Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กรกฎาคม 2558 (บทความ) เพลงนี้ชื่ออะไร // ผู้เขียนพบว่าส่วนต่อประสานของ Shazam ช่วยในการค้นหาเพลงได้สะดวกกว่าเพราะจะมีปุ่ม Shazam แสดงอยู่เสมอทำให้สามารถกดปุ่มเพื่อค้นหาเพลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ SoundHound ต้องกดย้อนกลับไปตั้งต้นที่หน้า Home และลักษณะการแสดงเนื้อร้องบนโทรศัพท์มือถือซึ่งจะแสดงเฉพาะเนื้อเพลง

ประเด็นหลัก




ผู้เขียนพบว่าส่วนต่อประสานของ Shazam ช่วยในการค้นหาเพลงได้สะดวกกว่าเพราะจะมีปุ่ม Shazam แสดงอยู่เสมอทำให้สามารถกดปุ่มเพื่อค้นหาเพลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ SoundHound ต้องกดย้อนกลับไปตั้งต้นที่หน้า Home และลักษณะการแสดงเนื้อร้องบนโทรศัพท์มือถือซึ่งจะแสดงเฉพาะเนื้อเพลงบางส่วน ดังแสดงในรูปทำให้อ่านได้ง่ายกว่า จะเห็นว่าการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้มีความสำคัญมาก ถึงแม้ว่าบางโปรแกรมอาจมีความสามารถที่ด้อยกว่าโปรแกรมอื่น แต่ถ้าออกแบบทำให้ผู้ใช้เข้าถึงการใช้งานที่ง่ายกว่า สะดวกกว่าก็เป็นปัจจัยหนึ่งต่อการเลือกของผู้ใช้ แล้วผู้อ่านคิดว่าอย่างไรครับ. อ.เชษฐ พัฒโนทัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย“









_________________________________________







เพลงนี้ชื่ออะไร | เดลินิวส์


„เพลงนี้ชื่ออะไร เนื่องจากไม่ค่อยได้ติดตามเพลงใหม่ ๆ จึงทำให้ไม่รู้จักทั้งชื่อเพลงและคนร้อง ลูกสาวของผู้เขียนก็เปิดแอพบนมือถือชื่อ Shazam ให้โปรแกรมค้นหาชื่อเพลงให้ แล้วส่วนใหญ่ก็หาเจอด้วย วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2558 เวลา 3:25 น.


คืนวันอาทิตย์หลายสัปดาห์ก่อนมีพายุฝนกระหน่ำจนเกิดน้ำท่วมขังไปทั่วกรุงเทพฯ ทำให้หลายคนใช้เวลาอยู่บนท้องถนนในตอนเช้านานกว่าปกติสองถึงสามเท่า ผู้เขียนเองเวลาที่รถติดหนักก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าเปิดวิทยุฟังเพลงเพราะ ๆ เพื่อคลายเครียด เนื่องจากไม่ค่อยได้ติดตามเพลงใหม่ ๆ จึงทำให้ไม่รู้จักทั้งชื่อเพลงและคนร้อง ก็ต้องคอยถามลูกสาวว่าเพลงนี้เพราะดี ใครร้อง ชื่อเพลงอะไร ถ้าเป็นเพลงสมัยใหม่ลูกสาวก็จะตอบได้ แต่ถ้าเพลงเก่า ๆ หน่อย เขาก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่พักหลังเมื่อมีเพลงที่ไม่รู้จัก ลูกสาวของผู้เขียนก็จะเปิดแอพบนมือถือแอนดรอยด์ชื่อ Shazam ให้โปรแกรมค้นหาชื่อเพลงให้ แล้วส่วนใหญ่ก็หาเจอด้วย ทั้งเพลงสากลและเพลงไทย ก็เลยเกิดความสนใจว่าโปรแกรมนี้มีความเป็นมาอย่างไร Shazam ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1999 และเริ่มต้นให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 ที่สหราชอาณาจักร จากนั้นเปิดให้บริการในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2004 ในปีนั้นเอง Shazam ถูกใช้ค้นหาเพลงมากกว่า 1.5 หมื่นล้านครั้ง ผู้อ่านดาวน์โหลดแอพนี้ได้จาก www.shazam.com สิ่งที่หลายคนอาจอยากรู้ว่าโปรแกรม Shazam ทำงานอย่างไร ผู้เขียนขอสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้ 1. Shazam มีฐานข้อมูลของเพลงที่ถูกนำมาแปลงให้เป็นลายนิ้วมือดิจิตอล (digital fingerprint) เพื่อใช้เป็นฐานในการค้นหาเพลงปัจจุบันมีมากกว่า 11 ล้านเพลง 2. ผู้ใช้เปิดโปรแกรมเพื่อ “tag” เพลงที่ต้องการจะหาข้อมูล (เรียกง่าย ๆ ว่าให้โปรแกรมฟังเพลง) โปรแกรมจะใช้เวลาประมาณ 10 วินาทีในการเก็บเสียงเพลงแล้วนำไปแปลงเป็นลายนิ้วมือดิจิตอล 3. ลายนิ้วมือดิจิตอลนี้จะถูกส่งไปให้เครื่องแม่ข่ายในการค้นหาและคืนรายละเอียดของเพลงกลับมา ถ้าหากว่าค้นไม่เจอก็จะแสดงข้อความแจ้งว่าไม่พบ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ถ้าโปรแกรมแค่คืนชื่อเพลงกับศิลปินกลับมาก็อาจจะได้ประโยชน์นิดเดียว แต่สิ่งที่ผู้พัฒนาได้ให้กับผู้ใช้ก็คือ โปรแกรมยังมีลิงก์ไปที่วิดีโอ อัลบั้มที่เพลงนั้นอยู่ และที่ผู้เขียนชอบมากเป็นพิเศษคือ หลาย ๆ เพลงโปรแกรมจะดึงเอาเนื้อร้องขึ้นมาแสดงให้ด้วยแบบทันที คือแสดงเน้นให้เห็นช่วงของเนื้อร้องขณะนั้นให้ด้วย และมีการเปลี่ยนเนื้อร้องให้สอดคล้องไปกับเพลงทำให้ผู้ใช้ร้องตามได้ง่ายเหมือนร้องคาราโอเกะ ประโยชน์ที่ได้ตามมาก็คือเวลาฟังเพลงสากล ก็จะให้ลูกสาวใช้โปรแกรม Shazam ค้นหาชื่อเพลงและเนื้อร้อง ให้เขาฝึกฟังและร้องตาม ทำให้ได้ฝึกภาษาอังกฤษไปในตัวโดยที่ไม่รู้ตัวและไม่รู้สึกเบื่อ แต่ข้อจำกัดของโปรแกรมนี้ก็คือจะค้นหาได้เฉพาะเพลงที่ได้ถูกจัดเก็บไว้เท่านั้น ซึ่งจะด้อยกว่าคู่แข่งคือโปรแกรม SoundHound ที่เป็นโปรแกรมลักษณะคล้าย ๆ กัน แต่ผู้ใช้สามารถร้องเองหรือฮัมเพลงเพื่อให้โปรแกรมค้นหาเพลงให้ได้ แต่จากการทดลองใช้ ผู้เขียนพบว่าส่วนต่อประสานของ Shazam ช่วยในการค้นหาเพลงได้สะดวกกว่าเพราะจะมีปุ่ม Shazam แสดงอยู่เสมอทำให้สามารถกดปุ่มเพื่อค้นหาเพลงได้ตลอดเวลา ในขณะที่ SoundHound ต้องกดย้อนกลับไปตั้งต้นที่หน้า Home และลักษณะการแสดงเนื้อร้องบนโทรศัพท์มือถือซึ่งจะแสดงเฉพาะเนื้อเพลงบางส่วน ดังแสดงในรูปทำให้อ่านได้ง่ายกว่า จะเห็นว่าการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้มีความสำคัญมาก ถึงแม้ว่าบางโปรแกรมอาจมีความสามารถที่ด้อยกว่าโปรแกรมอื่น แต่ถ้าออกแบบทำให้ผู้ใช้เข้าถึงการใช้งานที่ง่ายกว่า สะดวกกว่าก็เป็นปัจจัยหนึ่งต่อการเลือกของผู้ใช้ แล้วผู้อ่านคิดว่าอย่างไรครับ. อ.เชษฐ พัฒโนทัย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/330604


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.