Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กันยายน 2558 ปัจจุบันซัมซุงจับมือกับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาซัมซุง สมาร์ท โฮม ในโครงการที่อยู่อาศัยของอนันดา โดยจะประเดิมเปิดตัวโครงการแรกที่ คิว เทอร์ตี้ วัน (Q31) ส่วนตลาดค้าปลีกในเมืองไทย คาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ในปี 2559 โดยขณะนี้อยู่ในช่วงของการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับซัมซุง สมาร์ท โฮม

ประเด็นหลัก



       ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เริ่มมีการจำหน่ายสินค้าสมาร์ท โฮมของซัมซุงให้ผู้บริโภคสามารถซื้อมาติดตั้งเองได้ที่บ้าน โดยราคาเริ่มต้นของอุปกรณ์ Starter Kit ซึ่งประกอบไปด้วย SmartThings Hub ที่จะต่อจากอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตด้วยสายแลน(LAN) 1 ตัว และเซ็นเซอร์ 3 ตัว ทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความชื้น มีราคาอยู่ที่ประมาณ 400 - 500 เหรียญสหรัฐ
     
       'ปัจจุบันซัมซุงจับมือกับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาซัมซุง สมาร์ท โฮม ในโครงการที่อยู่อาศัยของอนันดา โดยจะประเดิมเปิดตัวโครงการแรกที่ คิว เทอร์ตี้ วัน (Q31) ส่วนตลาดค้าปลีกในเมืองไทย คาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ในปี 2559 โดยขณะนี้อยู่ในช่วงของการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับซัมซุง สมาร์ท โฮมให้กับองค์กรลูกค้าเป้าหมาย เพื่อออกแบบสมาร์ท โฮมให้เหมาะกับ ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้อยู่อาศัย ในส่วนของผู้บริโภคเอง ซึ่งต้องสร้างการรับรู้และให้ความรู้ว่าซัมซุง สมาร์ท โฮม จะมาพลิกโฉมวิถีชีวิตและการอยู่อาศัยของคนไทย ตลอดจนช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สะดวกสบายขึ้นได้อย่างไรบ้าง'




______________________________________________




'ซัมซุง'ปลุกกระแสสมาร์ทโฮม(Cyber Weekend)





ฝันของการมีบ้านที่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างชาญฉลาด ภายใต้เงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงของผู้พักอาศัยแต่ละคนในบ้านเกิดขึ้นมานานหลายปี แต่กระนั้นก็ยังไม่มีผู้ผลิตและผู้พัฒนารายใดสามารถทำให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตได้จริงสักที จนกระทั่งซัมซุงได้โชว์ต้นแบบของที่พักอาศัยที่สามารถตรวจสอบ แจ้งเตือน และตอบสนองความต้องการได้อย่างอัตโนมัติ หลังจากการเข้าซื้อกิจการ SmartThings บริษัท ผู้พัฒนาระบบควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านภายใต้แพลตฟอร์มแบบเปิดที่นักพัฒนาทั่วไปสามารถนำโค้ดไปต่อยอดได้อย่างอิสระ ในช่วงเวลาเพียงปีเดียว
     
       *** แพลตฟอร์มกลางรับทุกแบรนด์เชื่อมต่อ
     
       คำถามสำคัญเกิดขึ้นมาในใจว่า 'แล้วทำไมต้องใช้ระบบควบคุมเมื่ออุปกรณ์เป็น IoT?' ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กันได้อยู่แล้ว มันสำคัญมากพอที่ยักษ์ใหญ่อย่างซัมซุงจะต้องควักเงินกว่า 200 ล้านเหรียญให้กับสตาร์ทอัปที่เพิ่งเริ่มกิจการได้เพียงแค่ 2 ปีกระนั้นหรือ ซึ่งคำตอบที่ได้ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ชี้ชะตาว่าจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค IoT ได้สำเร็จหรือไม่นั่นเอง
     
       'ไม่มีใครเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านทั้งหมดให้เป็นอุปกรณ์ IoT ในคราวเดียวแน่นอน ซึ่งแพลตฟอร์มกลางที่จะแปลงข้าวของเครื่องใช้เดิมให้เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้จึงเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน'
     
       การลงทุนในบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการระบบสื่อสารกลาง (โพโตคอล) ที่ชื่อว่า SmartThings จะช่วยให้อุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถสื่อสารถึงกันได้และนั่นก็คือการแปลงสภาพอุปกรณ์ธรรมดาที่มีอยู่ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหน้าต่าง เตาแก๊ส วาวล์น้ำ ระบบแสงสว่าง หรือแม้กระทั่งประตูทั้งหมดในบ้านให้เข้ากับสมาร์ทโฮมได้อย่างสมบูรณ์ และหลังจากนั้นก็เริ่มต้นตั้งเงื่อนไขตามที่เจ้าของบ้านต้องการผ่านโปรแกรม SmartTings ที่สามารถอัปเดตฟีเจอร์ของอุปกรณ์ใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่อง เพียงเท่านี้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านทั้งหมดก็จะได้รับการดูแลจาก สมาร์ทโฮมเป็นอย่างดี
     
       ขณะที่หัวใจของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ IoT กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ขึ้นอยู่กับโพโตคอลที่เลือกใช้ โดยซัมซุงเลือกใช้ระบบแพลตฟอร์มแบบเปิด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและต่อยอดจากนักพัฒนารายย่อยได้อย่างรวดเร็ว และไม่จำกัดว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ใด เพราะทุกแบรนด์สามารถเชื่อมต่อถึงระบบสมาร์ทโฮมเดียวกันได้ทั้งหมด โดยอุปกรณ์ดังกล่าวเรียกว่า 'ซัมซุง สมาร์ท ฮับ (Samsung Smart Hub)' ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการป้อนและรับส่งคำสั่งต่างๆ ไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม เช่น สมาร์ท ทีวี (Smart TV) ฯลฯ สามารถติดตั้งได้ง่ายและไม่ต้องเดินสายไฟ ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งคำสั่งต่างๆ จะถูกส่งผ่านจากสมาร์ท แอปพลิเคชัน (Smart Application) ตรงไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีตัวเชื่อมสัญญาณ (Communication Portal) นอกจากนี้ยังมีสมาร์ท ปลั๊ก (Smart Plug) ที่นำมาติดตั้งเพิ่มกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เพื่อเพิ่มความสามารถให้อุปกรณ์เครื่องนั้นๆ สามารถนำมาใช้งานร่วมกับระบบได้อีกด้วย
     
       *** ตระการตาต้นแบบสมาร์ทโฮม
     
       มณฑล มังกรกาญจน์ ผู้อำนวยการ ธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่าการพัฒนาต้นแบบห้องพักขนาด 3 ห้องนอนดังกล่าวของซัมซุงในประเทศสิงคโปร์ ภายใต้แนวคิด 'Home that cares for you' ที่พยายามจะเชื่อมต่อให้ทุกอุปกรณ์สามารถสื่อสารถึงกันได้เองจนนำไปสู่การสั่งงานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ช่วยสะท้อนภาพการใช้งานจริงของระบบสมาร์ทโฮมที่มากกว่า 'โฮมออโตเมชัน' แบบเดิมที่เริ่มจะล้าหลังไปทุกขณะ นั่นเพราะว่าสมาร์ทโฮม สามารถจัดการบ้านทั้งหลัง ตลอดจนดูแลผู้อยู่อาศัยภายในบ้านทั้งเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ พร้อมแจ้งเตือนไปยังเครื่องสมาร์ทดีไวซ์ของผู้ดูแลหลังตรวจพบความผิดปกติได้ในทันที
     
       และหากมองความพร้อมของประเทศสิงคโปร์ที่มีประชากรใช้สมาร์ทโฟนกว่า 100% บ้านทุกหลังสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผู้คนมีความเข้าใจในบริบทของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงความสะดวกสบายภายในบ้านได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้น โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับการสื่อสารอินเทอร์เน็ตได้อย่างดีเยี่ยม ตลอดจนวิถีชีวิตของประชากรที่มีการแข่งขันสูง อีกทั้งหน่วยงานรัฐที่พร้อมจะหยิบยื่นเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับประชากรของประเทศ เชื่อว่าภายในปี 2018 ประเทศสิงคโปร์ก็น่าจะเป็นประเทศแรกในโลกที่มีการใช้งานสมาร์ทโฮมเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ
     
       ทั้งนี้ 'ซัมซุง สมาร์ท โฮม' ตั้งอยู่ ที่โครงการต้นแบบที่อยู่อาศัยในประเทศสิงคโปร์ และนับเป็นโชว์เคสที่สมบูรณ์แบบที่สุดในเอเชีย ซึ่งจำลองที่อยู่อาศัยจริงของชาวสิงคโปร์ เป็นอพาร์ทเมนท์ขนาด 3 ห้องนอน ประกอบด้วยห้องนอนพ่อแม่ ห้องนอนลูก และห้องนอนผู้สูงอายุ ห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ห้องน้ำ และห้องครัว แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ โดยเฉพาะสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ เช่น ประเทศสิงคโปร์ ที่ปัจจุบันไม่มีเวลาดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน แต่ก็ไม่สามารถจ้างคนมาดูแลพิเศษได้ เพราะค่าใช้จ่ายแพงมาก หลายบ้านต้องให้ผู้สูงอายุและเด็กอยู่กันลำพัง
     
       ซัมซุง สมาร์ท โฮมจะช่วยเป็นหูเป็นตา และคอยระแวดระวังภัยให้ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมการส่งสัญญาณแจ้งเตือน เมื่อผู้สูงอายุหกล้มและหมดสติ ระบบความปลอดภัยและการเตือนสำหรับการเปิด-ปิดประตูแม้แต่หน้าต่าง หรือการคอนโทรลระบบไฟฟ้าต่างๆ ในห้องนอนเด็ก โดยโชว์เคส 'ซัมซุง สมาร์ท โฮม' แสดงให้เห็นถึงโซลูชันในด้านต่างๆ ได้แก่
     
       ด้านความสะดวกสบาย - ซัมซุง สมาร์ท โฮมช่วยประหยัดพลังงาน ด้วยการปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อออกจากบ้าน หรือตั้งค่าให้ทำงานระหว่างที่ไม่อยู่บ้าน เช่น เครื่องดูดฝุ่นอัจฉริยะทำงานตามเวลาและจะกลับไปที่ฐานก่อนเวลากลับบ้าน เครื่องซักผ้าทำงานใกล้เวลากลับบ้านพร้อมให้นำขึ้นตากทันทีเมื่อถึงบ้าน หรือสามารถปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมกับความชอบรายบุคคล และเมื่อตื่นนอน ไฟจะค่อยๆ เปิดขึ้น ม่านจะค่อยๆ เปิดอัตโนมัติ เครื่องชงกาแฟเปิดและอุ่นพร้อมสำหรับการดื่มกาแฟ
     
       ด้านความปลอดภัย - ซัมซุง สมาร์ท โฮมสามารถตั้งค่าการปิดเปิดประตูชั้นต่างๆ ของบ้านได้ หรือสั่งปิดเปิดประตูจากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวหากพบความผิดปกติจะส่งภาพมายังสมาร์ททีวีทันที หรือการแจ้งเตือนต่างๆ อาทิ ลืมปิดหน้าต่าง ลืมปิดตู้เย็น ตั้งเตือนเมื่อมีการเปิดเตาแก๊สหุงต้ม การเตือนระบบน้ำรั่วซึม เป็นต้น
     
       ด้านสุขภาพ - ช่วยดูแลด้านสุขภาพของคนในบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุด้วยระบบเออร์ลี่ เซนส์ (Early Sense) ที่สามารถวัดจังหวะการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) ความสม่ำเสมอในการหายใจและการเคลื่อนไหวระหว่างนอนหลับ ระบบตรวจจับการล้มของผู้สูงอายุที่จะส่งสัญญาณไปขอความช่วยเหลืออัตโนมัติถ้าผู้สูงอายุไม่ตอบสนองภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือแม้แต่ไฟทางเดินที่จะเปิดอัตโนมัติเมื่อผู้สูงอายุลุกออกจากเตียง
     
       *** สูตรสำเร็จ IoT ในไทย
     
       ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เริ่มมีการจำหน่ายสินค้าสมาร์ท โฮมของซัมซุงให้ผู้บริโภคสามารถซื้อมาติดตั้งเองได้ที่บ้าน โดยราคาเริ่มต้นของอุปกรณ์ Starter Kit ซึ่งประกอบไปด้วย SmartThings Hub ที่จะต่อจากอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตด้วยสายแลน(LAN) 1 ตัว และเซ็นเซอร์ 3 ตัว ทั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อน และเซ็นเซอร์ตรวจจับความชื้น มีราคาอยู่ที่ประมาณ 400 - 500 เหรียญสหรัฐ
     
       'ปัจจุบันซัมซุงจับมือกับบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนาซัมซุง สมาร์ท โฮม ในโครงการที่อยู่อาศัยของอนันดา โดยจะประเดิมเปิดตัวโครงการแรกที่ คิว เทอร์ตี้ วัน (Q31) ส่วนตลาดค้าปลีกในเมืองไทย คาดว่าจะเริ่มทำตลาดได้ในปี 2559 โดยขณะนี้อยู่ในช่วงของการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับซัมซุง สมาร์ท โฮมให้กับองค์กรลูกค้าเป้าหมาย เพื่อออกแบบสมาร์ท โฮมให้เหมาะกับ ไลฟ์สไตล์ของกลุ่มผู้อยู่อาศัย ในส่วนของผู้บริโภคเอง ซึ่งต้องสร้างการรับรู้และให้ความรู้ว่าซัมซุง สมาร์ท โฮม จะมาพลิกโฉมวิถีชีวิตและการอยู่อาศัยของคนไทย ตลอดจนช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สะดวกสบายขึ้นได้อย่างไรบ้าง'
     
       นับจากนี้บริบทใหม่ของซัมซุง IoT ก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ด้วยบทบาทของผู้ถือแพลตฟอร์มเปิดของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของโลกที่สามารถตอบโจทย์ของความสะดวกสบายได้อย่างครบครัน และแม้ว่าราคาของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวจะยังสูงอยู่ด้วยเหตุผลของการเริ่มต้น แต่เชื่อแน่ว่าบริบทนี้จะช่วยให้ผู้คนรับรู้และเข้าใจประโยชน์ของ IoT (Internet of Things) ได้เป็นอย่างดี


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000100442

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.