Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 CAT จับมือเอ็กซ์เซ้นส์ ติดตามเรือประมง VMS ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างการทำงานระบบติดตามผ่านดาวเทียม และโปรแกรมระบบติดตามเรือ โดยบริษัทได้พัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นส่วนของโปรแกรมระบบติดตามเรือที่จะใช้สำหรับตรวจสอบ และติดตามตำแหน่งของเรือ

ประเด็นหลัก


       นายชัยยุทธ สันทนานุการ รักษาการในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติการประมงปี พ.ศ. 2558 และจัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขึ้น ทำให้ศูนย์บัญชาการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดมาตรฐาน สมรรถนะของอุปกรณ์ และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional Requirements) ของระบบติดตามเรือประมง หรือ Vessel Monitoring System : VMS และกำหนดระยะเวลาการติดตั้งสำหรับเรือประมง เรือบรรทุกสินค้า ประมง ห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมงขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส แต่ไปถึง 60 ตันกรอส และที่มีขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป ทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้
     
       ด้าน นายอำนวย ฉิมอินทร์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส กล่าวว่า โดยภาพรวมของเรือประมงที่มีอยู่ 6,000 ลำนั้น พบว่า มีเรือที่ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเพียง 1,600 ลำ ซึ่งมีทั้งการติดตั้งกับระบบของต่างประเทศที่มีอยู่ประมาณ 5-6 ราย จำนวน 1,100 ราย และเป็นการติดตั้งจากระบบของบริษัทประมาณ 500 ลำ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลมีกฎหมายออกมา และบังคับให้ต้องลงทะเบียนทั้งหมดภายในเดือน ต.ค.นี้ จึงทำให้บริษัทจับมือร่วมกับ กสท โทรคมนาคม ในการใช้เน็ตเวิร์ก และดาต้า เซ็นเตอร์ ที่เป็นของคนไทย จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลการเดินเรือซึ่งเป็นข้อมูลที่หวงแหน และต้องการความปลอดภัยสูงสุดเก็บไว้ที่ประเทศไทย น่าจะสร้างความมั่นใจได้มากกว่าเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของต่างประเทศ นอกจากนี้ การที่เป็นบริษัทของคนไทย พัฒนาโดยคนไทย จึงสามารถให้บริการได้ถูกกว่าซอฟต์แวร์ของต่างชาติ โดยบริษัทคิดค่าบริการรายเดือนอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทต่อลำ
     
       สำหรับระบบติดตามเรือประมง VMS ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างการทำงานระบบติดตามผ่านดาวเทียม และโปรแกรมระบบติดตามเรือ โดยบริษัทได้พัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นส่วนของโปรแกรมระบบติดตามเรือที่จะใช้สำหรับตรวจสอบ และติดตามตำแหน่งของเรือ รวมถึงสามารถบอกข้อมูล ระดับความเร็วของการขับเคลื่อน และทิศทางการเดินเรือแต่ละลำได้ และดูแลในส่วนของอุปกรณ์ที่จะติดตั้งบนเรือ โดยอุปกรณ์จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเรือกับดาวเทียม GPS เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งเรือ และสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนเรือ โดยส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดิน พร้อมกันนั้น ข้อมูลจะถูกเชื่อมต่อมายังศูนย์จัดเก็บข้อมูล โดยประมวลผลผ่านโปรแกรมระบบระบุตำแหน่งเรือประมง ซึ่ง กสท โทรคมนาคม เป็นผู้สนับสนุนโครงข่ายในส่วนนี้ทั้งหมด


_____________________________________________________













กสท โทรคมนาคม จับมือเอ็กซ์เซ้นส์ พัฒนาระบบติดตามเรือประมง สนองนโยบายรัฐ


        กสท โทรคมนาคม จับมือเอ็กซ์เซ้นส์ พัฒนาระบบติดตามเรือประมง หลังรัฐบาลออก กม.เรือประมงขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ต้องมีระบบติดตามเรือประมงภายในเดือน ต.ค.นี้ ชูจุดแข็งเก็บข้อมูลปลอดภัย ราคาถูก
     
       นายชัยยุทธ สันทนานุการ รักษาการในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติการประมงปี พ.ศ. 2558 และจัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายขึ้น ทำให้ศูนย์บัญชาการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ได้ออกประกาศ เรื่อง กำหนดมาตรฐาน สมรรถนะของอุปกรณ์ และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional Requirements) ของระบบติดตามเรือประมง หรือ Vessel Monitoring System : VMS และกำหนดระยะเวลาการติดตั้งสำหรับเรือประมง เรือบรรทุกสินค้า ประมง ห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำการประมงขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทำประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอส แต่ไปถึง 60 ตันกรอส และที่มีขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป ทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.นี้
     
       ทั้งนี้ จำนวนเรือประมงในประเทศไทยที่มีขนาดดังกล่าวมีประมาณ 6,000 ลำ ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า มีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงอยู่เพียง 1,600 ลำ ดังนั้น กสท โทรคมนาคม จึงได้ร่วมมือกับบริษัท เอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด บริษัทวิจัยพัฒนา และให้บริการระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าผู้มีความชำนาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบติดตาม และการขนส่งในการให้บริการระบบติดตามเรือประมง Vessel Monitoring System : VMS โดยระบบที่พัฒนาร่วมกันนั้น จะใช้งานอยู่บน infrastructure ของ CAT ทั้งหมด ซึ่งข้อมูลเรือจะถูกเก็บไว้ที่ศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ นนทบุรี เป็นไซต์หลัก และมีศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ศรีราชา เป็นไซต์สำรองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน เชื่อมโยงข้อมูลผ่านโครงข่าย IP Network ที่มีประสิทธิภาพ และมีศูนย์ SOC ตรวจสอบดูแลความปลอดภัยข้อมูลตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น กสท โทรคมนาคม และ เอ็กซ์เซ้นส์ จะร่วมกันพัฒนาโครงข่ายดาวเทียม กสท เพื่อให้เป็น Gateway สำหรับระบบติดตามเรือผ่านดาวเทียมในภูมิภาคนี้อีกด้วย
     
       ด้าน นายอำนวย ฉิมอินทร์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเอ็กซ์เซ้นส์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส กล่าวว่า โดยภาพรวมของเรือประมงที่มีอยู่ 6,000 ลำนั้น พบว่า มีเรือที่ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงเพียง 1,600 ลำ ซึ่งมีทั้งการติดตั้งกับระบบของต่างประเทศที่มีอยู่ประมาณ 5-6 ราย จำนวน 1,100 ราย และเป็นการติดตั้งจากระบบของบริษัทประมาณ 500 ลำ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลมีกฎหมายออกมา และบังคับให้ต้องลงทะเบียนทั้งหมดภายในเดือน ต.ค.นี้ จึงทำให้บริษัทจับมือร่วมกับ กสท โทรคมนาคม ในการใช้เน็ตเวิร์ก และดาต้า เซ็นเตอร์ ที่เป็นของคนไทย จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลการเดินเรือซึ่งเป็นข้อมูลที่หวงแหน และต้องการความปลอดภัยสูงสุดเก็บไว้ที่ประเทศไทย น่าจะสร้างความมั่นใจได้มากกว่าเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของต่างประเทศ นอกจากนี้ การที่เป็นบริษัทของคนไทย พัฒนาโดยคนไทย จึงสามารถให้บริการได้ถูกกว่าซอฟต์แวร์ของต่างชาติ โดยบริษัทคิดค่าบริการรายเดือนอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาทต่อลำ
     
       สำหรับระบบติดตามเรือประมง VMS ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างการทำงานระบบติดตามผ่านดาวเทียม และโปรแกรมระบบติดตามเรือ โดยบริษัทได้พัฒนาทั้งซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นส่วนของโปรแกรมระบบติดตามเรือที่จะใช้สำหรับตรวจสอบ และติดตามตำแหน่งของเรือ รวมถึงสามารถบอกข้อมูล ระดับความเร็วของการขับเคลื่อน และทิศทางการเดินเรือแต่ละลำได้ และดูแลในส่วนของอุปกรณ์ที่จะติดตั้งบนเรือ โดยอุปกรณ์จะทำหน้าที่รับส่งข้อมูลระหว่างเรือกับดาวเทียม GPS เพื่อส่งข้อมูลตำแหน่งเรือ และสถานะการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนเรือ โดยส่งข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังสถานีภาคพื้นดิน พร้อมกันนั้น ข้อมูลจะถูกเชื่อมต่อมายังศูนย์จัดเก็บข้อมูล โดยประมวลผลผ่านโปรแกรมระบบระบุตำแหน่งเรือประมง ซึ่ง กสท โทรคมนาคม เป็นผู้สนับสนุนโครงข่ายในส่วนนี้ทั้งหมด


http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000094342&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+21-8-58&utm_campaign=20150820_m127030785_Manager+Morning+Brief+21-8-58&utm_term=_E0_B8_81_E0_B8_AA_E0_B8_97+_E0_B9_82_E0_B8_97_E0_B8_A3_E0_B8_84_E0_B8_A1_E0_B8_99_E0_B8_B2_E0_B8_84_E0_B8_A1+_E0_B8_88_E0_B8_B1_E0_B8_9A_E0_B8_A1_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B9_80_E0_B8_AD_E0_B9_87_E0_B8_81_E0_B8_8B_E0_B9_8C_E0_B9_80_E0_B8_8B_E0_B9_89_E0_B8_99_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.