Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) CAT เร่งเรื่องเอาคลื่น DTAC คืน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ไม่ได้ใช้งานถือว่าไม่ได้อยู่ในสัมปทานดังกล่าว สิทธิใน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ว่างอยู่ยังเป็นสิทธิของ กสท ที่ถือถึงปี 2568

ประเด็นหลัก






เขา ระบุว่า เพราะการตีความทางกฎหมายของ กสท และ กสทช. ไม่ตรงกัน และคลื่นความถี่จำนวน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสท ให้ดีแทคใช้บริการย่านดังกล่าวจำนวน 50 เมกะเฮิรตซ์ ความเข้าใจของ กสท คือคลื่น 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ดีแทคใช้งานอยู่ก็จะหมดลงในปี 2561 ส่วนอีก 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ไม่ได้ใช้งานถือว่าไม่ได้อยู่ในสัมปทานดังกล่าว สิทธิใน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ว่างอยู่ยังเป็นสิทธิของ กสท ที่ถือถึงปี 2568









____________________________



กสท หันทำ4จีเองเปิดรับเอ็มวีเอ็นโอ


บอร์ดกสท เผยคลื่น 25 เมกที่ไม่ได้ใช้งานยังเป็นสิทธิขององค์กรไม่ให้เอกชนรวมเป็นสัมปทานใช้งานได้ยาวถึงปี 2568 พร้อมผันมาทำ 4จีแอลทีอีเอง

พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการบริษัทและรักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดกสท วานนี้ (13 ก.ค.) ว่า กรณีการคืนคลื่นความถี่ 5 เมกะเฮิรตซ์ตามสัญญาสัมปทานระหว่าง กสท และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อนำไปประมูล 4จีภายในเดือนพ.ย.2558 ซึ่งสำนักงาน กสทช. มีเงื่อนไขต้องทำเอกสารอย่างเป็นทางการเพื่อยืนยอมคืนคลื่นมายังกสทช.ภายในวันนี้ (14 ก.ค.) เพื่อให้ทันการนำวาระเข้าประชุมบอร์ด กสทช. และยินยอมจะนำคลื่นมารวมทำให้มีจำนวนคลื่น 30 เมกะเฮิรตซ์ แต่การประชุมบอร์ด กสท วันดังกล่าว ยืนยันว่า กสท ไม่สามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ทันกำหนด

ทั้งนี้ ที่ประชุมบอร์ด กสท จึงมีมติทำหนังสือถึงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวในวันนี้เลย เพื่อขอให้ไอซีทีและกระทรวงการคลังยืนยันสิทธิถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ของ กสท ซึ่ง กสท ยืนยันว่าจะถือครองคลื่นความถี่ไปจนถึงปี 2568 ตามใบอนุญาตประกอบกิจการที่ได้รับ

เขา ระบุว่า เพราะการตีความทางกฎหมายของ กสท และ กสทช. ไม่ตรงกัน และคลื่นความถี่จำนวน 1800 เมกะเฮิรตซ์ที่ กสท ให้ดีแทคใช้บริการย่านดังกล่าวจำนวน 50 เมกะเฮิรตซ์ ความเข้าใจของ กสท คือคลื่น 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ดีแทคใช้งานอยู่ก็จะหมดลงในปี 2561 ส่วนอีก 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ไม่ได้ใช้งานถือว่าไม่ได้อยู่ในสัมปทานดังกล่าว สิทธิใน 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ว่างอยู่ยังเป็นสิทธิของ กสท ที่ถือถึงปี 2568

“เราจะให้ผู้ใหญ่ไปคุยกันเองให้ไอซีทีคุยกับ กสทช.ว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งถ้านโยบายสั่งให้เราคืน 5 เมกะเฮิรตซ์โดยไม่มีเงื่อนไขตามหนังสือของรัฐบาลและคณะกรรมการบรอดแบนด์แห่งชาติที่ระบุว่าเพื่อผลประโยชน์ของประเทศให้คืนเราก็ยินดี แต่ส่วนของย่าน 20 เมกะเฮิรตซ์ที่เหลือ เรามีความตั้งใจจะทำบริการโฮลเซลล์ขายต่อแบนด์วิธคลื่นความถี่ในโมเดลใกล้เคียงกับของกลุ่มทรู ซึ่งต้องการเอามาพัฒนาเป็น 4จีแอลทีอี ขึ้นอยู่กับว่าเอกชนรายใดจะสนใจทำร่วมกับ กสท ดังนั้น กสท จะไม่เข้าประมูล 4จีของ กสทช. เพราะจะพัฒนาระบบ 4จีและทำเอ็มวีเอ็นโอของตัวเอง”

ขณะเดียวกัน เนื่องจากการแก้ไขสัญญาสัมปทานของ กสท ต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯพ.ศ.2556 จะต้องส่งให้คณะกรรมการมาตรา 43 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และกระทรวงคลัง เพื่อให้เห็นชอบต่อไป รวมถึงกรณีดังกล่าวจะต้องชี้แจงคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เพื่อชี้แจงการใช้สิทธิของคลื่นความถี่ดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ขั้นตอนต่อจากนี้ กสท จะตอบหนังสือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กสท ที่มีประเด็นสอบถามกรณีการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งทีมผู้บริหารกำลังจะทำหนังสือตอบกลับไปถึงเหตุผลต่างๆ ที่สหภาพสอบถามมาทุกข้อ โดยหลักๆ กสท ดำเนินการคืนคลื่นครั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ แต่ต้องไม่ลืมผลประโยชน์ของพนักงานและผลประโยชน์ของ กสท เอง

นอกจากนี้ การจัดรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) 3 ส.ค.นี้ กสท จะเข้าไปชี้แจงด้วยเกี่ยวกับประเด็นสิทธิการถือครองคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ของทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ก็ยังเป็นสิทธิของ กสท ด้วย

“เราก็ต้องบอกให้สหภาพฯเขาเข้าใจด้วยว่า เราทำไปใช่ว่าจะไม่ได้อะไรกลับคืนมา เรารับรองว่าการคืนคลื่นครั้งนี้ กสท ไม่เสียผลประโยชน์แน่นอน”

ทั้งนี้ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กสท ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง 5 ข้อประกอบด้วย 1.เหตุใด กสท จึงประสงค์จะคืนคลื่นทั้งที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เอง ไม่ได้เรียกคืนแต่อย่างใด 2.อำนาจขออนุญาตในการคืนคลื่นความถี่เป็นอำนาจของใคร และมีความสุ่มเสี่ยงต่อการตีความข้อกฎหมายใบอนุญาตหรือไม่

3.หากมีการประมูลแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ใบอนุญาตประเทศชาติจะได้ประโยชน์อย่างไร 4.กสท ได้ประโยชน์อย่างไร และ 5.จะอธิบายให้พนักงานกสท ทราบอย่างไร

พร้อมกันนี้ ที่ประชุมบอร์ด กสท ยังอนุมัติรับทราบผลการดำเนินการงวด 5 เดือนม.ค.-พ.ค. มีรายได้รวมสัมทปาน 22,554 ล้านบาท ไม่รวมสัมปทาน 17,246 ล้านบาท รายจ่ายรวมสัมปทาน 20,518 ล้านบาท รายจ่ายไม่รวมสัมปทาน 15,321 ล้านบาท กำไรรวมสัมปทาน 1,918 ล้านบาท ไม่รวมสัมปทาน 1,829 ล้านบาท


http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/656307

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.