Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 กสทช.เศรษฐพงค์ ระบุ “โลกยุคหน้ากับเทคโนโลยีดิจิตอล : ทิศทาง และความท้าทาย” ชี้จะไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยองค์กรภาครัฐเท่านั้น เพราะภัยคุกคามที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่องค์กรภาครัฐ แต่มักเกิดที่หน่วยงานด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อย่างกรณีเหตุวินาศกรรม 9/11 ในประเทศสหรัฐอเมริกา จนทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า แนวคิดด้านยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงนั้นไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จด้วยหน่วยงานความมั่นคงเท่านั้น

ประเด็นหลัก



       ทั้งนี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “โลกยุคหน้ากับเทคโนโลยีดิจิตอล : ทิศทาง และความท้าทาย” และในการนี้ ยังได้จัดทำหนังสือ “Cybersecurity Strategy” เสนอในงานนี้เพื่อเป็นแนวทาง และข้อเสนอแนะในการพัฒนายุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อีกทั้งยังได้เสนอให้ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญระดับชาติ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และได้มีการสั่งการให้เร่งดำเนินการ
     
       โดยในการบรรยายได้มีคำถามที่น่าสนใจ คือ หน่วยงานใดควรเป็นเจ้าภาพในการทำยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่ง พ.อ.เศรษฐพงค์ ได้เสนอให้กระทรวงกลาโหม เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ และที่สำคัญควรผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากยุทธศาสตร์ Cybersecurity นั้น จะไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยองค์กรภาครัฐเท่านั้น เพราะภัยคุกคามที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่องค์กรภาครัฐ แต่มักเกิดที่หน่วยงานด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อย่างกรณีเหตุวินาศกรรม 9/11 ในประเทศสหรัฐอเมริกา จนทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า แนวคิดด้านยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงนั้นไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จด้วยหน่วยงานความมั่นคงเท่านั้น
     
       ดังนั้น การประสานร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะทำให้เกิดแนวปฏิบัติด้าน Cybersecurity ที่มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับด้านความปลอดภัย รับรู้ถึงภัยคุกคาม และสามารถดำเนินการใช้งานระบบสื่อสารโทรคมนาคมได้อย่างต่อเนื่อง
     
       เนื่องจากในการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ด้วยไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) มีผลกระทบในด้านความมั่นคงในระดับนานาชาติมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจในการวางยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อที่จะสามารถใช้ระบบไซเบอร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมให้เจริญก้าวหน้าด้วยความเสี่ยงที่น้อยที่สุด




______________________________________________







“เศรษฐพงค์” เสนอแนวทางจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ย้ำกลาโหมควรเป็นเจ้าภาพ




เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2558 พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธาน กสทช.ให้เกียรติเป็นวิทยากรในงาน Army Cyber Contest 2015 ที่กองบัญชาการกองทัพบก โดย พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีบุคลากรด้านความมั่นคงจากหลายองค์กรเข้าร่วมงาน
     
       โดยงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถด้านปฏิบัติการไซเบอร์ ทั้งในเชิงรุก และเชิงรับ สร้างความตระหนักรู้ และประเมินความสามารถด้านไซเบอร์ของกำลังพลกองทัพบก รวมถึงการสร้างความร่วมมือด้านไซเบอร์ ระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอกกองทัพบก ตลอดจนตอบสนองต่อการดำเนินนโยบายของกองทัพบกด้านไซเบอร์ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
     
       ทั้งนี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “โลกยุคหน้ากับเทคโนโลยีดิจิตอล : ทิศทาง และความท้าทาย” และในการนี้ ยังได้จัดทำหนังสือ “Cybersecurity Strategy” เสนอในงานนี้เพื่อเป็นแนวทาง และข้อเสนอแนะในการพัฒนายุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อีกทั้งยังได้เสนอให้ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญระดับชาติ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และได้มีการสั่งการให้เร่งดำเนินการ
     
       โดยในการบรรยายได้มีคำถามที่น่าสนใจ คือ หน่วยงานใดควรเป็นเจ้าภาพในการทำยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่ง พ.อ.เศรษฐพงค์ ได้เสนอให้กระทรวงกลาโหม เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ และที่สำคัญควรผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เนื่องจากยุทธศาสตร์ Cybersecurity นั้น จะไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยองค์กรภาครัฐเท่านั้น เพราะภัยคุกคามที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่องค์กรภาครัฐ แต่มักเกิดที่หน่วยงานด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อย่างกรณีเหตุวินาศกรรม 9/11 ในประเทศสหรัฐอเมริกา จนทำให้เป็นที่ชัดเจนว่า แนวคิดด้านยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงนั้นไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จด้วยหน่วยงานความมั่นคงเท่านั้น
     
       ดังนั้น การประสานร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะทำให้เกิดแนวปฏิบัติด้าน Cybersecurity ที่มีประสิทธิภาพ เป็นการยกระดับด้านความปลอดภัย รับรู้ถึงภัยคุกคาม และสามารถดำเนินการใช้งานระบบสื่อสารโทรคมนาคมได้อย่างต่อเนื่อง
     
       เนื่องจากในการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ด้วยไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) มีผลกระทบในด้านความมั่นคงในระดับนานาชาติมากขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจในการวางยุทธศาสตร์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ เพื่อที่จะสามารถใช้ระบบไซเบอร์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมให้เจริญก้าวหน้าด้วยความเสี่ยงที่น้อยที่สุด
     
       ประเทศไทย เป็นประเทศหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม และมีการใช้งานเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีระดับความเสี่ยงในระดับสูงที่ระบบไซเบอร์ของประเทศจะถูกโจมตี และคุกคามจนเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
     
       นอกจากนี้ ปัญหาด้านไซเบอร์ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ แต่ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้ประเทศสามารถลดความเสี่ยงด้านไซเบอร์ได้ และสามารถรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ ตลอดจนสามารถสร้างยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
     

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000102190&utm_source=MadMimi&utm_medium=email&utm_content=Manager+Morning+Brief+10-9-58&utm_campaign=20150910_m127303527_Manager+Morning+Brief+10-9-58&utm_term=_E2_80_9C_E0_B9_80_E0_B8_A8_E0_B8_A3_E0_B8_A9_E0_B8_90_E0_B8_9E_E0_B8_87_E0_B8_84_E0_B9_8C_E2_80_9D+_E0_B9_80_E0_B8_AA_E0_B8_99_E0_B8_AD_E0_B9_81_E0_B8_99_E0_B8_A7_E0_B8_97_E0_B8_B2_E0_B8_87_E0_B8_88_E0_B8_B1_E0_B8_94_E0_B8_97_E0_B8_B3_E0_B8_A2_E0_B8_B8_E

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.