Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2558 GSMA ชี้ ระบบคมนาคมอัจฉริยะจะมาช่วยในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การเคลื่อนที่ โดยใช้ไอซีทีเข้ามาบริหารจัดการระบบการขนส่ง เพราะสามารถนำเข้ามาบูรณาการร่วมกันได้ ยังใช้เป็นแพลตฟอร์มต่อไปที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม ซึ่งความถี่ 700 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้กับระบบนี้

ประเด็นหลัก



ที่ผ่านมา GSMA ได้ทำการศึกษาด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ส่วนการเข้ามาดูเรื่องการขนส่งนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นปัญหาหลักของทั่วโลก โดยเฉพาะในเมืองไทย เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ประกอบกับเมืองไทยกำลังมีการพัฒนาด้านการสื่อสารไปสู่ 4G LTE ซึ่งจะสามารถนำทั้ง 2 ส่วนมาประสานเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
GSMA แนะไทยใช้เครือข่ายมือถือช่วยจัดการจราจร

“ระบบคมนาคมอัจฉริยะจะมาช่วยในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การเคลื่อนที่ โดยใช้ไอซีทีเข้ามาบริหารจัดการระบบการขนส่ง เพราะสามารถนำเข้ามาบูรณาการร่วมกันได้ ประกอบกับในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ นอกจากจะให้เกิดการแข่งขันที่ดีแล้ว ยังใช้เป็นแพลตฟอร์มต่อไปที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม ซึ่งความถี่ 700 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้กับระบบนี้ เนื่องจากโมบายเป็นระบบที่มีราคาถูก และสามารถเชื่อมโยงกับระบบโทรคมนาคมต่างๆ ได้”







___________________________________







GSMA แนะไทยใช้เครือข่ายมือถือช่วยจัดการจราจร

GSMA แนะกรุงเทพฯ ใช้ระบบ ITS เข้ามาจัดการด้านการจราจร หลังผลวิจัยพบช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ดี ช่วยลดการสูญเสียได้ปีละกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ชี้หากใช้ร่วมกับเครือข่ายมือถือจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะถูก และครอบคลุมได้รวดเร็ว เผยไทยยังคงมีคลื่นความถี่มากหากจัดสรรให้ดีจะสามารถนำมาเป็นแพลตฟอร์มใหม่เพื่อจัดการด้านจราจรได้ด้วย
นายคริส ซุล ผู้อำนวยการให้คำปรึกษาด้านความถี่ประจำทวีปเอเชีย สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) กล่าวว่า GSMA ได้ทำการศึกษาการสร้างสังคมดิจิตอลเพื่อการคมนาคมในเอเชีย พบว่า หากกรุงเทพฯ นำระบบคมนาคมอัจฉริยะ หรือ ITS เข้ามาใช้งานจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางสังคม และเศรษฐกิจได้ โดยสามารถใช้เครือข่ายสัญญาณมือถือในการเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการ เนื่องจากยังมีคลื่นความถี่ที่ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก และถือเป็นการใช้เครือข่ายที่ประหยัดกว่าการใช้ระบบแบบอื่น
ที่ผ่านมา GSMA ได้ทำการศึกษาด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ส่วนการเข้ามาดูเรื่องการขนส่งนั้น เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถือเป็นปัญหาหลักของทั่วโลก โดยเฉพาะในเมืองไทย เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ประกอบกับเมืองไทยกำลังมีการพัฒนาด้านการสื่อสารไปสู่ 4G LTE ซึ่งจะสามารถนำทั้ง 2 ส่วนมาประสานเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
GSMA แนะไทยใช้เครือข่ายมือถือช่วยจัดการจราจร

“ระบบคมนาคมอัจฉริยะจะมาช่วยในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การเคลื่อนที่ โดยใช้ไอซีทีเข้ามาบริหารจัดการระบบการขนส่ง เพราะสามารถนำเข้ามาบูรณาการร่วมกันได้ ประกอบกับในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ นอกจากจะให้เกิดการแข่งขันที่ดีแล้ว ยังใช้เป็นแพลตฟอร์มต่อไปที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาระบบโทรคมนาคม ซึ่งความถี่ 700 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมสำหรับการนำมาใช้กับระบบนี้ เนื่องจากโมบายเป็นระบบที่มีราคาถูก และสามารถเชื่อมโยงกับระบบโทรคมนาคมต่างๆ ได้”
นายคริส กล่าวว่า ปัจจุบันระยะเวลาการเดินทางในประเทศไทยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 40 นาที ส่วนในกรุงเทพฯ เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 60 นาที เรียกได้ว่าอยู่ระดับกลางๆ ค่อนข้างสูง ส่วนอุบัติเหตุมีการตายบนถนนสูงที่สุดในบรรดาเพื่อนบ้านอย่าง จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ศรีลังกา บังกลาเทศ ปากีสถาน ฯลฯ ส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ กรุงเทพฯ อยู่อันดับ 2 รองลงมาจากมาเลเซีย
ทั้งนี้ หากมีการนำโซลูชันระบบคมนาคมอัจฉริยะจะช่วยประหยัดการเดินทางได้ครั้งละ 6-12 นาที ต่อครั้ง หรือคิดเป็น 2-4 วันต่อปี และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 260-520 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ได้ประมาณ 3-5 ล้านเมตริกตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ของประเทศกัมพูชาทั้งปี

GSMA แนะไทยใช้เครือข่ายมือถือช่วยจัดการจราจร

นอกจากนี้ ระบบดังกล่าวยังสามารถป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ 6,000-8,000 ครั้งต่อปี หรือสามารถช่วยชีวิตได้เฉลี่ย 75-95 รายต่อปี ลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายกับรถยนต์ หรือค่าซ่อมแซมสิ่งของสาธารณะ ซึ่งเมื่อรวมสิ่งที่ประหยัดได้ทั้งหมดหลังจากการนำโซลูชันระบบคมนาคมอัจฉริยะมาใช้แล้วจะช่วยประหยัดได้ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว
“แต่การจะนำระบบ ITS เข้ามาใช้นั้นทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน และประชาชนจะต้องรวมมือกัน รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ว่าจะเป็นเหล่าผู้ผลิตยานยนต์ ผู้ให้บริการเครือข่ายเชื่อมต่อต้องเข้ามาหารือร่วมกันให้มากขึ้น”

http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000095951&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+25-8-58&utm_campaign=20150824_m127075194_Manager+Morning+Brief+25-8-58&utm_term=GSMA+_E0_B9_81_E0_B8_99_E0_B8_B0_E0_B9_84_E0_B8_97_E0_B8_A2_E0_B9_83_E0_B8_8A_E0_B9_89_E0_B9_80_E0_B8_84_E0_B8_A3_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B8_82_E0_B9_88_E0_B8_B2_E0_B8_A2_E0_B8_A1_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B8_96_E0_B8_B7_E0_B8_AD_E0_B8_8A_E0_B9_88_E0_B8_A7_E0_B8_

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.