13 กันยายน 2558 ผ่านโครงการวิจัยด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity)ด้วยงบประมาณลงทุนที่สูงถึง1.2–2.4ล้านปอนด์ เป็นระยะเวลา3ปี และยังครอบคลุมถึงการรับมือต่อเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ (cybersecurity incident response) และการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากร (cybersecurity talent development) เช่นเดียวกับ ประเทศนิวซีแลนด์
ประเด็นหลัก
ผ่านโครงการวิจัยด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity)ด้วยงบประมาณลงทุนที่สูงถึง1.2–2.4ล้านปอนด์ เป็นระยะเวลา3ปี และยังครอบคลุมถึงการรับมือต่อเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ (cybersecurity incident response) และการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากร (cybersecurity talent development) เช่นเดียวกับ ประเทศนิวซีแลนด์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันอาชญากรรมในโลกไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
______________________________________________
เปิดแผนนานาชาติรับมือแฮกเกอร์ป่วนโลกไซเบอร์
„เปิดแผนนานาชาติรับมือแฮกเกอร์ป่วนโลกไซเบอร์ เปิดแผนนานาชาติรับมือแฮกเกอร์ป่วนโลกไซเบอร์ พร้อมแนะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในโลกออนไลน์ วันพุธที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 12:00 น. หมวด: ไอที คำสำคัญ: แฮกเกอร์ โลกไซเบอร์ ผู้ใช้งานทั่วไป โลกออนไลน์ ดร. ฉัตรชัย ธนาฤดี ผู้บริหารองค์กรเอกชนและอาจารย์พิเศษคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หรืออาชญากรรมในโลกไซเบอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นและสร้างความเสียหายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเสียหายต่อบุคคลจากการถูกโจรกรรมข้อมูลผ่านไวรัสคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์ (malware) ที่เป็นโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ ตัวอย่างเช่น Ransomwareโดยมัลแวร์ประเภทนี้จะล็อคและจำกัดการเข้าถึงข้อมูล ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งกลุ่มแฮกเกอร์จะใช้วิธีเรียกค่าไถ่ให้ชำระเงินออนไลน์ เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ขณะที่กลุ่มสถาบันทางการเงินก็ถูกพุ่งเป้าโจมตีต่อเนื่อง เช่น กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีชื่อว่าInternational Computer Hacking Ringได้โจรกรรมธนาคารมากกว่า100แห่ง ใน30ประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่ามากกว่า1,000ล้านเหรียญสหรัฐด้วยเหตุนี้เอง ขณะนี้หลายประเทศจึงให้ความสำคัญและลงทุนเพื่อป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาประเทศสิงคโปร์และสหราชอาณาจักรได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ผ่านโครงการวิจัยด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity)ด้วยงบประมาณลงทุนที่สูงถึง1.2–2.4ล้านปอนด์ เป็นระยะเวลา3ปี และยังครอบคลุมถึงการรับมือต่อเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ (cybersecurity incident response) และการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากร (cybersecurity talent development) เช่นเดียวกับ ประเทศนิวซีแลนด์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันอาชญากรรมในโลกไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนากลยุทธ์ในการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์(New Zealand's Cybersecurity Strategy)เพื่อตอบสนองและป้องกันภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ดังกล่าวได้นำไปใช้ทั่วประเทศนิวซีแลนด์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาโททางด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity) โดยเฉพาะ ซึ่งหลักสูตรนี้จะเน้นการพัฒนาความรู้และฝึกเทคนิคขั้นสูงในการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เช่น การป้องกันระบบ การตรวจสอบ การละเมิดความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสม ด้านกฎหมาย และความสามารถในการคิด สร้างสรรค์ และสามารถที่จะใช้ความรู้ การวิจัยที่นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพทางด้านนี้ได้(cybersecurity professional) ดร. ฉัตรชัย ได้แนะนำการใช้งานในโลกออนไลน์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปว่าสิ่งที่ควรจะทำ คือ 1.หมั่นอัพเดทระบบปฏิบัติการของคุณอย่างสม่ำเสมอ (security patches) 2.ติดตั้งระบบFirewallรวมทั้งAnti-virusและAnti-spyware 3.ช่วยกันบอกต่อข้อควรระวังและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ 4.เรียนรู้การตั้งค่าsocial mediaเช่น facebook ให้ปลอดภัย รวมถึงการโหลดแอพให้ปลอดภัย และ5.ระมัดระวังการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ ตรวจดูสัญลักษณ์แสดงความปลอดภัยของหน้าเว็บที่กำลังชำระเงิน (สังเกตุรูปกุญแจที่แสดงที่URLและตรวจสอบข้อความในOTPอย่างระมัดระวัง) ส่วนสิ่งที่ผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ไม่ควรทำ คือ 1.ไม่ควรเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมออนไลน์ (social media)และดูแลรายละเอียดส่วนบุคคลของคุณในโลกไซเบอร์ในแบบเดียวกับที่คุณดูแลกระเป๋าสตางค์และทรัพย์สินอื่นๆของคุณเอง 2.ไม่ควรเปิดอีเมลแปลกๆ หรือ ควรจะลบทิ้งทันที เนื่องจากอาจมีไวรัสคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์ 3.ไม่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย 4.ไม่โพสต์ข้อความหรือภาพที่ไม่เหมาะสม เพราะข้อมูลในสังคมออนไลน์สามารถตรวจสอบย้อนหลัง ดังนั้น สิ่งที่โพสต์ในวันนี้อาจส่งผลกระทบถึงตัวท่านในวันหน้า เช่น การจ้างงาน คดีความ เป็นต้น และ5.ปิดการใส่ข้อมูลพิกัด (Geotagging) บนรูปภาพที่ถ่าย เนื่องจากอาจถูกสะกดรอยตามหรือจับผิดได้จากผู้ประสงค์ร้าย“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/346870
ผ่านโครงการวิจัยด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity)ด้วยงบประมาณลงทุนที่สูงถึง1.2–2.4ล้านปอนด์ เป็นระยะเวลา3ปี และยังครอบคลุมถึงการรับมือต่อเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ (cybersecurity incident response) และการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากร (cybersecurity talent development) เช่นเดียวกับ ประเทศนิวซีแลนด์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันอาชญากรรมในโลกไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง
______________________________________________
เปิดแผนนานาชาติรับมือแฮกเกอร์ป่วนโลกไซเบอร์
„เปิดแผนนานาชาติรับมือแฮกเกอร์ป่วนโลกไซเบอร์ เปิดแผนนานาชาติรับมือแฮกเกอร์ป่วนโลกไซเบอร์ พร้อมแนะสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปในโลกออนไลน์ วันพุธที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 12:00 น. หมวด: ไอที คำสำคัญ: แฮกเกอร์ โลกไซเบอร์ ผู้ใช้งานทั่วไป โลกออนไลน์ ดร. ฉัตรชัย ธนาฤดี ผู้บริหารองค์กรเอกชนและอาจารย์พิเศษคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์หรืออาชญากรรมในโลกไซเบอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นและสร้างความเสียหายในหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเสียหายต่อบุคคลจากการถูกโจรกรรมข้อมูลผ่านไวรัสคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์ (malware) ที่เป็นโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ ตัวอย่างเช่น Ransomwareโดยมัลแวร์ประเภทนี้จะล็อคและจำกัดการเข้าถึงข้อมูล ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งกลุ่มแฮกเกอร์จะใช้วิธีเรียกค่าไถ่ให้ชำระเงินออนไลน์ เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ขณะที่กลุ่มสถาบันทางการเงินก็ถูกพุ่งเป้าโจมตีต่อเนื่อง เช่น กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีชื่อว่าInternational Computer Hacking Ringได้โจรกรรมธนาคารมากกว่า100แห่ง ใน30ประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่ามากกว่า1,000ล้านเหรียญสหรัฐด้วยเหตุนี้เอง ขณะนี้หลายประเทศจึงให้ความสำคัญและลงทุนเพื่อป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาประเทศสิงคโปร์และสหราชอาณาจักรได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อเพิ่มความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ผ่านโครงการวิจัยด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity)ด้วยงบประมาณลงทุนที่สูงถึง1.2–2.4ล้านปอนด์ เป็นระยะเวลา3ปี และยังครอบคลุมถึงการรับมือต่อเหตุการณ์ในโลกไซเบอร์ (cybersecurity incident response) และการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากร (cybersecurity talent development) เช่นเดียวกับ ประเทศนิวซีแลนด์ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันอาชญากรรมในโลกไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง โดยได้พัฒนากลยุทธ์ในการรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์(New Zealand's Cybersecurity Strategy)เพื่อตอบสนองและป้องกันภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ดังกล่าวได้นำไปใช้ทั่วประเทศนิวซีแลนด์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชน รวมถึงบุคคลทั่วไป นอกจากนี้ นิวซีแลนด์ยังได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทักษะความสามารถของบุคลากรผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาโททางด้านการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (cybersecurity) โดยเฉพาะ ซึ่งหลักสูตรนี้จะเน้นการพัฒนาความรู้และฝึกเทคนิคขั้นสูงในการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เช่น การป้องกันระบบ การตรวจสอบ การละเมิดความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสม ด้านกฎหมาย และความสามารถในการคิด สร้างสรรค์ และสามารถที่จะใช้ความรู้ การวิจัยที่นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพทางด้านนี้ได้(cybersecurity professional) ดร. ฉัตรชัย ได้แนะนำการใช้งานในโลกออนไลน์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปว่าสิ่งที่ควรจะทำ คือ 1.หมั่นอัพเดทระบบปฏิบัติการของคุณอย่างสม่ำเสมอ (security patches) 2.ติดตั้งระบบFirewallรวมทั้งAnti-virusและAnti-spyware 3.ช่วยกันบอกต่อข้อควรระวังและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ 4.เรียนรู้การตั้งค่าsocial mediaเช่น facebook ให้ปลอดภัย รวมถึงการโหลดแอพให้ปลอดภัย และ5.ระมัดระวังการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะ ตรวจดูสัญลักษณ์แสดงความปลอดภัยของหน้าเว็บที่กำลังชำระเงิน (สังเกตุรูปกุญแจที่แสดงที่URLและตรวจสอบข้อความในOTPอย่างระมัดระวัง) ส่วนสิ่งที่ผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ไม่ควรทำ คือ 1.ไม่ควรเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมออนไลน์ (social media)และดูแลรายละเอียดส่วนบุคคลของคุณในโลกไซเบอร์ในแบบเดียวกับที่คุณดูแลกระเป๋าสตางค์และทรัพย์สินอื่นๆของคุณเอง 2.ไม่ควรเปิดอีเมลแปลกๆ หรือ ควรจะลบทิ้งทันที เนื่องจากอาจมีไวรัสคอมพิวเตอร์หรือมัลแวร์ 3.ไม่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย 4.ไม่โพสต์ข้อความหรือภาพที่ไม่เหมาะสม เพราะข้อมูลในสังคมออนไลน์สามารถตรวจสอบย้อนหลัง ดังนั้น สิ่งที่โพสต์ในวันนี้อาจส่งผลกระทบถึงตัวท่านในวันหน้า เช่น การจ้างงาน คดีความ เป็นต้น และ5.ปิดการใส่ข้อมูลพิกัด (Geotagging) บนรูปภาพที่ถ่าย เนื่องจากอาจถูกสะกดรอยตามหรือจับผิดได้จากผู้ประสงค์ร้าย“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/it/346870
ไม่มีความคิดเห็น: