Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 CTH ปรับกลยุทธ์ คาดการณ์ว่าหลังจากสิ้นสุดฤดูกาล 2015/2016 ประมาณเดือนพฤษภาคมปี 2559 จะได้ฐานสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 1.7 ล้านราย รวมเป็น 3 ล้านราย หรือมีรายได้ 6,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีฐานสมาชิก 1.3 ล้านราย มีรายได้ 3,000 ล้านบาท

ประเด็นหลัก


- ผลจากการปรับกลยุทธ์ครั้งนี้ จะทำให้เป้าหมายรายได้และฐานสมาชิกเป็นอย่างไร

คาดการณ์ว่าหลังจากสิ้นสุดฤดูกาล 2015/2016 ประมาณเดือนพฤษภาคมปี 2559 จะได้ฐานสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 1.7 ล้านราย รวมเป็น 3 ล้านราย หรือมีรายได้ 6,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีฐานสมาชิก 1.3 ล้านราย มีรายได้ 3,000 ล้านบาท


_____________________________________________________










ฮึดสู้! CTH ปรับเกมปั๊มรายได้ ลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีกปีสุดท้าย ก่อนประมูลรอบใหม่


เหลือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอล "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" เพียง 1 ซีซั่นเท่านั้น สำหรับผู้ประกอบการโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) "ซีทีเอช" และจะสิ้นสุดการครอบครองลิขสิทธิ์ดังกล่าวที่ประมูลมาด้วยมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท (รวม 3 ซีซั่น 2013/2014-2015/2016) ลงกลางปี 2559 ก่อนที่การประมูลรอบใหม่จะเริ่มต้นในเดือนตุลาคมนี้

ก่อนก้าวเข้าสู่การแข่งขัน "ซีทีเอช" ชัดเจนว่าจะใช้ "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" เป็นใบเบิกทางสร้างชื่อให้รู้จักในนามของผู้เล่นรายใหม่บนตลาดเพย์ทีวี ซึ่งซีทีเอชก็ประสบความสำเร็จ ขณะที่ในแง่รายได้กลับไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เมื่อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดใกล้หมดลง "ซีทีเอช" ก็ต้องดิ้นสร้างรายได้จากคอนเทนต์นี้ให้มากที่สุด "เชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) ไขข้อสงสัยทุกกลยุทธ์บนความท้าทายรอบใหม่



- 2 ปีกับการบริหารลิขสิทธิ์ "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" ทำให้เป้าหมายรายได้ประสบความสำเร็จตามที่วางไว้หรือไม่

แม้หัวใจสำคัญของเพย์ทีวี คือ คอนเทนต์ แต่การมีคอนเทนต์ที่ดีก็ไม่ได้การันตีว่า ธุรกิจจะประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย ทั้งเรื่องการตลาด ช่องทางจัดจำหน่าย ซึ่งต้องผสมผสานทุกอย่างให้ลงตัว ตลอดเวลา 2 ปีที่ผ่านมาก็ทำงานอย่างหนัก เพื่อปิดจุดอ่อนทั้งหมด แต่ถ้ากล่าวถึง "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" ก็ถือว่ายังขาดทุนอยู่ แต่การดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีก็มีต้นทุนอื่น ๆ นอกเหนือจาก "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" ด้วย ทั้งค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์ภาพยนตร์ สารคดี การบริหารจัดการ แต่ด้วยโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่ง แม้ผลดำเนินงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะขาดทุน แต่เป็นการขาดทุนที่บริษัทยังรับได้ และพร้อมจะเดินหน้าธุรกิจต่อไป

- เหลือลิขสิทธิ์พรีเมียร์ลีก อังกฤษอีก 1 ซีซั่นจะเดินหน้าแผนธุรกิจอย่างไร

การปรับกลยุทธ์ต่าง ๆ ไม่ถือว่าช้าไป ตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานเมื่อปีก่อนก็พยายามปรับตัวมาต่อเนื่อง แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยลบที่เกิดขึ้นทั้งจากภายใน-นอกที่ต้องแก้ไข ก็ทำให้การทำงานล่าช้าไปบ้าง แต่ทุกอย่างก็ต้องเดินหน้าต่อ

ปีนี้ปรับกลยุทธ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ปรับแพ็กเกจการขาย ปัจจุบันเหลือแพ็กเกจหลัก 6 แพ็ก ราคาตั้งแต่ 349-999 บาทต่อเดือน เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจง่ายขึ้น จากเดิมที่มีแพ็กเกจจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากการรวมบริษัทเข้ากับบริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจเพย์ทีวีในเครือของแกรมมี่ ทำให้มีแพ็กเกจที่ซ้ำซ้อนกันอยู่ ซึ่งก็พยายามพัฒนาขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ได้ปรับราคาแพ็กเกจที่รับชมพรีเมียร์ลีกขึ้น 200 บาทต่อเดือน เช่น จากเดิมราคา 399 บาทต่อเดือน เพิ่มเป็น 599 บาทต่อเดือน การสร้างรายได้จากสปอนเซอร์รายย่อย จากเดิมเน้นเฉพาะสปอนเซอร์รายใหญ่ที่มี 4 ราย รายละ 100 ล้านบาท และคาดว่าปีนี้จะมีรายย่อยเพิ่มอีก 10 ราย รายละ 20 ล้านบาท ก็จะทำให้รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบันมีรายได้จากสปอนเซอร์เข้ามาแล้ว 757 ล้านบาท จากเป้าที่วางไว้ 1,000 ล้านบาท ตามด้วยการจับมือกับพันธมิตรเพื่อถ่ายทอดสด "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ไอพีทีวี โมบาย เคเบิลทีวี จานดาวเทียม เป็นต้น

สุดท้ายการขายลิขสิทธิ์ "พรีเมียร์ลีก อังกฤษ" ให้กับช่องทางใหม่ ๆ เช่น โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร เป็นต้น

- ผลจากการปรับกลยุทธ์ครั้งนี้ จะทำให้เป้าหมายรายได้และฐานสมาชิกเป็นอย่างไร

คาดการณ์ว่าหลังจากสิ้นสุดฤดูกาล 2015/2016 ประมาณเดือนพฤษภาคมปี 2559 จะได้ฐานสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 1.7 ล้านราย รวมเป็น 3 ล้านราย หรือมีรายได้ 6,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีฐานสมาชิก 1.3 ล้านราย มีรายได้ 3,000 ล้านบาท

- ถ้า "ซีทีเอช" ไม่ชนะประมูลพรีเมียร์ลีก อังกฤษรอบใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นตุลาคมนี้ ทิศทางธุรกิจจะเป็นอย่างไร

การทำธุรกิจต้องมีแผน 1 แผน 2 หากไม่ชนะการประมูลพรีเมียร์ลีก อังกฤษครั้งต่อไป ธุรกิจก็ยังคงต้องเดินหน้าต่อ ที่ผ่านมาพยายามบาลานซ์คอนเทนต์ ไม่เทน้ำหนักไปที่คอนเทนต์กีฬา แต่เติมคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทั้งการ์ตูน ภาพยนตร์ เข้ามาต่อเนื่อง เพื่อขยายฐานกลุ่มครอบครัว แต่ตอนนี้บริษัทก็ยังมีเวลาเตรียมตัวสำหรับการเปิดประมูลรอบใหม่ ซึ่งอาจจะประมูลเดี่ยว หรือจับมือกับพันธมิตรที่มีทั้งระดับรีจินอลและในไทย แต่ยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดได้

- อุตสาหกรรมเพย์ทีวีในไทย ยังน่าสนใจอีกหรือไม่

อุตสาหกรรมนี้ก็ยังมีโอกาสเติบโตอีก เพียงแต่ว่าผู้เล่นรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขันต้องลงแรง ลงทุนมากกว่ารายเก่า เพราะว่าธุรกิจนี้ใช้งบฯลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากใช้คอนเทนต์เป็นตัวดึงความสนใจจากผู้ชม ซึ่งต้นทุนของคอนเทนต์ก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม คู่แข่งขันของเพย์ทีวีก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผู้เล่นบนสมรภูมิเดียวกันเท่านั้น แต่หมายความถึงอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ทั้งหมด ทีวีดิจิทัล ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ซึ่งเป็นฟรีคอนเทนต์ที่ผู้ชมไม่ต้องจ่ายเงินรับชม มีเพียงเพย์ทีวีเท่านั้นที่ต้องจ่ายเงินเพื่อรับชม เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การมาของรายใหม่ยากขึ้น และการแข่งขันบนธุรกิจเพย์ทีวีก็รุนแรงมากขึ้นเช่นกัน


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1438583074

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.