Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 IDC ระบุ ธุรกิจไอซีทีของไทย อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีทีโดยทั่วไปแล้วพบว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า จีดีพี ของประเทศราว 3-8%

ประเด็นหลัก





    รายงานข่าวจากบริษัทไอดีซี  (ประเทศไทย)  จำกัด  ระบุว่าภาพรวมของการใช้จ่ายด้านไอทีและการสื่อสาร(ไอซีที) ของประเทศไทยในปี 2558 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 3.8% ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เติบโตเล็กน้อยและเงินลงทุนที่หดหายไปของภาคธุรกิจ
    โดยรายงานการสำรวจนี้มาจาก การปรับปรุงรายงานการใช้จ่ายไอซีทีของไทยในปี 2558 ที่มีฐานมาจาก ข้อมูลเชิงลึกในตลาดต่าง ๆ ของธุรกิจไอซีที จำนวน 11 ธุรกิจที่ไอดีซีทำการเก็บข้อมูลและคาดการณ์แนวโน้มตลาดอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อ IDC Tracker การปรับปรุงนี้ได้มีการทบทวนการใช้จ่ายในตลาดหลักๆ เช่น ตลาดโทรคมนาคม ไคลเอนต์ดีไวซ์ ซอฟต์แวร์ในองค์กร ระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร (enterprise computing) บริการด้านไอทีและอุปกรณ์ต่อพ่วงไอทีต่าง ๆ
    อย่างไรก็ตามไทยยังคงเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เป็นอันดับ2 สำหรับสินค้าและบริการด้านไอซีทีในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าจะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาและปัญหาด้านการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2558 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีที่มีจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และผู้บริโภครวมกัน จะอยู่ที่ราว 20.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  ไมเคิล อาราเนต้าไมเคิล อาราเนต้า โดยนายไมเคิล อาราเนต้า ผู้จัดการประจำเทศไทย  บริษัทไอดีซี (ประเทศไทย)  จำกัด  เปิดเผยว่าปี 2558 นี้ค่อนข้างเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจไอซีทีของไทย อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีทีโดยทั่วไปแล้วพบว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า จีดีพี ของประเทศราว 3-8% แต่ปีนี้ ส่วนต่างระหว่างช่วงดังกล่าวหดแคบลงเหลือต่ำกว่า 1%  อย่างไรก็ตาม ปี 2558 มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นสำหรับแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนที่ค่อนข้างเด่นชัดในตลาดไอซีที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 อย่างเช่น คลาวด์, โมบิลิตี และ การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เกิดขึ้น  โดยคาดว่า การฟื้นตัวจะค่อย ๆ เกิดขึ้นในปี 2559   และเริ่มเห็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของตลาดไอทีไทย บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ ไอซีที ที่มีโจทย์และความท้าทายใหม่กำลังจะเข้ามา










____________________________



ใช้จ่ายไอซีทีไทยปี58ยอดโตตํ่า




ใช้จ่ายไอซีทีไทยปี58ยอดโตตํ่า
ไอดีซีคาดปีหน้าถึงจุดฟื้นตัว/เห็นยุคใหม่ตลาดไอที

    การใช้จ่ายด้านไอซีทีปี 58 เติบโตต่ำกว่าปกติ  นักวิเคราะห์ไอดีซี  มองจุดฟื้นตัวและยุคใหม่ของไอซีทีไทยจะอยู่ในปี  59   เชื่อประมูล 4 จี ปลายปีส่งผลกระตุ้นตลาดกลางปีหน้า  ขณะที่เศรษฐกิจดิจิตอล มีผลดีตลาดอีก 2-3 ปี  ชี้ไทยมีจุดได้เปรียบการเป็นผู้นำค้าส่งอินโดจีน-อี-คอมเมิร์ซ
    รายงานข่าวจากบริษัทไอดีซี  (ประเทศไทย)  จำกัด  ระบุว่าภาพรวมของการใช้จ่ายด้านไอทีและการสื่อสาร(ไอซีที) ของประเทศไทยในปี 2558 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 3.8% ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เติบโตเล็กน้อยและเงินลงทุนที่หดหายไปของภาคธุรกิจ
    โดยรายงานการสำรวจนี้มาจาก การปรับปรุงรายงานการใช้จ่ายไอซีทีของไทยในปี 2558 ที่มีฐานมาจาก ข้อมูลเชิงลึกในตลาดต่าง ๆ ของธุรกิจไอซีที จำนวน 11 ธุรกิจที่ไอดีซีทำการเก็บข้อมูลและคาดการณ์แนวโน้มตลาดอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อ IDC Tracker การปรับปรุงนี้ได้มีการทบทวนการใช้จ่ายในตลาดหลักๆ เช่น ตลาดโทรคมนาคม ไคลเอนต์ดีไวซ์ ซอฟต์แวร์ในองค์กร ระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร (enterprise computing) บริการด้านไอทีและอุปกรณ์ต่อพ่วงไอทีต่าง ๆ
    อย่างไรก็ตามไทยยังคงเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เป็นอันดับ2 สำหรับสินค้าและบริการด้านไอซีทีในภูมิภาคอาเซียน แม้ว่าจะประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาและปัญหาด้านการเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2558 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายด้านไอซีทีที่มีจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และผู้บริโภครวมกัน จะอยู่ที่ราว 20.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
  ไมเคิล อาราเนต้าไมเคิล อาราเนต้า โดยนายไมเคิล อาราเนต้า ผู้จัดการประจำเทศไทย  บริษัทไอดีซี (ประเทศไทย)  จำกัด  เปิดเผยว่าปี 2558 นี้ค่อนข้างเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับธุรกิจไอซีทีของไทย อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอซีทีโดยทั่วไปแล้วพบว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า จีดีพี ของประเทศราว 3-8% แต่ปีนี้ ส่วนต่างระหว่างช่วงดังกล่าวหดแคบลงเหลือต่ำกว่า 1%  อย่างไรก็ตาม ปี 2558 มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นสำหรับแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนที่ค่อนข้างเด่นชัดในตลาดไอซีที โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ 3 อย่างเช่น คลาวด์, โมบิลิตี และ การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า เกิดขึ้น  โดยคาดว่า การฟื้นตัวจะค่อย ๆ เกิดขึ้นในปี 2559   และเริ่มเห็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของตลาดไอทีไทย บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจ ไอซีที ที่มีโจทย์และความท้าทายใหม่กำลังจะเข้ามา
    ส่วนนายจาริตร์ สิทธุ  นักวิเคราะห์อาวุโส สายงานศึกษาตลาดไคลเอนต์ดีไวซ์ ประจำไอดีซีประเทศไทย กล่าวว่าตลาดไอซีทีโดยรวมปี 2558 มีมูลค่าประมาณ  677,317   ล้านบาท  เติบโต 3.81% จากเดิมต้นปีคาดการณ์ว่าตลาดไอซีทีโดยรวมจะเติบโตราว 13%  โดยหากจำแนกเฉพาะตลาดไอที คาดว่าในปี 58 มีมูลค่า 369,541  ล้านบาท เติบโตขึ้นราว 1.94% เท่านั้น  ขณะที่ตลาดสื่อสาร  มีมูลค่าประมาณ 308,276  ล้านบาท  เติบโตขึ้น 6.15%   ทั้งนี้ประเมินว่าในปีนี้ และปีหน้า ตลาดจะเติบโตสูงกว่าจีดีพีเพียงเล็กน้อย จากเดิมมีการเติบโตสูงกว่าจีดีพี 2 เท่า  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเติบโตในอนาคต
    ส่วนเศรษฐกิจดิจิตอลนั้นเป็นแผนระยะยาว  ที่มองว่าไม่มีผลต่อการเติบโตของตลาดช่วง 6 เดือนข้างหน้า  แต่จะเกิดผลใน 2-3 ปี    เช่นเดียวกับ 4 จี หากเกิดการประมูลช่วงสิ้นปี  คาดว่าต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนหลังการประมูล ถึงจะมีผลต่อการกระตุ้นตลาดให้เติบโตขึ้น  
    นายจาริตร์  กล่าวต่อไปอีกว่าจากการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอลของไอดีซี ซึ่งพบว่ารัฐบาลมีการทำการบ้านมาดี   และมีการวางโรดแมป  ชัดเจน    อย่างไรก็ตามคาดว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล   และแผนแม่บท  จะมีความชัดเจนนั้นคาดว่าใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน   นอกจากนี้ยังมองว่ารัฐบาลต้องหาจุดขายในการไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอลชัดเจน   โดยมุมมองไอดีซี  มองว่าหากเป็นผู้ผลิตด้านไอซีทีนั้น อาจเสียเปรียบเวียดนาม ที่มีต้นทุนต่ำกว่า  และมีความใกล้กับจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วน   เช่นเดียวกับอินโดนีเซีย  ที่มีตัวเลขประชากรสูง  
    ส่วนการเป็นผู้ให้บริการด้านไอซีทีนั้นหากเป็นบริการทางด้านบิสิเนส โพรเซส ไทยอาจเสียเปรียบทักษะด้านภาษา เมื่อเทียบฟิลิปปินส์และมาเลเซีย จุดที่ไทยมีความได้เปรียบคือมีบุคลากรที่มีทักษะด้านไอซีทีสูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ซึ่งเหมาะกับการให้บริการที่ปรึกษาด้านไอซีที

    หรือหากไทยต้องการเป็นผู้นำทางด้านการค้าไอซีที เช่นเดียวกับฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ นั้นมองว่าการเป็นผู้ค้าส่ง น่าจะมีโอกาสมากกว่า    เนื่องจากไทยสามารถเป็นศูนย์กลางขยายตลาดอินโดจีน ทั้งเมียนมา  ลาว และกัมพูชา    ส่วนค้าปลีกนั้นปริมาณความต้องการภายในประเทศอาจไม่สูงพบ    สุดท้าย   คือการเป็นผู้นำอี-คอมเมิร์ซ   ที่กำลังเติบโตสูงในภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งไอดีซีมองว่า 2 ขาที่ได้มีความได้เปรียบคือผู้ค้าส่งสินค้าไปยังกลุ่มอินโดจีน   และอี-คอมเมิร์ซ     อย่างไรก็ตามภาครัฐจะต้องให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งบริการ 4 จี  และ ฟิกซ์ บรอดแบนด์     รวมถึงช่องทางในการให้ภาคเอกชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน   และการแก้กฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ เพื่อปกป้องให้คนอยากเข้ามาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ   สุดท้ายคือการเพิ่มปริมาณบุคลากรที่มีทักษะมากขึ้น   และป้องกันสมองไหลออกสู่ต่างประเทศ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=286221:58&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.Vbwr-2BAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.