Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 สิงหาคม 2558 TOT เร่งหาพาร์ตเนอร์จะเร่งปิดดีลก่อนประมูล 4G ไม่อย่างนั้นความน่าดึงดูดใจของทีโอทีก็หมดทันที!! บางรายเสนอเพื่อมาซินเนอร์ยีกับ 2100 MHz บางรายจะเป็น MVNE

ประเด็นหลัก


- สลัดดีล MVNO ทิ้ง

กลุ่มสามารถฯ เป็น 1 ใน 5 ที่เสนอตัวมา ตอนนี้เขาทำ MVNO กับเรา แต่ในโมเดลที่เสนอเพิ่ม คือ เขาจะเป็น MVNE กับเราด้วย ง่าย ๆ คือ เราทำรีเทลไม่เวิร์ก จะเร่งปิดดีลก่อนประมูล 4G ไม่อย่างนั้นความน่าดึงดูดใจของทีโอทีก็หมดทันที

- ไม่เข้าประมูลคลื่นจาก กสทช.แน่

ไม่มีตังค์แล้ว แต่มีพาร์ตเนอร์บางรายเสนอมาว่า จะเข้าไปประมูลคลื่นเพื่อมาซินเนอร์ยีกับ 2100 MHz ของทีโอที



_____________________________________________________










คุยกับแคนดิเดต รมว.ใหม่ ? ชำแหละ "ทีโอที-ดิจิทัลอีโคโนมี"



สัมภาษณ์


"ประชาชาติธุรกิจ" ได้โอกาสสัมภาษณ์หนึ่งในแคนดิเดตเจ้ากระทรวงคนใหม่ รวมถึงตำแหน่งเลขาฯบอร์ด DE "ดร.ชิต เหล่าวัฒนา" ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานบอร์ดยุทธศาสตร์ของ บมจ.ทีโอที และกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บอร์ด DE ชุดชั่วคราว) ถึงภารกิจพลิกฟื้นทีโอทีและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

- ปัญหาทีโอที

บอร์ดชุดนี้จะคล้ายกับยุค คมช. ปี 2549 ยุคแรกที่ผมมา คือมีภารกิจพิเศษ มุ่งไปที่คอร์สสตรักเจอร์ เพราะทีโอทีไม่เคยซื้อของถูกกว่าเจ้าอื่น เอกชนเข้ามาสร้างธุรกิจจากทีโอทีตลอด ไม่ว่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ เวนเดอร์รายใหญ่ ขบวนการมันแทรกซึมอยู่ในทีโอทีมาตลอด เก่งในการสร้างโปรเจ็กต์มาก แต่ไม่เก่งในการหารายได้ ตั้งแต่มาเป็นบอร์ดลดค่าใช้จ่ายไปได้กว่า 4 พันล้านบาท ไม่อย่างนั้นกลายเป็นยิ่งทำยิ่งขาดทุน

คือปัญหาทีโอทีมันมีทั้งการเมืองเข้ามาล้วงลูก ปมสัมปทานเข้ามาฉุดรั้ง แต่ถ้าคนทีโอทีมีวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกต้อง องค์กรก็จะไม่เป็นแบบนี้ ลองเทอมโซลูชั่นมันต้องเกิดจากคนทีโอทีเองที่จะแก้ไขปัญหา ต้องปฏิเสธเรื่องคอร์รัปชั่นอย่างชัดเจน

ฉะนั้น บอร์ดต้องเร่งใน 3 เรื่องหลัก คือ โอนทรัพย์สินให้ดี หาพาร์ตเนอร์ให้ดี การรีสตรักเจอร์คอร์สให้ดี ไม่อย่างนั้นทีโอทีอยู่ไม่ได้ และต้องทำให้ได้ในยุคนี้ เพราะบอร์ดชุดนี้ไม่มีการเมืองเข้ามายุ่ง ณ จุดนี้ทีโอทียังมีโอกาสจะรีบอร์นได้

- บอร์ดชุดก่อนเน้นรื้อปมสัมปทาน

ซูเปอร์บอร์ดได้กำชับมาให้เจรจา ให้เดินตามโมเดลของแคทกับดีแทคตั้งเป็นทาวเวอร์โค และแบ่งโครงสร้างธุรกิจเป็น 5 กลุ่ม เผื่ออนาคตว่าอันไหนจะรวมกันกับแคทได้

- ความคืบหน้าหาพาร์ตเนอร์

ดีลอยด์บริษัทที่ปรึกษาที่จ้างมาได้คัดเลือกมา 2-3 บริษัท แต่ผมเห็นว่าเพื่อให้ความเป็นธรรม ก็ให้ฝ่ายบริหารไปเจรจากับทั้ง 5 บริษัทที่ยื่นข้อเสนอมากันข้อครหา ดีลอยด์มีกรอบมาแล้วว่าให้มีมูลค่าเท่าไร ไปเจรจามาห้ามต่ำกว่านี้ เน้นทาวเวอร์โค กับโมบายก่อน น่าจะง่ายที่สุด

ตั้งเป้าไว้ว่าไม่เกิน 21 ส.ค. ฝ่ายบริหารต้องรายงานเบื้องต้นว่า หวยจะออกที่เจ้าไหนคือเป็นไปไม่ได้ที่จะเลือกทั้ง 5 ราย แต่เป็นไปได้ที่จะมีมากกว่า 1 ราย

- แต่เรื่องเสามีปมสัมปทานเยอะ

ทาวเวอร์โค คือถ้ามีกลไกให้ทุกคนแข่งอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เอกชนก็แฮปปี้นะ แล้วไปแข่งกันที่อย่างอื่น

- ทาวเวอร์โคก็ต้องเป็นเอไอเอส

ก็เป็นไปได้สูงมาก เงื่อนไขของ คนร.ก็ให้ไปเจรจากัน แต่เงื่อนไขสำคัญของเอไอเอส คือ ให้ดีแทคทำกับแคทเสร็จก่อน ถ้าแคททำสำเร็จแล้ว เราก็อาจจะดึงเรื่องนี้ออกจากการตกลงเรื่องพาร์ตเนอร์ แล้วดีลดิลิเจนซ์ตั้งบริษัทร่วมทุน ซึ่งเราให้ดีลอยด์มาประเมินมูลค่าทรัพย์สินเสร็จแล้ว เหลือแค่ว่าเอไอเอสจะประเมินทรัพย์สินมาดูว่าจะต้องมาจ่ายกันเท่าไร

- ธุรกิจโมบาย

ทุกคนฝันกันเรื่อง 4G ซึ่งจะให้ดีต้องมีคลื่น 2 ระดับผสมกัน 900 MHz เป็นคลื่นที่สวยที่สุด และเรายังมีคลื่น 2100 MHz กับ 2300 MHz

แต่ในบอร์ดยุทธศาสตร์คุยกันแล้วว่า จุดแข็งของทีโอที คือ โครงข่ายแบบมีสาย ธุรกิจ 3G ของทีโอทีเลือดไหลวันละ 13 ล้านบาท ดีไซน์โครงข่ายไว้สำหรับ 7.2 ล้านราย แต่เพิ่งได้ 5-6 แสนราย ถ้าเก็บไว้หมด ก็ต้องปุเลง ๆ ไปแบบนี้แล้วยังต้องลงทุนเพิ่มอีกเยอะ ทั้งคน ทั้งการโอเปอเรต จึงจะไม่ทำรีเทลเองอีก

- รูปแบบพาร์ตเนอร์

ถ้าเป็น JV (บริษัทร่วมทุน) เราต้องไปเข้า ครม.ต่อ แต่ถ้ามาขอเป็น MVNO บอกเลยว่า เราไม่พิจารณา เพราะมันซิมเบิลไป เรากำลังพูดถึงรายได้เดือนละ 8-9 พันล้านบาท ใช้ประโยชน์จากคลื่นทั้ง 2100 MHz และ 2300 MHz

- สลัดดีล MVNO ทิ้ง

กลุ่มสามารถฯ เป็น 1 ใน 5 ที่เสนอตัวมา ตอนนี้เขาทำ MVNO กับเรา แต่ในโมเดลที่เสนอเพิ่ม คือ เขาจะเป็น MVNE กับเราด้วย ง่าย ๆ คือ เราทำรีเทลไม่เวิร์ก จะเร่งปิดดีลก่อนประมูล 4G ไม่อย่างนั้นความน่าดึงดูดใจของทีโอทีก็หมดทันที

- ไม่เข้าประมูลคลื่นจาก กสทช.แน่

ไม่มีตังค์แล้ว แต่มีพาร์ตเนอร์บางรายเสนอมาว่า จะเข้าไปประมูลคลื่นเพื่อมาซินเนอร์ยีกับ 2100 MHz ของทีโอที

- จุดยืนสิทธิ์คลื่น 900 MHz

ต้องยอมรับว่าเราไม่มีสิทธิ์หลังสัมปทานหมด กฎหมายระบุไว้แบบนั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ทำ 4G เพราะถ้ามีพาร์ตเนอร์ถือคลื่น 900 MHz มาคุย ก็ทำ 4G ไปด้วยกัน

- พาร์ตเนอร์จะพาให้ทีโอทีรอด ?

รายได้จะมากขึ้น นอกเหนือจากที่ขอลงทุน 2 ล้านพอร์ตอีก 3 หมื่นกว่าล้าน ซึ่งหลายคนก็ติงว่า ให้ทำเดี๋ยวก็เจ๊งอีก แต่ถ้าไม่ให้ทำแล้วจะให้ขายลูกชิ้นทอดหรือไง คือถ้าตรงไหนมีปัญหาก็ต้องไปบี้แก้ตรงนั้น

เมื่อรัฐบาลเดินหน้าเศรษฐกิจดิจิทัล บทบาททีโอทีกับแคท คือ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่ไม่ก่อให้เกิดกำไร แต่จะเป็นฐานของประเทศ อาทิ บริการ USO โทรคมนาคมในพื้นที่ห่างไกล เมื่อรัฐบาลประกาศว่าจะเอา FTTX ไปลงทุกหมู่บ้าน ซึ่งถ้าทีโอทีไม่เป็นหลักให้ โอกาสจะล้มเหลวสูงมาก ฉะนั้น ทีโอทีต้องยึดหัวหาดเรื่องบรอดแบนด์ ส่วนทำแล้วขาดทุน ต้องแก้ที่การจัดการ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ควรยุบทีโอที

- บรอดแบนด์แห่งชาติจะสำเร็จในยุคนี้

ต้องรีบทำในตอนนี้ ไม่อย่างนั้นลูกหลานเราจะลำบาก และแม้แนวคิดจะคล้ายกัน แต่ยุคนี้กับยุค คมช.เมื่อ 10 ปีก่อน แรงขับเคลื่อนต่างกัน ตอนนี้มี คนร. มีบอร์ด DE มาหนุน ดึงเอกชนมาเป็นเพื่อน ต่างกับครั้งก่อนที่ทีโอทีเหมือนจะเป็นพระเอก ชูตัวเองเป็นเทเลคอมแห่งชาติ คนก็ไม่เอาด้วย

โดยจะรวมโครงข่ายเคเบิลของรัฐก่อน ทั้งทีโอที แคท 3 การไฟฟ้า การรถไฟฯ แค่นี้ก็ซ้ำซ้อนกันเยอะ มีเหลือส่วนที่ยังไม่ครอบคลุมอีกแค่ 28-30% แม้ว่าจะไม่เอาเน็ตเวิร์กของเอกชนมารวม ต่อไปเราจะมีคอร์เน็ตเวิร์กให้พร้อม เอกชนแค่มาลงทุนลาสไมล์ลากเข้าบ้านผู้ใช้เท่านั้น หรือถ้าพื้นที่ที่เขาจะไปเปิดบริการไม่มี ก็ให้ลงทุนแล้วเอามาขายต่อแลกเป็นหุ้นในบริษัทร่วมทุนนี้ได้ ทำแบบนี้ก็จะมีคอร์เน็ตเวิร์กพร้อมสำหรับธุรกิจต่อยอดอื่น ๆ ด้วย ต้นทุนโทรคมนาคมของประเทศก็จะลดลง แล้วเอกชนทุกรายก็จะแข่งขันบนสนามเดียวกัน แล้วถ้าทั้งเคเบิลซับมารีน ทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ทำได้สำเร็จ บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างประเทศก็จะเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น แทนที่จะไปที่สิงคโปร์กับมาเลเซีย





- คืบหน้าดาต้าเซ็นเตอร์

ต.ค.นี้ได้บริษัทที่ผ่านเข้าโครงการ คงไม่ประมูล เพราะดาต้าเซ็นเตอร์กำไรแค่ 7-8% จะใช้วางเกณฑ์คุณสมบัติทางเทคนิคเพื่อคัดบริษัทเข้าโครงการก่อน แล้วก็จะประกาศดีมานด์ภาครัฐว่า มีของหน่วยงานไหนบ้าง แล้วให้แต่ละบริษัทยื่นเข้ามาว่าต้องการลงทุนในจุดไหน ถ้าตรงกันค่อยมาจับสลาก เพราะ ณ ตอนนี้มีบริษัทยื่นขอลงทุนมาราวหมื่นแร็กพอๆ กับดีมานด์ภาครัฐ

ตอนนี้เจรจาสิทธิพิเศษให้แล้ว อย่างการันตีดีมานด์ภาครัฐให้ 50% สิทธิ BOI ที่แต่ก่อนจะให้เฉพาะการสร้างบนพื้นที่ 5,000 ตร.ม.ขึ้นไป ตอนนี้แค่ 2,000 ตร.ม.ก็ได้ และกำลังเจรจาขอค่าไฟอัตราพิเศษให้

- ถ้าต้องเปลี่ยนทีมเศรษฐกิจรัฐบาล

เท่าที่ถาม ๆ ดูก็ไม่มีอะไร การผลักดัน DE รัฐบาลจะเซตให้เป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกอย่างขับเคลื่อนไปได้ต่อเนื่อง

- กระทรวงใหม่จะต่างจากเดิม

กระทรวง DE จะทำให้หน่วยงานหลายที่ในไอซีทีที่เคยไม่เวิร์ก ทำงานได้ดีขึ้น ดิจิทัลอีโคโนมีขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีอย่างมาก ถ้าเราไม่ปูพื้นมาให้ดี ๆ นี่จะแย่ ตอนนี้เราจะต้องทำประเทศไทยให้เป็นเทรดดิ้งเนชั่น ซึ่งเท่าที่ไปคุยกับตัวแทนสมาคมการค้าต่าง ๆ ยืนยันตรงกันว่า ถ้าไอทีกับโทรคมนาคมไม่พร้อม เราทำไม่ได้แน่นอน แค่เอกสารนำเข้าส่งออกก็แย่แล้ว

เรื่องการบริหารผมไม่ห่วงเลย มั่นใจว่ารัฐมนตรีพรชัย (รุจิประภา) เอาอยู่แน่นอน แต่ที่เป็นห่วงมากว่าจะไม่รอดก็คือ ไม่มีคนทำงานได้ การจัดการโครงสร้างพื้นฐานต้องปรับปรุง เพราะไทยถูกทำให้เป็นอันดับ 3 ในการเป็นฐานส่งออกไซเบอร์ไครมไปโจมตีประเทศอื่น ระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ต้องปรับปรุง หลายรัฐบาลก็จัดซื้ออุปกรณ์พวกนี้มาตั้งศูนย์ ISOC รวมกันพันกว่าล้านบาทแล้ว แต่ก็ไม่รู้หายไปไหนหมด

แต่ก็ยังมั่นใจว่า นโยบาย DE จะทำให้อุตสาหกรรมทั้งประเทศเปลี่ยน โดยเฉพาะงานด้านอีเซอร์วิส เราน่าจะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นทันทีตั้งแต่ปีหน้า โดยเฉพาะการผลักดันให้ใช้ไอทีมาช่วยสนับสนุนการนำเข้าส่งออกตลอด 24 ชั่วโมง การลดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สำหรับทรานเซ็กชั่นของอีคอมเมิร์ซ คือจะพยายามแก้ไขกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคให้ได้ภายในกลางปีหน้า

- บอร์ด DE มีอำนาจมาก

ต้องจับตาว่า ถ้าไม่ใช่รัฐบาลยุคนี้ บอร์ด DE จะเป็นแบบไหน ก็น่ากลัวเหมือนกัน ถ้ามีเช็กแอนด์บาลานซ์ไม่ดีกับการเมือง คมที่แก้ปัญหาอาจจะกลายเป็นคมที่สร้างปัญหาได้ ทางแก้ในระยะยาวคือ ต้องปูพื้นฐานด้านการศึกษา ต้องให้สังคมรู้ทันคนโกงมากขึ้น แต่ในส่วนนั้นก็ต้องให้สื่อช่วยกันจับตา

- เป็นหนึ่งในบอร์ด DE ชุดจริง

ก็คงเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็กำลังประสานหาคนมาเป็นเลขาฯกรรมการ DE แทน

- แคนดิเดตรัฐมนตรี

มันเป็นการแซวเล่นกันเฉย ๆ ไม่ได้จะมาเป็นรัฐมนตรีจริง ๆ พูดแบบนี้เดี๋ยวรัฐมนตรีพรชัยจะเคืองเอา ผมทำงานหลังฉากดีกว่า เพราะการเป็นคนที่มีตำแหน่งจะมีอะไรพะรุงพะรังเยอะ

- สเป็กรัฐมนตรีใหม่

กระทรวง DE ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยีอย่างเดียว ดิจิทัลเทคโนโลยีจะเปลี่ยนโลกไปอยู่ในจุดที่คนไม่คาดคิด เสนาบดีของกระทรวงใหม่ไม่จำเป็นต้องเก่งเทคโนโลยี แต่ต้องเข้าใจมิติของเศรษฐกิจและสังคมที่สืบเนื่องมาจากดิจิทัลเทคโนโลยี



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1439795381

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.