Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2558 (บทความ) ผลศึกษา "GSMA" ตอกย้ำอิทธิพล "โมบายอินเทอร์เน็ต" // ทคโนโลยีมือถือพัฒนาขึ้นได้อย่างมาก สมรรถนะสูงหาซื้อง่าย ราคาไม่แพงประชาชนเข้าถึงดิจิทัลได้ง่าย มีกำลังซื้อ ทั้งสินค้าและบริการ

ประเด็นหลัก




"คริส ซุล" ผู้อำนวยการให้คำปรึกษาด้านความถี่ประจำทวีปเอเชีย สมาคมจีเอสเอ็มเอ กล่าวว่า พัฒนาการของเทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์และสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายทำให้โมบายเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเชื่อมต่อเพราะครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง ประสิทธิภาพดีและต้นทุนต่ำกว่าเทคโนโลยีอื่น โดยเฉพาะในประเทศที่โครงสร้างพื้นฐานแบบใช้สายที่ยังด้อยพัฒนาและไม่เป็นสังคมเมือง

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลของ 6 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ บังกลาเทศ, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ปากีสถาน และประเทศไทย ของทั้งสมาคมจีเอสเอ็มเอ, องค์การบริหารทรัพยากรโดเมนโลก (ICANN), สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) และอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ (iSOC) ต่างมีทิศทางเดียวกัน

โดยแต่ละประเทศมุ่งเน้นที่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมาพร้อมกับผลประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งประชาชนเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์กันได้บนแพลตฟอร์มดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม



"เทคโนโลยีมือถือพัฒนาขึ้นได้อย่างมาก สมรรถนะสูงหาซื้อง่าย ราคาไม่แพงประชาชนเข้าถึงดิจิทัลได้ง่าย มีกำลังซื้อ ทั้งสินค้าและบริการ ดังนั้นการสร้างคอนเทนต์และแอปพลิเคชั่นเพื่อจัดการปัญหาท้าทายในท้องถิ่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการลงทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญ"









____________________________________





ผลศึกษา "GSMA" ตอกย้ำอิทธิพล "โมบายอินเทอร์เน็ต"



นับตั้งแต่รัฐบาลไทยประกาศนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้เป็นที่จับตาของทั้งคนในประเทศและในสังคมโลก

"คริส ซุล" ผู้อำนวยการให้คำปรึกษาด้านความถี่ประจำทวีปเอเชีย สมาคมจีเอสเอ็มเอ กล่าวว่า พัฒนาการของเทคโนโลยีโมบายบรอดแบนด์และสมาร์ทโฟนที่แพร่หลายทำให้โมบายเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเชื่อมต่อเพราะครอบคลุมพื้นที่ได้กว้าง ประสิทธิภาพดีและต้นทุนต่ำกว่าเทคโนโลยีอื่น โดยเฉพาะในประเทศที่โครงสร้างพื้นฐานแบบใช้สายที่ยังด้อยพัฒนาและไม่เป็นสังคมเมือง

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลของ 6 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ บังกลาเทศ, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ปากีสถาน และประเทศไทย ของทั้งสมาคมจีเอสเอ็มเอ, องค์การบริหารทรัพยากรโดเมนโลก (ICANN), สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ (ITU) และอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ (iSOC) ต่างมีทิศทางเดียวกัน

โดยแต่ละประเทศมุ่งเน้นที่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาล ภาคธุรกิจ และประชาชน ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมาพร้อมกับผลประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งประชาชนเชื่อมต่อและปฏิสัมพันธ์กันได้บนแพลตฟอร์มดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม



"เทคโนโลยีมือถือพัฒนาขึ้นได้อย่างมาก สมรรถนะสูงหาซื้อง่าย ราคาไม่แพงประชาชนเข้าถึงดิจิทัลได้ง่าย มีกำลังซื้อ ทั้งสินค้าและบริการ ดังนั้นการสร้างคอนเทนต์และแอปพลิเคชั่นเพื่อจัดการปัญหาท้าทายในท้องถิ่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการลงทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญ"

สำหรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy ของไทยจะประสบความสำเร็จได้ต้องมีปฏิสัมพันธ์อย่างดีระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน ภาครัฐต้องก้าวผ่านอุปสรรคที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปองค์กรต้องมีประสิทธิภาพ เช่น แนวคิดการรวมทรัพยากรมาใช้งานร่วมกันของทีโอทีและ กสท โทรคมนาคม ต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

การปฏิรูปแต่ละขั้นตอนนั้นต้องโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล ให้ประชาชนมีส่วนร่วม การยกร่างกฎหมายต้องเปิดเผยและยอมรับความเห็นจากภาคเอกชน ชัดเจนในการออกระเบียบกฎหมาย ผลักดันให้เกิดการใช้ดิจิทัลในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการ รวมทั้งการชำระเงินออนไลน์ หรืออีเพย์เมนต์

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ รัฐบาลต้องเป็นต้นแบบในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชน

"การเปิดประมูล 4G สิ้นปีเป็นสัญญาณที่ดี ไทยควรสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน จัดสรรคลื่นต่อใบอนุญาตให้เหมาะสมจะได้มีเอกชนหลายรายเข้ามาลงทุน"

ด้าน "เจียร์ รง โลว์" ผู้อำนวยการด้านการวางกลยุทธ์และการสร้างสรรค์ ICANN กล่าวว่า ไทยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอยู่ในอันดับที่ 48 จาก 65 ประเทศ การผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลต้องทำให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้มากที่สุด สร้างคอนเทนต์ออนไลน์ภาษาไทยเพื่อดึงดูดให้มากขึ้น

"ย้อนดูสถิติการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทำให้จีดีพีประเทศเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะการเข้าถึงของคนในชนบท ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยมากแต่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังมีราว 30% ไม่ถึงครึ่ง"

"ดวงทิพย์ โฉมปรางค์" ผู้บริหาร ISOC ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า รัฐบาลต้องสร้างระบบปฏิบัติการแบบเปิดเพื่อให้แอปพลิเคชั่นแต่ละแอปเชื่อมโยงกันได้ สนับสนุนให้คนไทยพัฒนาแอปพลิเคชั่นได้ โดยไม่ต้องใช้ของต่างประเทศ

"ซาเมียร์ ชาร์มา" ที่ปรึกษาอาวุโส ITU ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า ไทยมีอุปสรรคในการเข้าถึงบรอดแบนด์สูงจึงมีจีดีพีระดับกลาง ร่วมกับอีกหลายประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในชนบท

ดังนั้น ITU ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และรัฐบาลออสเตรเลียได้ร่วมมือรัฐบาลไทยโดยกระทรวงไอซีทีทำโครงการ "การศึกษาและพัฒนาศักยภาพในการก้าวไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล" เพื่อศึกษาเชิงลึกในการนำประเทศไทยไปสู่นโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ให้ไทยกลายเป็นต้นแบบในการก้าวสู่Digital Economy โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1436420238

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.