Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) มีมติให้เปิดประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นย่านความถี่แรก ในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้

ประเด็นหลัก





*** ขยายมาตรการเยียวยาโผอาจพลิก
    แม้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการ กทค. และ ในฐานะกรรมการ กสทช. นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานในการจัดสรรคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำคลื่นมาประมูลโทรศัพท์ระบบ 4 จี วางโรดแมปเรียบร้อยแล้ว  และ มีมติให้เปิดประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นย่านความถี่แรก ในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้
    หากแต่ล่าสุด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ คสช. ได้มีคำสั่งให้ กสทช. ขยายระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด  มีลูกค้าอยู่ในระบบ 7 แสนราย และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ประมาณ 1 พันราย ให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซิมไม่ดับ  ไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่ โดยให้นำประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง










____________________________



ลุ้น 4จีประมูลได้หรือไม่?
ได้ไฟเขียวแต่อุปสรรครอสกัดเพียบ


    กำลังกลายเป็นคำถามว่าการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จีบนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) วางโรดแมปเปิดประมูลให้ทันภายในสิ้นปี 2558 (ดูตารางประกอบ) จะเปิดประมูลได้หรือไม่
    แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รวมไปถึง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ไฟเขียวให้เปิดประมูลก็ตาม
    หากแต่สถานการณ์ในห้วงเวลานี้มีการส่งสัญญาณบางอย่างให้น่าคิดออกมาจากฝั่ง กสทช.
*** ขยายมาตรการเยียวยาโผอาจพลิก
    แม้คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการ กทค. และ ในฐานะกรรมการ กสทช. นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานในการจัดสรรคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำคลื่นมาประมูลโทรศัพท์ระบบ 4 จี วางโรดแมปเรียบร้อยแล้ว  และ มีมติให้เปิดประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นย่านความถี่แรก ในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้
    หากแต่ล่าสุด นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ คสช. ได้มีคำสั่งให้ กสทช. ขยายระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด  มีลูกค้าอยู่ในระบบ 7 แสนราย และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ประมาณ 1 พันราย ให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ซิมไม่ดับ  ไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่ โดยให้นำประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
*** สหภาพขวางคืนคลื่น 5 เมก
    ปมประเด็นเรื่องการขยายมาตรการเยียวยาโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ออกไปครั้งนี้ แหล่งข่าวในวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งข้อสังเกตว่า  เป็นช่องทางที่จะทอดเวลาการประมูลออกไปหรือไม่ นอกจากเรื่องขยายมาตรการเยียวยาแล้วยังมีประเด็นกรณีการคืนคลื่นจำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ของ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ดีแทค ตกลงที่จะคืนคลื่นจำนวนดังกล่าวให้กับ กสท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)(บมจ.) หากแต่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.กสท โทรคมนาคม ออกมาขวางในเรื่องนี้ เพราะจำนวนใบอนุญาตที่ กสทช.จะทำการเปิดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งนี้มีเพียง 2 ใบอนุญาตใบอนุญาตละ 12.5 เมกะเฮิรตซ์ เป็นจำนวนคลื่นความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการระบบ 4 จี จะส่งผลต่อคุณภาพสัญญาณสอดคล้องกับคำสัมภาษณ์ของ ศ.ดร.สิทธิไชย โภไคยอุดม ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ออกมาให้ข้อมูลว่าคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลควรจะอยู่ที่ 15 เมกะเฮิรตซ์ เพราะจะเป็นระบบ 4 จีที่สมบูรณ์แบบ แต่จะทำได้หรือไม่เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ
*** จับตาร่างพ.ร.บเศรษฐกิจดิจิทัล
    นอกจากนี้ยังมีเรื่องร่าง พ.ร.บ.เศรษฐกิจดิจิทัล ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.กสทช. ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างเตรียมการผลักดันให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา  ซึ่งก่อนหน้านี้  นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า การเห็นชอบให้จัด "ประมูล" 4G ของคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะเป็นการจัดสรรโดยใช้วิธีใดเมื่อดูจากร่างพ.ร.บ. กสทช.ฉบับล่าสุด คาดว่าร่างกฎหมายซึ่งไม่มีความแน่นอนนี้จะผ่านออกมาบังคับใช้ก่อนที่ จะเกิดการประมูลเดือนสิงหาคมปีนี้
    ทั้งนี้ ร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับล่าสุดยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าการจัดสรรคลื่นโทรคมนาคมจะ ใช้วิธีการใด แต่ในสรุปสาระสำคัญของร่างกฎหมายที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ กฤษฎีกามีระบุไว้ว่า การจัดสรรคลื่นโทรคมนาคมเชิงพาณิชย์ ให้ทำโดยวิธีการประมูล
    "แต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ ที่ผู้บริโภคจะได้รับ โดยจะคำนึงถึงจำนวนเงินที่เสนอให้แต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้"
    รัฐบาลต้องออกมาประกาศใช้ชัดเจนว่าการจัดสรรคลื่น 4G จะทำโดยวิธีใด โดยไม่ต้องรอร่างพ.ร.บ.กสทช.ที่จะออกมา และในร่างพ.ร.บ.กสทช.จะต้องมีบทเฉพาะกาลระบุว่า จะยังไม่บังคับใช้จนกว่าการจัดสรร 4G จะเสร็จสิ้นแล้ว
*** ย้อนรอยมาตรการเยียวยา
    ก่อนหน้านี้ คสช. ได้มีคำสั่งฉบับที่ 94/2557 ให้ กสทช. ชะลอการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ออกไป 1 ปี และ ให้คุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ดังกล่าว ซึ่งจะครบกำหนดสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองในวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 เวลา 24.00 น. และสำนักงาน กสทช. ได้เคยประกาศให้ทราบว่าหลังจากเวลานั้นแล้วซิบจะดับ จะยุติมาตรการเยียวยา
    แต่หลังจากนั้นสำนักงาน กสทช. ได้รายงานให้หัวหน้า คสช. เพื่อทราบในแนวทางการดำเนินงาน และขอรับนโยบาย ซึ่งทางหัวหน้า คสช. ได้มีหนังสือแจ้งรับทราบแนวทางการดำเนินงานของ กสทช. ที่ผ่านมา และสั่งการให้ กสทช. คุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อเนื่องไปจนกว่าจะมีการประมูลและได้ผู้ให้บริการรายใหม่ โดยให้นำประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 มาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงขอให้โอเปอเรเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ทรูมูฟ และ ดีพีซี ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ให้ลูกค้าทราบโดยทั่วกัน

    สถานการณ์ประมูล 4 จี อยู่บนความไม่แน่นอน ต้องเรียกได้ว่า "ลุ้น " วันต่อวัน เพราะว่ากันว่ามีผู้ประกอบการบางรายต้องการสกัดเบอร์ 1 ในตลาด ไม่ให้คลื่นความถี่ไปให้บริการลูกค้าเพิ่มเติม

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=285234:-4&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VbwsF2BAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.