวิร์กรวมถึง ระบบMessengerและVoIPเช่นที่เรามักเห็นคนทั่วไปใช้Facebook, Twitter, Whatsapp, Line, Skype, FaceTimeผ่านระบบสมาร์ทโฟนซึ่งทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ง่ายขึ้น การทำInterceptionอาจจะทำได้ยากขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในขอบเขตที่กระทำได้

ในโลกปัจจุบัน เราคงต้องยอมรับว่าLawful Interceptionมีความจำเป็นต่อ ความมั่นคง เพราะหากผู้ร้ายใช้สื่อดิจิตอลในการประสานงานเพื่อวางแผนก่อการร้าย หากเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงสามารถจะทำการ

Interceptได้ก่อน ย่อมจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันเหตุร้ายก่อนที่จะเกิดขึ้น ในช่วงกว่า10ปีที่ผ่านมา การก่อการร้ายในโลกมีความรุนแรงมากขึ้น รัฐบาลหลายประเทศก็ทำการInterceptข้อมูลดิจิตอลทั้งหลาย เพื่อให้สามารถป้องกันเหตุร้ายได้ทันกาล หากแต่การInterceptสมัยใหม่นี้อาจจะต่างจากเดิมคือ หลายประเทศมีการกำหนดเป็นนโยบายด้านความมั่นคงระดับชาติที่อาจไม่มีหมายศาลหรือขบวนการยุติธรรมกำกับ ทั้งนี้เนื่องจากสื่อดิจิตอลจะต้องมีการจัดเก็บและนำมาสังเคราะห์และวิเคราะห์อีกชั้นหนึ่งสำหรับการติดตามต้นทาง ต่างจากการดักฟังสมัยก่อนที่ต้องมีการเข้าถึงสายสัญญาณหรือระบบเครือข่ายโดยตรง หากจะต้องรอการอนุญาตจากขบวนการยุติธรรมอาจจะไม่ทันกาล ในบางประเทศมีการปิดกั้นสื่อหรือบริการที่หน่วยงานรัฐบาลอาจจะไม่สามารถIntercept ได้ เช่น ประเทศจีนมีการปิดกั้นFacebook และTwitterแล้วแทนที่ด้วยบริการที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้

ถึงตรงนี้แปลว่า การสื่อสารใด ๆ ของเรานั้นจะมีการเก็บร่องรอยอยู่ตลอดเวลา (แม้หากรัฐบาลประเทศเราจะไม่ได้ทำ แต่รัฐบาลของหลายประเทศก็ดำเนินการอยู่) แน่นอนว่าการInterceptเหล่านี้ มักจะมาในรูปแบบของbig dataและในเบื้องต้นมักจะมีการทำเหมืองข้อมูล(Data Mining)เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลก่อนจะมีผู้

คนมาตรวจสอบ แต่คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า หากจำเป็นหรือต้องการทำ ก็มีคนรู้ได้ว่าคุณทำอะไร หรืออยู่ที่ไหนตลอดเวลา หรือจะพูดว่า โลกเครือข่ายไม่มีความเป็นส่วนตัว ก็คงจะไม่ผิด หลายคนอาจจะบอกว่าข้อมูลมีรับส่งมีการเข้ารหัส แต่ความเป็นจริงคือ การเข้ารหัสทุกแบบถอดได้ หากมีProcessing Powerมากพอ

บางคนบอกว่าหากเราไม่ได้คิดร้าย แล้วจะเกรงกลัวอะไร จะInterceptก็ไม่เดือดร้อน แต่คำถามยอดนิยมคือ ใครเป็นผู้Interceptและใครจะเป็นผู้ควบคุมให้การ Intercept ถูกนำไปใช้ในทางที่เหมาะสมหรือด้านความมั่นคงเท่านั้น อันนี้คงจะเป็นคำถามที่ผมขอทิ้งไว้ให้คิดต่อครับ

แล้วท่านผู้อ่านล่ะครับคิดเห็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่องนี้?.

ผศ.ดร.เกริก ภิรมย์โสภา

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



http://www.dailynews.co.th/Content/IT/314817/Lawful+Interception+ความมั่นคงกับความเป็นส่วนตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.