Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) การจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พ.ย. จะเพิ่มแถบคลื่นของทั้ง 2 ใบอนุญาตจาก 12.5 MHz เป็น 15 MHz และขยับราคาเริ่มต้นเป็น 13,920 ล้านบาท/ใบอนุญาต แต่ถ้ามีจำนวนผู้เข้าร่วมการประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาขึ้นเป็น 19,890 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 19 ปี

ประเด็นหลัก




ดังนั้นในการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พ.ย. จะเพิ่มแถบคลื่นของทั้ง 2 ใบอนุญาตจาก 12.5 MHz เป็น 15 MHz และขยับราคาเริ่มต้นเป็น 13,920 ล้านบาท/ใบอนุญาต แต่ถ้ามีจำนวนผู้เข้าร่วมการประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาขึ้นเป็น 19,890 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 19 ปี โดยจะนำรายละเอียดหลักเกณฑ์การประมูลเริ่มรับฟังความเห็นสาธารณะ











____________________________



กดปุ่ม4G ดึงเงินเข้ารัฐกว่า7หมื่นล้าน รวบคลื่น900-1800MHz ประมูล11พ.ย.นี้


เคลียร์คืนคลื่นไร้เงื่อนไขลงตัว "กสทช." เดินหน้ากดปุ่มประมูลความถี่ทำ 4G แบ่ง 1800 MHz เป็น 2 ไลเซนส์ เคาะราคาเริ่มต้น 13,920 ล้านบาท พร้อมผุดไอเดียเลื่อนประมูลคลื่น 900 MHz พร้อมกันทีเดียว 11 พ.ย.นี้ "หวังดูดเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาทเข้ารัฐเร็วขึ้น บอร์ดดิจิทัลฯ เร่งแผนตั้งโฮลดิ้งบรอดแบนด์แห่งชาติ หวังระงับข้อพิพาท 9.2 แสนล้าน "แคท-ทีโอที"


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กสทช. วาระพิเศษ (16 ก.ค. 2558) มีมติรับทราบหนังสือยืนยันการคืนคลื่น 1800 MHzที่อยู่ภายใต้สัมปทานของ บมจ.กสท โทรคมนาคม (แคท) กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) จำนวน 4.8 MHz ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ฉบับใหม่ ลงวันที่16 ก.ค. ซึ่งระบุชัดเจนว่า เป็นการคืนคลื่นแบบไม่มีเงื่อนไข และเห็นชอบให้นำคลื่นที่กระทรวงไอซีทียืนยันการคืนไปรวมประมูลกับส่วนที่สิ้นสุดสัมปทาน "ทรูมูฟ-ดิจิตอลโฟน" จำนวน 25.2 MHz ที่เตรียมจะประมูลไว้ก่อนนี้

ดังนั้นในการจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พ.ย. จะเพิ่มแถบคลื่นของทั้ง 2 ใบอนุญาตจาก 12.5 MHz เป็น 15 MHz และขยับราคาเริ่มต้นเป็น 13,920 ล้านบาท/ใบอนุญาต แต่ถ้ามีจำนวนผู้เข้าร่วมการประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต จะปรับราคาขึ้นเป็น 19,890 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 19 ปี โดยจะนำรายละเอียดหลักเกณฑ์การประมูลเริ่มรับฟังความเห็นสาธารณะ

ในวันที่ 18 ก.ค.นี้ และวันที่ 27 ก.ค. จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นที่จังหวัดเชียงใหม่ และที่กรุงเทพฯวันที่ 3 ส.ค.นี้ พร้อมกับแจ้งกระทรวงไอซีทีให้แจ้งดีแทค และแคท ดำเนินการคืนคลื่นความถี่และปรับเปลี่ยนการใช้คลื่นความถี่ทั้งหมด รวมถึงการแก้ไขสัญญาสัมปทานให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 25 ก.ย. 2558 เพื่อให้ทันกำหนดการยื่นคำขอเพื่อเข้าร่วมการประมูลที่ กสทช. กำหนดไว้ในวันที่ 30 ก.ย.ด้วย

"รัฐมนตรีไอซีทียืนยันมาแล้วว่า แคทคืนคลื่นให้กระทรวงไอซีทีเพื่อให้ กสทช. นำไปประมูลรวมได้ โดยไม่มีเงื่อนไขในการคืน ก็ไม่ได้กังวลเรื่องสหภาพแรงงานแคทจะฟ้องร้อง เพราะทางนั้นต้องไปเคลียร์ให้ชัดแล้ว" นายฐากรย้ำ

นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยังมีมติเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz ในสัมปทาน บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้

โดยจะนำออกประมูล 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาเริ่มต้นที่11,260 ล้านบาท/ใบอนุญาต แต่หากมีผู้เข้าประมูลแค่ 2 รายจะขยับราคาให้เต็มมูลค่าคลื่น 100% คือ 16,080 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 15 ปี ส่วนเงื่อนไขการขยายโครงข่ายอยู่ที่ 40% ของประชากรภายใน 4 ปี เท่ากับใบอนุญาต 1800 MHz



"ราคาเริ่มต้นประมูลใช้ของเดิมที่ ITU (สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ) ประเมินไว้ในปี 2557 เหมือนราคาประมูลคลื่น 1800 MHz เพราะ ITU ประเมินใหม่ต่ำกว่าเดิม 9% แต่บอร์ดไม่เห็นด้วย จากนี้จะเร่งเนำหลักเกณฑ์ประมูลคลื่น 900 MHz ไปประชาพิจารณ์ เพื่อให้ทันเปิดประมูลวันที่ 11 พ.ย. วันเดียวกับ 1800 MHz แยกประมูลเป็นช่วงเช้ากับบ่ายเพื่อให้นำเงินส่งรัฐได้เร็วขึ้น แต่ต้องไปรับฟังความเห็นสาธารณะด้วย"

สำหรับวิธีการประมูลใช้แบบเดียวกันทั้งคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz คือ Simultaneous Ascending Bid Auction เคาะราคาพร้อมกันทั้ง 2 ใบอนุญาต โดยแต่ละรอบราคาเพิ่มขึ้น 5% ของราคา

เริ่มต้นประมูล ซึ่งตามกรอบเวลาที่วางไว้คาดว่าจะให้ใบอนุญาตราวสิ้นเดือน พ.ย. และกระทรวงการคลังจะได้รับเงินทันทีที่ 50% ของราคาปิดประมูล และผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มให้บริการได้ราว ม.ค.-ก.พ. 2559

"คาดว่าการประมูล 2 คลื่น 4 ใบอนุญาตจะสร้างเงินเข้ารัฐได้อย่างน้อย 71,940 ล้านบาท กระตุ้นการลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาทภายในปี 2559"

ด้านนายสิทธิชัย โภไคยอุดม ที่ปรึกษา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า อำนาจการจัดประมูล

ยังเป็นของ กสทช. แต่ที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) มีมติให้ กสทช. ประมูลคลื่น 1800 MHz ไลเซนส์ละ 15 MHz เพื่อให้ได้ความเร็วดาต้าสูงขึ้นจากเดิม 10 เท่าตัว

"ตอน ป.ป.ช. สอบประมูล 3G ของ กสทช.แบ่งไลเซนส์ให้ 3 ค่าย กสทช. ยืนยันว่าจะไม่ทำแบบนั้นอีก ในที่ประชุมบอร์ด DE ยืนยันที่ 2 ไลเซนส์ ถือเป็นการทำสัญญาประชาคมกันไว้แล้วไม่ควรเปลี่ยนทีหลัง"

ขณะที่นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีไอซีที กล่าวว่า เจรจาคืนคลื่นเรียบร้อยแล้ว ในส่วนคลื่นย่านอื่นต้องเร่งดำเนินการต่อ เพราะบอร์ด DE เน้นว่าต้องให้มีการใช้คลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการเร่งรัดโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติที่จะรวมโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งกระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างการจัดทำร่างขอบเขตของงานในการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญการออกแบบโครงข่ายสื่อสารบรอดแบนด์แห่งชาติคาดว่าจะได้บริษัทที่ปรึกษาไม่เกินสิ้นเดือนนี้

"โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติจะช่วยผลักดันนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีให้เกิดขึ้นจริงลดการลงทุนซ้ำซ้อนทำให้ประชาชนได้ใช้บริการราคาถูกลง กำลังเร่งหาคนออกแบบเพื่อจะได้ประเมินมูลค่าทรัพย์สินของแต่ละบริษัทที่จะนำมาลงร่วมกัน ถ้าผลักดันได้จะช่วยระงับข้อพิพาทใต้สัมปทานของทีโอทีกับแคท รวมถึงที่ทั้งคู่ฟ้องร้องกันเอง รวมแล้วมูลค่ากว่า 9.2 แสนล้านบาท พยายามให้จบให้ได้เร็วที่สุด"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1437363927

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.