Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 สิงหาคม 2558 ทางสหภาพแรงงานฯ บมจ.ทีโอที ได้ยื่นหนังสือเกี่ยวกับ เรื่อง ผลกระทบความเสียหายต่อรัฐ (ทีโอที) ที่จะเกิดจากการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ของกสทช.พร้อมแนบรายชื่อผู้คัดค้านจำนวน 1,195 คน พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวก่อนพิจารณานำคลื่นนี้ไปจัดสรรใหม่ต่อไป

ประเด็นหลัก



นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรท.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การนำคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ มาประมูลจำนวน 20 เมกะเฮิร์ตซ โดยแบ่งออกเป็น 2 ใบอนุญาตนั้น ไม่เห็นด้วย เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีต้องใช้แบนด์วิธที่มากกว่านี้ในการพัฒนาสปีดการใช้งานเป็น 4จี ซึ่งทั่วโลกก็ไม่นิยมนำ 900 เมกะเฮิร์ตซ มาทำเทคโนโลยี 4จี โดยตนมองว่า การนำคลื่นนี้มาประมูลก็เพื่อ 2 บริษัทเท่านั้น คือ บมจ.ทีโอที เพราะอย่างไรเสียทีโอทีก็ต้องเข้าประมูลแน่นอน เนื่องจากในสัมปทานได้ลงทุนไปจำนวนมาก อีกบริษัทที่เคยอยู่ในสัมปทานก็เช่นกัน

ทั้งนี้ ทางสหภาพแรงงานฯ บมจ.ทีโอที ได้ยื่นหนังสือเกี่ยวกับ เรื่อง ผลกระทบความเสียหายต่อรัฐ (ทีโอที) ที่จะเกิดจากการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ของกสทช.พร้อมแนบรายชื่อผู้คัดค้านจำนวน 1,195 คน โดยระบุว่า สหภาพแรงงานฯ บมจ.ทีโอที ขอเสนอเพื่อให้กสทช.พิจารณา เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐ (ทีโอที) ประชาชน และเป็นการแสดงเจตจำนงค์รักษาคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ ของ บมจ.ทีโอที เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อ โปรดพิจารณาระงับการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวก่อนพิจารณานำคลื่นนี้ไปจัดสรรใหม่ต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ได้จัดทำแผนงานการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหลังสิ้นสัญญาสัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ที่จะรองรับการให้บริการ 2จี เพื่อมาใช้งานร่วมกับโครงข่าย 3จีบนคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ โดยบมจ.ทีโอที พบว่า จะมีลูกค้าคงค้างในระบบ 30 ล้านเลขหมาย พร้อมกับได้มีแผนงานเชื่อมต่อประเทศสมาชิกอาเซียนตามแผนงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที (แผนงาน Mobile same rate roaming for AEC) เพื่อทำให้ซิมการ์ดสามารถนำมาใช้ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าบริการถูกลงกว่าปัจจุบัน 5-10 เท่า และบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อสังคมในพื้นที่ห่างไกลเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

ด้านนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนจากบริษัท แอดวาน อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการจัดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ และจำนวนคลื่นที่นำมาจัดสรรนั้นเหมาะสมแล้ว และขอเสนอว่า คลื่นความถี่อื่นๆ ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานและกำลังจะหมดสัญญา รวมถึงคลื่นที่ยังไม่ใช้งาน ควรนำมาจัดสรรด้วยการประมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และควรมีการจัดโรดแมปที่ชัดเจน








____________________________________________________





กสทช.ยันประมูล 900 MHz ตามเดิม / ด้านสหภาพทีโอทีปั้นตัวเลขค้านเกินจริง



 กสทช.ยันประมูล 900 MHz ตามเดิม / ด้านสหภาพทีโอทีปั้นตัวเลขค้านเกินจริง

        ประชาพิจารณ์คลื่น 900 MHz คึกคัก ตัวแทนฝ่ายค้านอย่างสหภาพฯทีโอที โชว์ตัวเลข 2G ความถี่ 900 MHz ค้างอยู่ในระบบ 30 ล้านเลขหมายหากกสทช.เปิดประมูลความถี่จะทำให้รัฐคือทีโอทีเสียหายกว่า 8 หมื่นล้านบาท ขณะที่เอกชนบอกลูกค้าค้างในระบบ 2G เหลือแค่ 4-5 ล้านรายเท่านั้น ด้านกสทช.ยันประมูลตามกรอบเวลาเดิม
     
       เมื่อวันที่ 11 ส.ค.58 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม และ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่านความถี่ 895-915/940-960 MHz ในส่วนภาคกลางที่กรุงเทพฯ พบว่ามีผู้ร่วมงานประมาณ 500 คน ทั้งผู้ประกอบการ พนักงานหน่วยงานต่างๆ ประชาชนทั่วไป และตัวแทนผู้บริโภค รวมถึงพนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่มาร่วมแสดงความเห็นคัดค้านการประมูลพร้อมยื่นหนังสือชี้แจงเหตุผลที่คัดค้านและรายชื่อพนักงานกว่า 1,000 คน ต่อกสทช.
     
       ทั้งนี้คลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะนำมาประมูลนั้น เป็นคลื่นที่จะหมดสัญญาสัมปทานระหว่างทีโอที กับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส และส่งความถี่ คืนกลับมายัง กสทช. เพื่อนำไปประมูล ซึ่งไปตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555) ที่ได้กำหนดกรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่นำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย กสทช. แล้วให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา
     
       สำหรับประเด็นที่ทำการรับฟังความคิดเห็นได้แก่ 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล 2.วิธีการอนุญาต ความเหมาะสมของการใช้วิธีการประมูล ความเหมาะสมของกฎการประมูล ความเหมาะสมของเงื่อนไขกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลจำนวนน้อยกว่าหรือเท่า กับจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่จะนำมาอนุญาตให้ใช้ 3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ แยกเป็น 11,260 ล้านบาท กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต และ 16,080 ล้านบาท กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต 4.กระบวนการอนุญาต 5.สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz 6.มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล
     
       นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทีโอที (สรท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการนำคลื่นดังกล่าวมาประมูล เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีต้อง ใช้แบนด์วิธที่มากกว่านี้ในการพัฒนาเป็น 4Gซึ่งทั่วโลกไม่นิยมนำ 900 MHz มาทำเทคโนโลยี 4G
     
       ทั้งนี้ สรท.ได้ยื่นหนังสือเกี่ยวกับ เรื่อง ผลกระทบความเสียหายต่อรัฐ (ทีโอที) ที่จะเกิดจากการประมูลคลื่น 900 MHz ของกสทช.พร้อมแนบรายชื่อผู้คัดค้านจำนวน 1,195 คน โดยระบุว่า สรท.ขอเสนอเพื่อให้กสทช.พิจารณา เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐ (ทีโอที) ประชาชน และเป็นการแสดงเจตจำนงค์รักษาคลื่นความถี่ 900 MHz ของ ทีโอที เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์มือถือต่อ โปรดพิจารณาระงับการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz

กสทช.ยันประมูล 900 MHz ตามเดิม / ด้านสหภาพทีโอทีปั้นตัวเลขค้านเกินจริง

        *** ฝันตัวเลขลูกค้าค้างในระบบ 30 ล้านราย
     
       ด้านนายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสรท.กล่าวว่า ควรนำคลื่น 900 MHzให้หน่วยงานของรัฐอย่างทีโอที ที่จะสามารถใช้ในขอบชายแดนได้ ดังนั้นควรจัดสรรคลื่นความถี่ให้ก่อนซึ่ง ทีโอที ได้จัดทำแผนงานการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหลังสิ้นสัญญาสัมปทานคลื่น 900 MHz ที่จะรองรับการให้บริการ 2G เพื่อมาใช้งานร่วมกับโครงข่าย 3G บนคลื่น 2100 MHz โดยทีโอที พบว่า จะมีลูกค้าคงค้างในระบบ 30 ล้านเลขหมาย พร้อมกับได้มีแผนงานเชื่อมต่อประเทศสมาชิกอาเซียนตามแผนงานของกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที (แผนงาน Mobile same rate roaming for AEC) เพื่อทำให้ซิมการ์ดสามารถนำมาใช้ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าบริการถูกลงกว่าปัจจุบัน 5-10 เท่า และบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคมในพื้นที่ห่างไกลเพื่อรองรับนโยบาย Digital Economy
     
       นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) อนุมัติให้ กสทช.นำคลื่นความถี่ 900 MHzเปิดประมูล โดยเคาะราคาวันที่ 15ธ.ค.58และทีโอที ไม่ได้รับคลื่นความถี่ 900 MHzมาให้บริการโทรศัพท์มือถือต่อทำให้ลูกค้าจำนวน 30 ล้านเลขหมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สินของทีโอที ที่จำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ 900 MHzให้บริการต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้าใช้เครื่องลูกข่ายรุ่นเก่าที่รับคลื่น900 MHz ได้เท่านั้น จะต้องย้ายไปใช้โครงข่ายที่ผู้ประกอบการเอกชนที่ประมูลคลื่นความถี่ได้ ส่งผลให้ทีโอที เสียหายเป็นมูลค่า60,000 กว่าล้านบาท ต่อปี โดยคิดคำนวณจาก จำนวนผู้ใช้งาน คูณ รายได้ต่อเลขหมาย (ARPU) โดยลูกค้าระบบเติมเงิน (พรีเพด) ที่มี ARPUอยู่ที่ 175บาทต่อเลขหมาย จะมีผู้ใช้บริการระบบ2Gบนคลื่น900 MHzใช้งานต่อไปนานไม่น้อยกว่า5ปี
     
       ขณะที่มูลค่าทรัพย์สินโครงข่ายโทรศัพท์มือถือที่รับมอบมาเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 30ก.ย.58มีมูลค่ากว่า21,000ล้านบาท หากไม่สามารถนำมาให้บริการโทรศัพท์มือถือต่อได้ ทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวด้อยค่าทันที ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ อีกกว่า21,000ล้านบาท
     
       อย่างไรก็ตามนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ให้ข้อมูลว่าปริมาณผู้ใช้งานที่ยังใช้งานระบบ 2G ในปัจจุบันมีค้างอยู่ประมาณ 4-5 ล้านราย
     
       เป็นที่น่าสังเกตว่าความเสียหายที่สหภาพฯทีโอทีอ้างมามากมายนั้น อยู่บนฐานข้อมูลตัวเลขที่ถูกต้องมากน้อยแค่ไหน หรือ ลืมดูปีที่หยิบตัวเลขมาต่อต้าน
     
       ขณะที่นายมนต์ชัย หนูสง รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวเสริมว่า ขณะนี้กรรมการบริษัททีโอทีและฝ่ายบริหารยังไม่สรุปท่าทีว่าจะดำเนินการอย่างไร กรณีที่กสทช.จะนำคลื่นความถี่ 900 MHzไปเปิดประมูล โดยจะรอให้สัญญาสัมปทานที่ทีโอทีให้แก่เอไอเอส สิ้นสุดลงในวันที่ 30ก.ย.นี้ ก่อนเพราะต้องมีการหารือถึงอำนาจและสิทธิของเจ้าของสัมปทานภายหลังสิ้นสุดสัญญาลง
     
       ทั้งนี้ กรรมการบริษัทได้หารือกับคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) โดยคณะกรรมการฯได้สั่งให้ทีโอทีจัดทำแผนการดำเนินงานหลังสิ้นสุดสัมปทานทั้ง3แนวทางคือ1.เจ้าของสัมปทานบริหารและดำเนินการในคลื่น900 MHz 2.เจ้าของสัมปทานดำเนินการร่วมกับผู้รับสัมปทานรายเดิม และ3.เจ้าของสัมปทานดำเนินการหาผู้รับสัมปทานรายใหม่
     
       ด้านนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนจาก เอไอเอส กล่าวว่า เห็นด้วยกับการจัดการประมูลคลื่น 900 MHz และจำนวนคลื่นที่นำมาจัดสรรนั้นเหมาะสมแล้ว และขอเสนอว่า คลื่นความถี่อื่นๆ ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานและกำลังจะหมดสัญญา รวมถึงคลื่นที่ยังไม่ใช้งาน ควรนำมาจัดสรรด้วยการประมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และควรมีการจัดแผนคลื่นความถี่ที่ชัดเจน
     
       นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า มีผู้ถามมาว่าการประมูลคลื่นย่าน 900 MHz จะเลื่อนกำหนดไปหรือไม่ ขอยืนยันว่ากสทช.จะเดินหน้าต่อ โดยการประมูลจะทำตามกำหนดการที่กำหนดไว้ ส่วนที่มีผู้สะท้อนความเห็นเกี่ยวกับราคาประมูลว่าสูงเกินไป นั้นเห็นว่าการคำนวณค่าประมูลเป็นไปตามมาตรฐานของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู คำนวณมา ส่วนจะสูงหรือต่ำแล้วแต่ผู้ประกอบการจะมอง
     
       โดย กสทช.พยายามสร้างความสมดุลทุกด้าน โดยรัฐต้องได้รายได้อย่างเหมาะสม ผู้บริโภคต้องได้ใช้อัตราค่าบริการที่เป็นธรรม ผู้ประกอบการก็ต้องจ่ายได้เหมาะสมเพื่อให้ดำเนินธุรกิจและขยายโครงข่ายได้ การมองว่าราคาอาจสูงหรือต่ำอาจเกิดจากแนวคิดมุมมองของแต่ละภาคส่วน ราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่วันประมูล

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000091109

____________________________________________________



สหภาพทีโอที ค้าน"กสทช."นำคลื่น900 มาประมูล4จี



สหภาพฯ ทีโอที ยื่นหนังสื่อระงับการประมูล 900 ชี้เกิดความเสียหายกับรัฐ พร้อมไม่เห็นด้วย แบ่งคลื่นเป็น 10 x 2


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ส.ค. สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม และ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องแผนความถี่วิทยุกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ย่านความถี่ 895-915 /940-960 เมกะเฮิร์ตซ ในส่วนภาคกลางที่กรุงเทพฯ โดยบรรยากาศในงานค่อนข้างคึกคักมีผู้ร่วมงานประมาณ 500 คน ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการ พนักงานหน่วยงานต่างๆ ประชาชนทั่วไป และตัวแทนผู้บริโภค

สำหรับคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ที่จะนำมาประมูลนั้น เป็นคลื่นที่หมดสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และคืนกลับมายัง กสทช. เพื่อนำไปประมูล ซึ่งไปตามแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555) ที่ได้กำหนดกรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่นำคลื่นความถี่ไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย กสทช. แล้วให้คืนคลื่นความถี่เมื่อสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น

ทั้งนี้การประมูลคลื่น 900 เป็นการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยไม่ได้มีการจำกัดเทคโนโลยีในการประกอบกิจการ ผู้ที่ชนะการประมูลสามารถนำคลื่นไปให้บริการในเทคโนโลยีใดก็ได้ อีกทั้งการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นไปเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

โดยก่อนหน้าที่จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ สำนักงาน กสทช. ได้นำร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงาน กสทช. www.nbtc.go.th และได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนทั่วไปได้ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศฉบับนี้ด้วยการส่งเอกสารโดยตรง หรือผ่านช่องทางจดหมาย อีเมล ต่อสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค. 58 ที่ผ่านมา

ส่วนของประเด็นที่จะทำการรับฟังความคิดเห็นในวันนี้ ได้แก่ 1.ขนาดของคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูล 2.วิธีการอนุญาต ความเหมาะสมของการใช้วิธีการประมูล ความเหมาะสมของกฎการประมูล ความเหมาะสมของเงื่อนไขกรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลจำนวนน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนชุดคลื่นความถี่ที่จะนำมาอนุญาตให้ใช้ 3.ราคาขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ แยกเป็น 11,260 ล้านบาท กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลมากกว่าจำนวนใบอนุญาต และ 16,080 ล้านบาท กรณีที่มีผู้เข้าร่วมการประมูลน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนใบอนุญาต 4.กระบวนการอนุญาต 5.สิทธิ หน้าที่ และเงื่อนไขในการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซ 6.มาตรการจำกัดพฤติกรรมสมยอมในการเสนอราคาประมูล

นายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรท.) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การนำคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ มาประมูลจำนวน 20 เมกะเฮิร์ตซ โดยแบ่งออกเป็น 2 ใบอนุญาตนั้น ไม่เห็นด้วย เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีต้องใช้แบนด์วิธที่มากกว่านี้ในการพัฒนาสปีดการใช้งานเป็น 4จี ซึ่งทั่วโลกก็ไม่นิยมนำ 900 เมกะเฮิร์ตซ มาทำเทคโนโลยี 4จี โดยตนมองว่า การนำคลื่นนี้มาประมูลก็เพื่อ 2 บริษัทเท่านั้น คือ บมจ.ทีโอที เพราะอย่างไรเสียทีโอทีก็ต้องเข้าประมูลแน่นอน เนื่องจากในสัมปทานได้ลงทุนไปจำนวนมาก อีกบริษัทที่เคยอยู่ในสัมปทานก็เช่นกัน

ทั้งนี้ ทางสหภาพแรงงานฯ บมจ.ทีโอที ได้ยื่นหนังสือเกี่ยวกับ เรื่อง ผลกระทบความเสียหายต่อรัฐ (ทีโอที) ที่จะเกิดจากการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ของกสทช.พร้อมแนบรายชื่อผู้คัดค้านจำนวน 1,195 คน โดยระบุว่า สหภาพแรงงานฯ บมจ.ทีโอที ขอเสนอเพื่อให้กสทช.พิจารณา เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐ (ทีโอที) ประชาชน และเป็นการแสดงเจตจำนงค์รักษาคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซ ของ บมจ.ทีโอที เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อ โปรดพิจารณาระงับการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิร์ตซพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวก่อนพิจารณานำคลื่นนี้ไปจัดสรรใหม่ต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจาก บมจ.ทีโอที ได้จัดทำแผนงานการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินหลังสิ้นสัญญาสัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ ที่จะรองรับการให้บริการ 2จี เพื่อมาใช้งานร่วมกับโครงข่าย 3จีบนคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ โดยบมจ.ทีโอที พบว่า จะมีลูกค้าคงค้างในระบบ 30 ล้านเลขหมาย พร้อมกับได้มีแผนงานเชื่อมต่อประเทศสมาชิกอาเซียนตามแผนงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที (แผนงาน Mobile same rate roaming for AEC) เพื่อทำให้ซิมการ์ดสามารถนำมาใช้ได้ในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ราคาค่าบริการถูกลงกว่าปัจจุบัน 5-10 เท่า และบริการอินเตอร์เน็ตเพื่อสังคมในพื้นที่ห่างไกลเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล

ด้านนายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ตัวแทนจากบริษัท แอดวาน อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการจัดการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ และจำนวนคลื่นที่นำมาจัดสรรนั้นเหมาะสมแล้ว และขอเสนอว่า คลื่นความถี่อื่นๆ ที่ยังอยู่ในสัญญาสัมปทานและกำลังจะหมดสัญญา รวมถึงคลื่นที่ยังไม่ใช้งาน ควรนำมาจัดสรรด้วยการประมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และควรมีการจัดโรดแมปที่ชัดเจน

http://www.thaipost.net/?q=สหภาพทีโอที-ค้านกสทชนำคลื่น900-มาประมูล4จี

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.