Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 สิงหาคม 2558 Red Hat ในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนรายได้รวมในปี 2558 อยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำได้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ประเด็นหลัก


โดย "เรดแฮท" จะใช้ความเป็นผู้นำในบริการโอเพ่นซอร์ซ จากการมีบริการมากกว่า 5,000 ตัว เช่น ระบบปฏิบัติการLinux และ Openstack ระบบจัดการเวอร์ชัวไลเซชั่นกับคลาวด์ เข้าไปทำตลาดกับภาครัฐ เนื่องจากต้นทุนถูกกว่า และสามารถปรับแต่งเทคโนโลยีได้ตามที่ต้องการ ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์ หรือ 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมกันนี้ยังร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) และสถาบันการศึกษา พัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีความรู้เรื่องโอเพ่นซอร์ซมากขึ้น

"เรายังไม่ตั้งสำนักงานในไทย เพราะการบริหารจากสิงคโปร์ตอบสนองความต้องการได้ โดยจะทำตลาดผ่านดีลเลอร์กว่า 100 ราย เช่น จี เอเบิล, อินแกรม ไมโคร และเดอะแวลลูซิสเตมส์ เป็นต้น เน้นไปที่กลุ่มการเงิน, สายการบิน, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, โรงงานอุตสาหกรรม และภาครัฐ บริษัทที่ใช้งาน ก็เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และทีซีซี เทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการ Linux เติบโตมากที่สุด ทั้งในไทยและระดับโลก เพราะใช้ฟรี"

อย่างไรก็ตาม รายได้ของ "เรดแฮท" ในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนรายได้รวมในปี 2558 อยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำได้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้บริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นติดกัน 53 ไตรมาส มีส่วนแบ่งในตลาดโอเพ่นซอร์ซกว่า 70% เป็นอันดับ 1













____________________________



"เรดแฮท" หวังดิจิทัลอีโคโนมี ดัน "โอเพ่นซอร์ซ" บูม!



"เรดแฮท" ย้ำ "ดิจิทัลอีโคโนมี" ส่งเสริมตลาด "โอเพ่นซอร์ซ" เตรียมจับมือหน่วยงานรัฐ-ภาคการศึกษา เพิ่มความสามารถด้านซอฟต์แวร์ ดันดีลเลอร์ 100 ราย มุ่งเอ็นเตอร์ไพรส์ ชูต้นทุนต่ำ-ประยุกต์ใช้ได้ทุกเทคโนโลยี


นายเดเมียน หว่อง ผู้อำนวยการอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคอาเซียน เรดแฮท กล่าวว่า การเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาลไทยชุดนี้ ส่งผลให้ความตื่นตัวในการลงทุนไอทีของทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบไอทีที่มีประสิทธิภาพเป็นกลไกสำคัญในการเดินหน้านโยบายดังกล่าว ทั้งการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ และโครงข่ายบรอดแบนด์ต่าง ๆ ส่งเสริมการใช้งานโอเพ่นซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์ระบบเปิดที่มีให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่าย

"แม้โอเพ่นซอร์ซจะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถมีพื้นที่ในตลาดได้ เนื่องจากการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังอิงมาจากที่ติดมากับฮาร์ดแวร์ หรือมีไลเซนส์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ที่สำคัญการไม่แพร่หลายของโอเพ่นซอร์ซยังมาจากความรู้ของฝ่ายไอทีไม่เพียงพอ ต่างจากในประเทศที่ระบบไอทีเติบโต เช่น สหรัฐอเมริกา มีการใช้งานเป็นระบบปฏิบัติการ, บริหารสตอเรจ, จัดการระบบคลาวด์ และสร้างการใช้งานแบบเวอร์ชัวไลเซชั่น จนบริการโอเพ่นซอร์ซสามารถตอบโจทย์ได้ทั่วโลก"

โดย "เรดแฮท" จะใช้ความเป็นผู้นำในบริการโอเพ่นซอร์ซ จากการมีบริการมากกว่า 5,000 ตัว เช่น ระบบปฏิบัติการLinux และ Openstack ระบบจัดการเวอร์ชัวไลเซชั่นกับคลาวด์ เข้าไปทำตลาดกับภาครัฐ เนื่องจากต้นทุนถูกกว่า และสามารถปรับแต่งเทคโนโลยีได้ตามที่ต้องการ ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับซอฟต์อินฟราสตรักเจอร์ หรือ 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล พร้อมกันนี้ยังร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) และสถาบันการศึกษา พัฒนาคุณภาพบุคลากรให้มีความรู้เรื่องโอเพ่นซอร์ซมากขึ้น

"เรายังไม่ตั้งสำนักงานในไทย เพราะการบริหารจากสิงคโปร์ตอบสนองความต้องการได้ โดยจะทำตลาดผ่านดีลเลอร์กว่า 100 ราย เช่น จี เอเบิล, อินแกรม ไมโคร และเดอะแวลลูซิสเตมส์ เป็นต้น เน้นไปที่กลุ่มการเงิน, สายการบิน, ผู้ให้บริการโทรคมนาคม, โรงงานอุตสาหกรรม และภาครัฐ บริษัทที่ใช้งาน ก็เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และทีซีซี เทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการ Linux เติบโตมากที่สุด ทั้งในไทยและระดับโลก เพราะใช้ฟรี"

อย่างไรก็ตาม รายได้ของ "เรดแฮท" ในประเทศไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนรายได้รวมในปี 2558 อยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปีที่แล้วที่ทำได้ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้บริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นติดกัน 53 ไตรมาส มีส่วนแบ่งในตลาดโอเพ่นซอร์ซกว่า 70% เป็นอันดับ 1

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438232225

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.