Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 สิงหาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) TRUE เมื่อคำนวณราคาต่อหน่วยต่อราคาตั้งต้นที่ กสทช.กำหนดไว้ พบว่าราคาของประเทศไทยสูงกว่าถึง 7.6 เท่า ในขณะที่จีดีพีของสิงคโปร์สูงกว่าไทยถึง 6 เท่า ซึ่งการตั้งราคาดังกล่าวถือว่าสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัดเจน.

ประเด็นหลัก

ส่วน นางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจาก บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากเปรียบเทียบประเทศในแถบอาเซียนด้วยกันอย่างสิงคโปร์ ซึ่งมีการจัดการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเมื่อปี 2553 โดยให้อายุใบอนุญาต 13 ปี คิดอัตราราคาตั้งต้นไว้ที่ 465 ล้านบาทต่อ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อคำนวณราคาต่อหน่วยต่อราคาตั้งต้นที่ กสทช.กำหนดไว้ พบว่าราคาของประเทศไทยสูงกว่าถึง 7.6 เท่า ในขณะที่จีดีพีของสิงคโปร์สูงกว่าไทยถึง 6 เท่า ซึ่งการตั้งราคาดังกล่าวถือว่าสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัดเจน.










____________________________________________________





ค่ายมือถือโอดราคาประมูลคลื่นแพง



ประชาพิจารณ์คลื่น 1800 เวที กทม.ผู้ประกอบการโอดราคาตั้งต้นประมูลแพง ภาคประชาชนแนะ กสทช.ควรกำหนดอัตราค่าใช้บริการก่อนมีประมูล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 3 ส.ค.58 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ และร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในส่วนภาคกลางที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเวทีที่ 2 โดยประเด็นสำคัญที่หารือ ประกอบไปด้วย 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล 2.วิธีการอนุญาต ความเหมาะสมของการใช้วิธีการประมูล 3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ที่ตั้งไว้ที่ 13,920 ล้านบาท กรณีมีผู้ประมูลมากกว่าใบอนุญาต และ 19,890 ล้านบาท กรณีน้อยกว่า

นายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ ของดีแทค เปิดเผยว่า การกำหนดราคาตั้งต้นการประมูลถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ขณะที่สภาพเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังแย่ ส่วนประเด็นที่กำหนดให้มีผู้เข้าร่วมประมูลเท่ากับหรือน้อยกว่า ดีแทคข้อเสนอให้ กสทช.ควรจะกลับไปใช้ราคาเริ่มต้นที่คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่ที่แท้จริง 70% ไม่ว่าจะมีผู้เข้าประมูลเท่าไร

สำหรับประเด็นการจัดชุดคลื่นความถี่จำนวน 2 ใบ ที่มีขนาด 2x15 เมกะเฮิรตซ์นั้น จากสภาพปัจจุบันข้อเท็จจริงคือ ผู้แข่งขันจะมีเพียงผู้ประกอบการเอกชน 3 ราย หากต้องการให้เกิดการแข่งขัน ควรยืดหยุ่นเป็นใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 6 ใบ รวมเป็นจำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะมีผู้ประกอบการชนะการประมูลเพียง 2 ราย หรือมากกว่าได้

ส่วน นางสาวกนกพร คุณชัยเจริญกุล ตัวแทนจาก บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากเปรียบเทียบประเทศในแถบอาเซียนด้วยกันอย่างสิงคโปร์ ซึ่งมีการจัดการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไปเมื่อปี 2553 โดยให้อายุใบอนุญาต 13 ปี คิดอัตราราคาตั้งต้นไว้ที่ 465 ล้านบาทต่อ 2.5 เมกะเฮิรตซ์ เมื่อคำนวณราคาต่อหน่วยต่อราคาตั้งต้นที่ กสทช.กำหนดไว้ พบว่าราคาของประเทศไทยสูงกว่าถึง 7.6 เท่า ในขณะที่จีดีพีของสิงคโปร์สูงกว่าไทยถึง 6 เท่า ซึ่งการตั้งราคาดังกล่าวถือว่าสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัดเจน.

http://www.thaipost.net/?q=ค่ายมือถือโอดราคาประมูลคลื่นแพง

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.